ไชยา พรหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชยา พรหมา
ไชยา ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 234 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
อนุชา นาคาศัย
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการธรรมนัส พรหมเผ่า
ก่อนหน้าสุนทร ปานแสงทอง
มนัญญา ไทยเศรษฐ์
ประภัตร โพธสุธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มกราคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2525–2538)
ชาติพัฒนา (2538–2540)
เสรีธรรม (2540–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสอัญชลี พรหมา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ไชยา พรหมา ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี รวม 8 สมัย ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[1] และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

นายไชยา พรหมา เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2503 ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายพิจิตร กับนางบัวไหล พรหมา สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต (บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ด้านครอบครัว สมรสกับนางอัญชลี พรหมา (สกุลเดิม เทือกต๊ะ) มีบุตรสาว 1 คนคือ นางสาวอธิษฐาน พรหมา [2]

งานการเมือง[แก้]

ไชยา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง มีนาคม พ.ศ. 2535/1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และ การเลือกตั้ง กันยายน พ.ศ. 2535/2 สังกัด พรรคชาติพัฒนา ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดเดิม และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคเสรีธรรม ซึ่งต่อมาได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย นายไชยา จึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 (สังกัดพรรคพลังประชาชน) และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้ง ส.ส. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในปี พ.ศ. 2554 นายไชยา ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2562 เป็นประธานกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ[3] และในปี พ.ศ. 2563 ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสถาบันพระปกเกล้า[4]

ในปี 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[5] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ไชยา พรหมา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งอีก 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคเสรีธรรมพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคเพื่อไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคเพื่อไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายไชยา พรหมา[ลิงก์เสีย]
  3. 'กมธ.ฯ'ปูดงบภัยแล้งส่อทุจริตซอยงบหวังเลี่ยงประมูลอีบิดดิ้ง
  4. สภาไม่งดถกกมธ. ‘ชวน’ให้ปธ.35คณะตัดสินใจเอง ยืนยันเปิดสภากำหนดเดิม22พค.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