ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36
ถนนสายกะทิงลาย-ปลวกเกตุ
2020 Pattaya Pong junction.jpg
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ฝั่งมุ่งหน้าเข้าเมืองพัทยา บริเวณทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) ในตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ทางต่างระดับพัทยา-ระยอง)
ความยาว57.021 กิโลเมตร (35.431 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2521–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศ
ตะวันตก
เฉียงเหนือ
ถ.สุขุมวิท ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
 
ปลายทางทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้
ถ.สุขุมวิท ใน อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 สายกะทิงลาย–ปลวกเกตุ หรือที่เรียกกันทั่วไป ถนนบายพาสพัทยา–ระยอง เป็นถนนผิวคอนกรีตขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 123

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณทางแยกกะทิงลาย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 อีกครั้งที่แยกปลวกเกตุ ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ระยะทางรวม 57 กิโลเมตร[1]

ก่อนหน้านี้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขดังกล่าว มีถนนบายพาสเลี่ยงเมืองชลบุรี-พัทยาเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนี้ โดยแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ผ่านถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) บริเวณทางแยกต่างระดับคีรีนคร บรรจบกันที่ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) รวมระยะทาง 76 กิโลเมตร (โดยปัจจุบันขยายเส้นทางไปยังทางแยกพัทยากลางแล้ว)

ปัจจุบันเส้นทางระหว่างทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง-ทางแยกเข้าชายหาดบางแสน กรมทางหลวงกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) และช่วงทางแยกต่างระดับบางแสน-ทางแยกพัทยากลางเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 จึงคงเหลือแต่ช่วงระหว่างกะทิงลาย-ปลวกเกตุเท่านั้น เป็นเส้นทางในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงชลบุรีที่ 2 และ แขวงทางหลวงระยอง

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ทิศทาง: พัทยา–ระยอง
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
พัทยา–ระยอง
ชลบุรี บางละมุง 0+000 แยกกะทิงลาย ถนนสุขุมวิท ไป แหลมฉบัง, อ.ศรีราชา, ชลบุรี ถนนสุขุมวิท ไป พัทยา, สัตหีบ, อ.บ้านฉาง
6+869 ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) ทล.พ.7 ไป แหลมฉบัง, ชลบุรี, กรุงเทพฯ ทล.พ.7 ไป พัทยา, อ.บ้านฉาง
8+585 - ทล.3240 ไป บ.เขาไม้แก้ว ทล.3240 ไป บ.นาเกลือ
12+500 ไม่มี ทางหลวงชนบท ชบ.2081 ไป บ.บ้านบึง
15+269 ทางต่างระดับเขาไม้แก้ว ทล.331 ไป อ.พนมสารคาม, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมา ทล.331 ไป อ.สัตหีบ
ระยอง นิคมพัฒนา 23+179 แยกขนำไร่ ทล.3376 ไป อ.นิคมพัฒนา ทล.3376 ไป อ.บ้านฉาง
24+100 ทางหลวงชนบท รย.2026 ไป บ.มาบยางพร, บ.มาบเตย ไม่มี
27+215 ทางหลวงชนบท รย.2015 ไป บ.หนองระกำ ไม่มี
30+500 ทางหลวงชนบท รย.2051 ไป บ.คลองตาทัย ไม่มี
37+087 แยกมาบข่า ทล.3191 ไป อ.ปลวกแดง ทล.3191 ไป มาบตาพุด
เมืองระยอง 43+634 แยกสวนสมเด็จย่าฯ ไม่มี ทล.363 ไป นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
47+278 แยกเลี่ยงเมืองระยอง ไม่มี ถนนเลี่ยงเมืองระยอง เข้าเมืองระยอง
48+225 แยกทับมา ทางหลวงชนบท รย.4006 ไป อ.บ้านค่าย ทางหลวงชนบท รย.4006 ไป ถนนสุขุมวิท, หาดแสงจันทร์
50+881 แยกเกาะกลอย ทล.3574 ไป อ.บ้านค่าย, อ.บ้านบึง, ชลบุรี ทล.3574 เข้าเมืองระยอง
55+000 แยกบ้านแลง ทล.3139 ไป บ.แลง ทล.3139 เข้าเมืองระยอง
57+021 แยกปลวกเกตุ (บายพาส) ถนนสุขุมวิท ไป อ.แกลง, จันทบุรี, ตราด ถนนสุขุมวิท เข้าเมืองระยอง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง[แก้]

  1. http://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/52-highways-agency-14 เก็บถาวร 2018-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 14 ชลบุรี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]