ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุฒิสภาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล สภานิติบัญญัติ
{{กล่องข้อมูล สภานิติบัญญัติ
| ชื่อ = วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย
| ชื่อ = วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย <br>Senate of Thailand
| ภาพตรา = Seal of the Parliament of Thailand.svg
| ภาพตรา = Seal of the Parliament of Thailand.svg
| สภานิติบัญญัติ = [[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12]]
| สภานิติบัญญัติ = [[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12]]
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ส่วนหนึ่ง = รัฐสภาไทย
| ส่วนหนึ่ง = รัฐสภาไทย
| ประธาน1_ประเภท = [[รายนามประธานวุฒิสภาไทย|ประธาน]]
| ประธาน1_ประเภท = [[รายนามประธานวุฒิสภาไทย|ประธาน]]
| ประธาน1 = [[พรเพชร วิชิตชลชัย]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/140/T_0002.PDF ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง หน้า ๒ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒</ref>
| ประธาน1 = [[พรเพชร วิชิตชลชัย]]
| พรรค1 =
| พรรค1 =
| การเลือกตั้ง1 = 28 พฤษภาคม 2562
| ประธาน2_ประเภท = รองประธานคนที่ 1
| ประธาน2_ประเภท = รองประธานคนที่ 1
| ประธาน2 = พล.อ.[[สิงห์ศึก สิงห์ไพร]]
| ประธาน2 = พล.อ.[[สิงห์ศึก สิงห์ไพร]]
| พรรค2 =
| พรรค2 =
| การเลือกตั้ง2 = 28 พฤษภาคม 2562
| ประธาน3_ประเภท = รองประธานคนที่ 2
| ประธาน3_ประเภท = รองประธานคนที่ 2
| ประธาน3 = [[ศุภชัย สมเจริญ]]
| ประธาน3 = [[ศุภชัย สมเจริญ]]
| พรรค3 =
| พรรค3 =
| การเลือกตั้ง3 = 28 พฤษภาคม 2562
| ประธาน4_ประเภท = เลขาธิการ
| ประธาน4_ประเภท = เลขาธิการ
| ประธาน4 = นัฑ ผาสุข<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/33.PDF ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง หน้า ๓๓ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐</ref>
| ประธาน4 = นายนัฑ ผาสุข<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/33.PDF ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง หน้า ๓๓ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐</ref>
| การเลือกตั้ง4 = 1 ตุลาคม 2560
| สมาชิก = 250
| สมาชิก = 250
| โครงสร้าง1 = 12th Senate of Thailand.svg
| โครงสร้าง1 = 12th Senate of Thailand.svg

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:09, 5 มิถุนายน 2562

วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย
Senate of Thailand
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาไทย
ผู้บริหาร
พรเพชร วิชิตชลชัย[1]
ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562
รองประธานคนที่ 1
พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร
ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562
รองประธานคนที่ 2
ศุภชัย สมเจริญ
ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562
เลขาธิการ
นายนัฑ ผาสุข[2]
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560
โครงสร้าง
สมาชิก250
กลุ่มการเมือง
  ทหาร (90)
  ตำรวจ (14)
  พลเรือน (146)
การเลือกตั้ง
แต่งตั้ง
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
11 พฤษภาคม 2562[3]
ที่ประชุม
หอประชุมใหญ่ อาคาร 9 ชั้น 2
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (ชั่วคราว)

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง

วุฒิสภาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 แบ่งรูปแบบสำคัญออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง และยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งและการสรรหา วุฒิสภามีวาระคราวละ 4 ปี

ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนวุฒิสภา โดยมี นายนัฑ ผาสุข [4]เป็นเลขาธิการวุฒิสภา

อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จะย้ายที่ทำการอาคารรัฐสภาไทย ไปยังที่ทำการชั่วคราว ณ เลขที่ 499 อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800[5]

ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง

ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งทั้งหมดและยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งผสมกับการสรรหา

วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีกำหนดวาระคราวละ 6 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาโดยไม่มีการลงมติ และมีหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540) ยังได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะอีกหลายประการ คือ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ

  1. การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
  2. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  3. การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
  4. เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ เป็นกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
  5. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด และเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
  6. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  7. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้.

วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

มาตรา 269 ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ถวายคำแนะนำ มาตรา 270 นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้วุฒิสภาตามมาตรา 269 มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน

ลำดับชุดวุฒิสภา

ชุดที่ จำนวนสมาชิก ระยะการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกสภาพ รัฐธรรมนูญ หมายเหตุ
(แต่งตั้ง/เลือกตั้ง/สรรหา)
1 80 24 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
2 301 18 พฤศจิกายน 2490 – 29 พฤศจิกายน 2494 ยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
3 120 4 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 คณะปฏิวัติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
4 100 26 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519 ยุบสภาตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
5 225 22 เมษายน 2522 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ในวาระเริ่มแรกให้จับสลากออก 1 ใน 3 เมื่อครบ 2 ปีแรก และอีก 2 ปีถัดมาให้จับสลากออกกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือจากการถูกจับสลากออกคราวแรก
  • จับสลากออก 17 เมษายน 2524 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • จับสลากออก 15 เมษายน 2526 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2528 และแต่งตั้งเพิ่มเติมในวันเดียวกัน
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 28 กรกฎาคม 2529
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2530
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 25 กรกฎาคม 2531
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2532
6 270 22 มีนาคม 2535 – 22 มีนาคม 2539[6] ครบวาระ 4 ปี ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
7 260 22 มีนาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2535 (พ.ศ. 2538)
8 200 22 มีนาคม 2543 – 21 มีนาคม 2549 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เลือกตั้ง 2543 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาจากการเลือกตั้ง สว. โดยตรง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543
9 200 19 เมษายน 2549 – 19 กันยายน 2549 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เลือกตั้ง 2549
10 150 2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2557 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เลือกตั้ง 2551
11 150 30 มีนาคม 2557 – 24 พฤษภาคม 2557 รัฐประหาร/ รัฐสภา วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบเลิก
(ประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เลือกตั้ง 2557
12 250 11 พฤษภาคม 2562 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คัดเลือก 2561-2562

อ้างอิง

  1. ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๐ ง หน้า ๒ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  2. ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง หน้า ๓๓ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
  3. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง หน้า ๑-๙ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/33.PDF
  5. แจ้งย้ายที่ทำการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไปยังที่ทำการชั่วคราว
  6. รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น