ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมพัฒน์ แก้วพิจิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
G(Bot) (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:00, 22 กุมภาพันธ์ 2555

นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
ไฟล์:สมพัฒน์ แก้วพิจิตร.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้ารุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปชาติชาย พุคยาภรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดนครปฐม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย
คู่สมรสนางกนกวลี แก้วพิจิตร

นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม พรรคชาติไทย

ประวัติ

นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ที่จังหวัดนครปฐม[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ (M.BA.) จากมหาวิทยาลัยแซมฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านครอบครัวสมรสกับนางกนกวลี แก้วพิจิตร มีบุตร 3 คน

การทำงาน

นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เริ่มทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมเวล ในจังหวัดนครปฐม จากนั้นจึงเริ่มมีกิจการของตนเองคือ บริษัท ดาวอรพรรณ จำกัด บริษัท สหพัฒนพันธุ์ จำกัด และบริษัท สหอรพรรณ จำกัด[2] ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2538 และตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543

ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3] และพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีคณะดังกล่าวต้องสิ้นสภาพอันเนื่องมาจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นสภาพ แต่นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร ยังคงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เดิมในคณะรัฐมนตรีคณะต่อมา ซึ่งนำโดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4]

ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
  • ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

อ้างอิง