ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ)
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
ชื่อย่อTATC
คติพจน์เรียนดี มีวินัย ใฝ่สร้างสรรค์ ขยันทำงาน ผสานคุณธรรม
ประเภทสถานศึกษา
สถาปนา1 กันยายน 2512
ที่ตั้ง
193 หมู่ 3 ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

ประวัติ

[แก้]

วันที่ 26 กรกฎาคม 2506 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้จัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ ณ บ้านอำเภอ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 64 ไร่ 3งาน 20 ตารางวา วันที่ 1 กันยายน 2512 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคสัตหีบ (ทส.) และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่าTHAI-AUSTRIAN TECHNICAL SCHOOL และเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดการเดินทางไม่สะดวกทางโรงเรียนจึงจัดให้มีหอพักนักเรียน-นักศึกษา โดยมีหอพัก 2 หลัง คืออาคารหอพัก 4 ชั้น และอาคารหลังไม้ ทำให้ครู-อาจารย์และนักเรียนมีความผูกพัน รักใคร่กันเป็นอันมาก ปัจจุบันการเดินทางสะดวกสะบายขึ้น ประกอบกับจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารหอพัก จึงได้ถูกยกเลิกในปีการศึกษา 2533 วันที่ 11 ตุลาคม 2520 กรมอาชีวศึกษาได้จัดพิธีรับมอบอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบอย่างเป็นทางการโดย Mr.Kari Peterlik เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทยผู้แทนรัฐบาลออสเตรียเป็นผู้มอบนายภิญโญ สาธร รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเป็นผู้รับมอบ

วันที่ 2 สิงหาคม 2533 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกระดับโรงเรียนเทคนิคสัตหีบสังกัดกองโรงเรียนเป็นวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THCHNICAL COLLEGE SATTAHIP CHONBURI วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 ได้มีการลงนามในบันทึกช่วยจำ ระหว่าง Mr. Hoch Lenitner เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้แทนรัฐบาลออสเตรีย กับนายบุญเทียม เจริญยิ่ง อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ผู้แทนรัฐบาลไทยในโครงการให้ความช่วยเหลือ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2533-2537) โดยมี ฯพลฯ HE.Dr. Alois Mock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของออสเตรียเป็นสักขีพยานโครงการนี้ได้แบ่งการจัดส่ง เครื่องจักรอุปกรณ์ ออกเป็น 4 ระยะดังนี้

  • ระยะที่ 1 สิงหาคม 2533 จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์บางอย่างมาเพื่อช่วยซ่อมเครื่องจักรอุปกรณ์เดิมซึ่งชำรุดและเพิ่มเติมอุปกรณ์และเครื่องจักร คิดเป็นเงิน 2,477,450.62 บาท และ 19 พฤศจิกายน 2533 มอบเงินจำนวน 991,872.52 บาท ให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ภายในประเทศ
  • ระยะที่ 2 กุมภาพันธ์ 2534 ได้จัดส่งอะไหล่และอุปกรณ์เพิ่มเติม เป็นเงิน 1,748,934.74 บาท
  • ระยะที่ 3 พฤษภาคม 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยเป็นเงิน 8,335,160.66 บาท และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน มาดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และแนะนำการใช้
  • ระยะที่ 4 กันยายน 2539 จัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ทันสมัยมาเพิ่มเติม ในส่วนที่เหลือและจะมีผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติหน้าที่อีกประมาณ 5-6 คน และจัดพิธีมอบเครื่องจักรเครื่องมือชุดใหม่ตามโครงการให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 คณะผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรียที่มาปฏิบัติงานในช่วงที่ 3 ของโครงการฯ ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม –10 กรกฎาคม 2539 มีดังนี้
    • Mr.Hermann Kotzmann หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญ
    • Mr.Kurt Reiter ผู้เชี่ยวชาญช่างหล่อโลหะ
    • Mr.Christian Gruber ผู้เชี่ยวชาญช่างเชื่อม
    • Mr.Gerhard Mayer ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

อีกทั้งในปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้รับเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่น ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ได้มอบโล่รางวัลดีเด่นโดยมี นายวิชัย ป้อมประเสริฐ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในครั้งนั้นเป็นผู้รับมอบ วิทยาลัยฯ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปีการศึกษา 2534 ในฐานะสถานศึกษา ดีเด่นในระดับอุดมศึกษา ของเขตการศึกษาที่ 12 ปี พ.ศ. 2536 และเปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี มีฐานะเทียบเท่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเครื่องกล และเปิดสอนในสาขาวิชาเครื่องมือกล อีก 1 สาขา ในปีการศึกษา 2537 นอกจากนี้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังเป็นศูนย์การศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฎฉะเชิงเทราในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2536 – ปีการศึกษา 2540 มีทั้งสิ้น 5 สาขา คือ

