ข้ามไปเนื้อหา

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

พิกัด: 12°47′22″N 100°57′30″E / 12.789444°N 100.958333°E / 12.789444; 100.958333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดญาณสังวราราม)
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร
ตามเข็มนาฬิกาจากภาพบนสุดซ้าย: ตราของวัดญาณสังวราราม, เจดีย์พุทธคยาจำลอง, พระอุโบสถ, พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร วัดญาณสังฯ
ที่ตั้งอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นองค์ประธานจัดสร้างวัด ปัจจุบันพระโสภณคณาภรณ์ (ไชยวัฒน์ ชยวฑฺฒโน) เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2519 นายแพทย์ขจรและคุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ และครอบครัว ได้ถวายที่ดินเพื่อขอให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ ต่อมา คณะผู้สร้างวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่มรวมได้เนื้อที่ 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา เพื่อขอสร้างวัด วัดได้รับการอนุญาตให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ญาณสังวรารามเมื่อ พ.ศ. 2520 และเปลี่ยนเป็นวัดญาณสังวรารามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525 ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ความว่า ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดญาณสังวราราม ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ มีผลตั้งแต่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๑ [1]

ปูชนียสถานที่สำคัญ

[แก้]
  1. พระอุโบสถ สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
  2. พระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์" สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทางเททองหล่อ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
  3. พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและราชวงศ์จักรี เริ่มดำเนินการสร้างมาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เพื่อการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ชั้นที่ 2 ประดิษฐานพระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีชนวนจากพื้นปฐพีถึงที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านนอกชั้นที่ 3 มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระ ภปร. (ด้านหน้า) พระไพรีพินาศ (ด้านขวาของพระ ภปร.) และพระชินราชสีหศาสดา (ด้านซ้ายของพระ ภปร.) ส่วนชั้นที่ 2 เป็นซุ่มตราพระมหาจักรีซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
  4. พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก. สร้างขึ้นด้วยความซาบซิ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้าและพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานที่องค์พระมหามณฑป
  5. ศาลาอเนกกุศล สว.กว. เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2526 ใช้เป็นศาลาฉัน
  6. พระพุทธปฏิมา อปร.มอ. ประจำศาลาอเนกกุศล สว.กว. เป็นพระปางสมาธิแบบพระ ภปร. สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล "อปร." และพระนามาภิไธยย่อในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกนาถ "มอ." ประดิษฐานที่ผ้าทิตย์
  7. ศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ชั้นบนพื้นปูหินอ่อนไทยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไพรีพินาศ ใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรค่ำ อบรมกัมมัฎฐานเจริญจิตภาวนา เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

12°47′22″N 100°57′30″E / 12.789444°N 100.958333°E / 12.789444; 100.958333