คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57
คณะรัฐมนตรีสมัคร | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
กุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2551 | |
วันแต่งตั้ง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 |
วันสิ้นสุด | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 224 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน |
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 35 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคประชาราช |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 316 / 476
|
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ |
ผู้นำฝ่ายค้าน | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 28 มกราคม พ.ศ. 2551 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 |
วาระสภานิติบัญญัติ | 4 ปี |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58 |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551)
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | ||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง | แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | ||
รัฐมนตรีลอย | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย | |||||||||||
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | พรรคการเมือง | |||||
นายกรัฐมนตรี | * | สมัคร สุนทรเวช | 29 มกราคม พ.ศ. 2551 | 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ | พลังประชาชน | |||||
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | 18 กันยายน พ.ศ. 2551 | รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี | พลังประชาชน | |||||||
รองนายกรัฐมนตรี | 1 | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | พลังประชาชน | |||||||
2 | นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
สหัส บัณฑิตกุล | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | พลังประชาชน | |||||||
3 | พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | |||||||
สุวิทย์ คุณกิตติ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
4 | พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
5 | มั่น พัธโนทัย | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | 6 | ชูศักดิ์ ศิรินิล | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
จักรภพ เพ็ญแข | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | พลังประชาชน | |||||||
กลาโหม | * | สมัคร สุนทรเวช | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ | พลังประชาชน | |||||
การคลัง | * | นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
7 | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | รวมใจไทยชาติพัฒนา | |||||||
ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
8 | สุชาติ ธาดาธำรงเวช | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน → เพื่อไทย[a] | |||||||
9 | พิชัย นริพทะพันธุ์ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
การต่างประเทศ | นพดล ปัทมะ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | พลังประชาชน | ||||||
เตช บุนนาค | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | 4 กันยายน พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | ไม่สังกัดพรรคการเมือง | |||||||
10 | สาโรจน์ ชวนะวิรัช | 4 กันยายน พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ไม่สังกัดพรรคการเมือง | |||||||
การท่องเที่ยวและกีฬา | 11 | วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | ||||||
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | สุธา ชันแสง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | พลังประชาชน | ||||||
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | พลังประชาชน | |||||||
12 | อนุสรณ์ วงศ์วรรณ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
เกษตรและสหกรณ์ | 13 | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | ||||||
14 | สมพัฒน์ แก้วพิจิตร | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | |||||||
15 | ธีระชัย แสนแก้ว | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
คมนาคม | 16 | สันติ พร้อมพัฒน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
17 | ทรงศักดิ์ ทองศรี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
18 | วราวุธ ศิลปอาชา | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | |||||||
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 19 | อนงค์วรรณ เทพสุทิน | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | มัชฌิมาธิปไตย | ||||||
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | * | มั่น พัธโนทัย | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | เพื่อแผ่นดิน | ||||||
พลังงาน | 20 | พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | รวมใจไทยชาติพัฒนา | ||||||
พาณิชย์ | * | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | พลังประชาชน | |||||
21 | ไชยา สะสมทรัพย์ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
22 | วิรุฬ เตชะไพบูลย์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
23 | พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | มัชฌิมาธิปไตย | |||||||
24 | พิเชษฐ์ ตันเจริญ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
มหาดไทย | ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี | พลังประชาชน | ||||||
* | พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
25 | สุพล ฟองงาม | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
26 | สิทธิชัย โควสุรัตน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ชาติไทย | |||||||
27 | ประสงค์ โฆษิตานนท์ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | เพื่อแผ่นดิน | |||||||
ยุติธรรม | 28 | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
แรงงาน | 29 | อุไรวรรณ เทียนทอง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | ประชาราช | ||||||
วัฒนธรรม | อนุสรณ์ วงศ์วรรณ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | พลังประชาชน | ||||||
30 | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 31 | วุฒิพงศ์ ฉายแสง | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
ศึกษาธิการ | * | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | ||||||
32 | บุญลือ ประเสริฐโสภา | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
33 | พงศกร อรรณนพพร | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
สาธารณสุข | ไชยา สะสมทรัพย์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ | พลังประชาชน | ||||||
34 | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |||||||||
35 | วิชาญ มีนชัยนันท์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | |||||||
อุตสาหกรรม | * | สุวิทย์ คุณกิตติ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อแผ่นดิน | |||||
36 | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน |
- ↑ เดิมสังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายสุธา ชันแสง ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล พ้นจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [1]
- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายจักรภพ เพ็ญแข ลาออกจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายไชยา สะสมทรัพย์ พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ
- วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายนพดล ปัทมะ ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม[2]
- วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - นายเตช บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 -
- พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายมั่น พัธโนทัย เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 - นายเตช บุนนาค ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551 - นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181[3]
นโยบายและผลงาน
- เสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสุนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน" [4]
- รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง [5]
ความมั่นคง
- การประนีประนอมกับทหาร โดยสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วย [6]
- เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่[7]
เศรษฐกิจ
- ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% [8]
- ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.[9]
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ[10]
- มาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา
สิทธิมนุษยชน
- ใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาด
- เสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก[11]
อื่นๆ
- รายการ "สนทนาประสาสมัคร"
- รายการ "ความจริงวันนี้"
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
นายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ขี้เหร่นิดหน่อย" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้ว[12] เช่นกรณีที่อยากให้น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง (วุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แต่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม[12][13]
ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทยและวิพากษ์รัฐบาล โดยกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ตัวจริง เป็นรัฐบาลนอมินีที่ควรเรียกว่ารัฐบาลลูกกรอก ที่เกิดจากการปลุกเสกของผู้มีอำนาจ ทำให้รัฐบาลนี้ซื่อสัตย์และจงรักภักดี โดยมี "รักเลี๊ยบและยมมิ่ง"เป็นผู้นำ (รักเลี๊ยบ หมายถึง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ส่วนยมมิ่ง หมายถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์) ขณะเดียวกันก็มีหัวหน้าคณะลูกกรอกอยู่ 2 ตนเป็นกุมารทองคะนองฤทธิ์ ตนแรกเป็นกุมารทองคะนองปาก (หมายถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) คอยทะเลาะสร้างศัตรูไปทั่วทุกกล่ม ส่วนกุมารทองตนที่สองคือ กุมารทองคะนองอำนาจ (หมายถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย) ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร[14]
ข้อวิพากษ์ดังกล่าวทำให้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการวิจารณ์รัฐบาลของนายธีรยุทธว่ามีคุณค่าทางวิชาการน้อยมาก เป็นแค่การโชว์ความสามารถในการคิดถ้อยคำเท่านั้น และนายธีรยุทธ มักจะมองการเมืองในแง่ร้ายเสมอ[14]
การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล
สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กล่าวหาว่าทางรัฐบาลขาดคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารชาติบ้านเมือง เป็นรัฐบาลตัวแทนของระบอบทักษิณ ที่เน้นบริหารชาติบ้านเมืองเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยการชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมครั้งสุดท้าย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้าร่วมให้มากที่สุด [15]
25 พฤษภาคม 15.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นเคลื่อนย้ายไปที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนินนอก เมื่อเวลา 21.20 น. ขณะที่พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลนั้น [16] ทางตำรวจได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้เคลื่อนผ่านไปได้ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเองก็มีวิธีการรับมือกับตำรวจ [17] ขณะที่เดินขบวนไปนั้น ได้มีฝ่ายตรงข้าม ตั้งเวทีย่อยบนรถ 6 ล้อ ด่าทอพันธมิตรฯ และขว้างปาสิ่งของไปมาเป็นระยะๆ [18] ส่งให้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย [19] จนกระทั่ง ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก จนต้องหามส่งไปยังโรงพยาบาลกรุงเทพ[20]
26 พฤษภาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา [21]
30 พฤษภาคม เป็นวันชุมนุมใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศที่จะยกระดับการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประการ[22] [23] หลังจากนั้น สมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป [24]
1 มิถุนายน 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า
"เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่" [25]
อ้างอิง
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, “ในหลวง”ทรงแนะรมต.ใหม่ ทำให้ได้อย่างคำปฏิญาณ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 19 มิถุนายน 2551
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, "นพดล" แถลงลาออก รมว.ต่างประเทศ มีผล 14 ก.ค.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศาล รธน.ชี้ขาดคุณสมบัติ สมัครพ้นตำแหน่งนายกฯ จาก ไทยรัฐ
- ↑ "Samak's Mekong plan could hurt trade ties". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์รัฐบาลทักษิณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ จากมติชน 10 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 10 คอลัมน์ การเมือง
- ↑ "เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ เบญจพร วงศ์. ยกเลิกกันสำรอง 30%ปลดล็อกเศรษฐกิจแล้วปลด(ล็อก)อะไรอีก?. กรุงเทพฯ : เนชั่นสุดสัปดาห์, 2551.
- ↑ "เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ ""หมัก" ฟิวส์ขาด ลั่นไม่บ้าพอแก้ รธน.ตั้งกาสิโน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ 12.0 12.1 MCOT New,สมัคร ยอมรับ ครม.ชุดใหม่ขี้เหร่นิดหน่อย เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 กุมภาพันธ์ 2551
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, สมัครยอมรับโฉมหน้าครม.ขี้เหร่ เก็บถาวร 2008-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 กุมภาพันธ์ 2551
- ↑ 14.0 14.1 แนวหน้า, ธีรยุทธสับเละรบ.ลูกกรอก1 ชั่วครองเมือง ชี้แก้รธน.เพื่อตัวเองพังแน่ เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 พฤษภาคม 2551
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์,ยามเฝ้าแผ่นดิน : “สนธิ” ลั่น “25 พ.ค.” สงครามครั้งสุดท้าย! เก็บถาวร 2012-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 พฤษภาคม 2551
- ↑ "พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, คู่มือรับมือกับการ “สลายการชุมนุม” ของตำรวจ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 28 พฤษภาคม 2551
- ↑ "แก๊งป่วนปฏิบัติการยั่วยุ เคลื่อนจ่อพันธมิตรฯ ด่าทอ-ปาขวดน้ำใส่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ "ผู้จัดการออนไลน์หน้าพิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ "ผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ "ตร.แห่คุมสภาเข้ม! รับ "พันธมิตรฯ" ยื่นหนังสือไล่ถอด ส.ส.-ส.ว." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ "กล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
- ↑ มติชน,พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่ทั้วหมด 12 ประการ[ลิงก์เสีย] 31 พฤษภาคม 2551
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์ “สมศักดิ์” รัวกลองรบ! ขับไล่ “หมัก-รบ.นอมินี” ไร้ความชอบธรรม เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์,“จำลอง” ย้ำจุดยืนชุมนุมจนกว่าชนะ!! ยันไม่เคลื่อนย้ายไปทำเนียบ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน1 มิถุยายน 2551