  1. เทคโนโลยีก่อสร้าง
  2. เทคโนโลยีการผลิต
  3. เทคโนโลยีเครื่องกล
  4. เทคโนโลยีไฟฟ้า
  5. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังได้รับการคัดเลือกจากกรมอาชีวศึกษาเข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรในสถานศึกษาโดยได้รับเงินกู้จากสำนักงาน OECF ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมอบให้กรมอาชีวะศึกษาเป็นเงินทั้งสิ้น 1,913.3 ล้านบาท และเงินสมทบจากรัฐบาลไทยอีก 569 ล้านบาททั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบเป็น 1 ใน 10 วิทยาลัยฯ ที่จะมีส่วนได้รับเงินจำนวนหนึ่งจากยอดดังกล่าว จะนำมาพัฒนาแผนกช่างเทคนิคการผลิตและช่างกลโรงงานเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภาคตะวันออก ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - 2541

ในปีพ.ศ. 2548 ตามหนังสือที่ ศธ 0604/038 สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงวันที่ 18 มกราคม 2548 ตามความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการอาชีวศึกษานานาชาติ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และในระดับภูมิภาคอีก 3 แห่ง โดยวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายอาชีวศึกษานานาชาติของภาคตะวันออก

เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาต้นแบบ (Super Model) แห่งเดียว ประเภทวิทยาลัยเทคนิค ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

หลักสูตรระดับการศึกษาและสาขาที่เปิดสอน

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทช่างอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชาและประเภทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 1 สาขาวิชาดังนี้

  • 1. สาขาวิชาโลหะการ
    • 1.1 สาขางานเชื่อมโลหะ
  • 2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
    • 2.1 สาขางานแม่พิมพ์โลหะ
    • 2.2 สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก
    • 2.3 สาขางานเขียนแบบเครื่องกล
    • 2.4 สาขางานแม่พิมพ์โลหะ (ทวิภาคี)
    • 2.5 สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก (ทวิภาคี)
  • 3. สาขาวิชาการก่อสร้าง
    • 3.1 สาขางานการก่อสร้าง
  • 4. สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • 4.1 สาขางานไฟฟ้ากำลัง
    • 4.2 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
    • 4.3 สาขางานแมคคาทรอนิกส์
    • 4.4 สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ทวิภาคี)
    • 4.5 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ (ทวิภาคี)
  • 5. สาขาวิชาเครื่องกล
    • 5.1 สาขางานยานยนต์
    • 5.2 สาขางานเครื่องกลอุตสาหกรรม
    • 5.3 สาขางานเครื่องกลเกษตร
    • 5.4 สาขางานยานยนต์ (ทวิภาคี)
  • 6. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
  • 6.1 สาขางานเขียนแบบเครื่องกล
  • 7. สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
    • 7.1 สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์

ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • 1.1 สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

  • 1. สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
    • 1.1 สาขาวิชาการโรงแรม (ทวิภาคี)
    • 1.2 การท่องเที่ยว

หลักสูตรระดับการศึกษาและสาขาที่เปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม 10 สาขาวิชา

  • 1. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
    • 1.1 สาขางานเทคนิคงานเชื่อมโลหะ
  • 2. สาขาวิชาการก่อสร้าง
    • 2.1 สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง
    • 2.2 สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง (ม.6)
  • 3. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
    • 3.1 สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
    • 3.2 สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า
    • 3.3 สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า (ม.6)
  • 4. สาขาวิชาเครื่องกล
    • 4.1 สาขางานเทคนิคยานยนต์
    • 4.2 สาขางานเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม
    • 4.3 สาขางานเทคนิคเครื่องกลเกษตร
    • 4.4 สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ทวิภาคี)
  • 5. สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม
    • 5.1 สาขางานเทคโนโลยีการวัดและควบคุม
    • 5.2 สาขางานเทคโนโลยีการวัดและควบคุม (ม.6)
  • 6. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
    • 6.1 สาขางานเครื่องมือกล
    • 6.2 สาขางานแม่พิมพ์โลหะ
    • 6.3 สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก
    • 6.4 สาขางานแม่พิมพ์โลหะ (ทวิภาคี)
    • 6.5 สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก (ทวิภาคี)
  • 7. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
    • 7.1 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
    • 7.2 สาขางานระบบโทรคมนาคม
    • 7.3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
    • 7.4 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6)
  • 8. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
    • 8.1 สาขางานออกแบบและเขียนแบบการผลิต
  • 9. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • 9.1 สาขางานคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
    • 9.2 สาขางานคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์(ม.6)
  • 10. สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
    • 10.1 สาขางานเมคคาทรอนิกส์
  • 11. สาขาวิชาช่างอากาศยาน
    • 11.1 สาขางานซ่อมบำรุงอากาศยาน

ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • 1.1 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • 1.2 สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ม.6)

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • 1.สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
    • 1.1 สาขาวิชาการโรงแรม (ทวิภาคี)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]