คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง. เป็นคณะกรรมการ ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มีหน้าที่ดูแล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยงานของรัฐ เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทุกปี

คตง. ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและกรอบการทำหน้าที่ให้ผู้ว่าการ สตง. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของ สตง. นำไปปฏิบัติ

คตง. ยังเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้ง คณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง (ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 คือ คณะกรรมการวินัยทางบประมาณและการคลัง) ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ทำหน้าที่วินิจฉัยโทษทางปกครอง (โดยหลักคือการสั่งปรับเงินเดือน) ข้าราชการหรือนักการเมืองที่กระผิดทางงบประมาณและการคลัง เช่น ยักยอกทรัพย์ ทุจริต หรือไม่ทำตามระเบียบการพัสดุ เป็นต้น ในขณะที่พิจารณาลงโทษทางอาญานั้นเป็นหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. และศาล

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[แก้]

สตง. ถูกปรับเปลี่ยนให้มีการบริหารงานแบบ "คณะกรรมการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542" และมี คตง. ชุดแรกใน ปี พ.ศ. 2543 และมี คตง. ชุดที่สองในปี พ.ศ. 2547

ชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2543)[แก้]

ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 14 เมษายน พ.ศ. 2543 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย) ถึง 14 เมษายน พ.ศ. 2547

ชุดที่สอง (พ.ศ. 2547)[แก้]

ชุดที่สอง ได้รับเลือกจากวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2547 และวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 จำนวน 9 คน ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย)

ชุดที่สาม (พ.ศ. 2557)[แก้]

ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

ชุดที่สี่ (พ.ศ. 2560)[แก้]

ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560 พระราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[2]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]