ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
| percentage1 =
| percentage1 =


| image2 = [[ไฟล์:Abhisit 2009 official.jpg|119px]]
| image2 = [[ไฟล์:Vejjajiva - World Economic Forum Annual Meeting Davos 2009.jpg|119px]]
| leader2 = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]
| leader2 = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]
| leader_since2 = 5 มีนาคม 2548
| leader_since2 = 5 มีนาคม 2548

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:02, 2 กุมภาพันธ์ 2562

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 24 มีนาคม 2562

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
  First party Second party Third party
  ไฟล์:วิโรจน์ เปาอินทร์.jpg ไฟล์:อนุทิน ชาญวีรกุล.jpeg
ผู้นำ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อนุทิน ชาญวีรกูล
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย
ผู้นำตั้งแต่ 28 ตุลาคม 2561 5 มีนาคม 2548 14 ตุลาคม 2555
เลือกตั้งล่าสุด 265, 53%
(2554)
159, 31.8%
(2554)
34, 6.8%
(2554)

  Fourth party Fifth party Sixth party
  ไฟล์:Thanathorn J. cropped.jpg ไฟล์:อุตม.jpg ไฟล์:Seri.jpg
ผู้นำ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อุตตม สาวนายน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
พรรค อนาคตใหม่ พลังประชารัฐ เสรีรวมไทย
ผู้นำตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2561 7 พฤศจิกายน 2561 14 ตุลาคม 2561
เลือกตั้งล่าสุด ไม่ได้ลงรับเลือกตั้ง ไม่ได้ลงรับเลือกตั้ง ไม่ได้ลงรับเลือกตั้ง

  Seventh party
 
ผู้นำ กัญจนา ศิลปอาชา
พรรค ชาติไทยพัฒนา
ผู้นำตั้งแต่ 26 ตุลาคม 2561
เลือกตั้งล่าสุด 19, 3.8%
(2554)

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คสช.

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ยังไม่ประกาศ

ปฏิทิน
23 ม.ค.ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งฯ
24 ม.ค.กกต. ประกาศรายละเอียดการเลือกตั้ง
28 ม.ค. – 19 ก.พ.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
4 – 8 ก.พ.วันรับสมัคร ส.ส. พร้อมแจ้งชื่อผู้สมัครนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง
15 ก.พ.กกต. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
4 – 16 มี.ค.วันลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
17 มี.ค.วันเลือกตั้งล่วงหน้า
24 มี.ค.วันเลือกตั้งทั่วไป
9 พ.ค.วันหมดเขตประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562[1][2] ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 มกราคม ปีเดียวกัน ภายหลังการเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4)[3] มีผลใช้บังคับ [4]ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้งภายในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ทั้งนี้ ก่อนการกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่ชัดเป็นวันที่ 24 มีนาคม โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ก่อรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด แต่ได้เลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งทั้งสิ้นห้าครั้ง[5]ผลจากการเลื่อนเลือกตั้งส่งผลให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติครองอำนาจครบ 5 ปี

เบื้องหลัง

ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในเดือนมีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะการเลือกตั้งไม่เกิดในวันเดียวกันทั่วประเทศ[6] หลังข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม[6]

ต่อมา เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังดำเนินการปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การเลือกตั้งครั้งนี้จะจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีทหารหนุนหลัง และจะนำไปสู่การสิ้นสุดลงของช่วงเวลาเผด็จการทหารที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย[7]

วันเลือกตั้ง

ไม่นานหลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์กล่าวว่าการเลือกตั้งน่าจะจัด "ภายในสิ้นปี 2558" ทว่า เมื่อสิ้นปี 2557 เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนกล่าวต่อสาธารณะว่า จะไม่จัดการเลือกตั้งจนถึงประมาณกลางปี 2559[8] ในเดือนพฤษภาคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กล่าวว่า บัดนี้จะจัดการเลือกตั้ง "ประมาณเดือนสิงหาคมหรือในเดือนกันยายน" 2559 หลังรัฐบาลประกาศเจตนาว่าจะจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะจัดในช่วงต้นปี 2559[9] ในเดือนมิถุนายน 2558 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า เขาเต็มใจรั้งตำแหน่งอีกสองปีหาก "ประชาชนต้องการ" หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติผลักดันเพื่อจัดการลงคะแนนว่าการปฏิรูปของรัฐบาลควรเสร็จสิ้นก่อนจัดการเลือกตั้งหรือไม่ หมายความว่า การเลือกตั้งทั่วไปอาจไม่จัดจนกว่าต้นปี 2561 แต่ไม่กี่วันต่อมา เขาวางตัวห่างจากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติหลังเผชิญปฏิกิริยาสะท้อนสำหรับความเห็นของเขา[10] ทว่า การนี้เปิดประตูไว้ให้ "การสำเร็จการปฏิรูป" ภายใต้รัฐบาลใหม่ซึ่งจะเลื่อนการเลือกตั้งไปอีก หากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติสำเร็จ

ในเดือนตุลาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561 ทว่า การเลือกวันเลือกตั้งทำให้เกิดข่าวลือว่าเขาพยายามรั้งอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งถัดไปผ่านพรรคการเมืองที่กองทัพหนุนหลัง ในเดือนมกราคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลื่อนการใช้บังคับกฎหมายการเลือกตั้งใหม่อีก 90 วัน ซึ่งยิ่งเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก ในเวลานั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การตัดสินใจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาจเลื่อนการเลือกตั้งไปจนเดือนกุมภาพันธ์ 2562[11]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ตัวแทนกลุ่มการเมืองเข้าร่วมประชุมกับ กกต. เพื่อรับทราบข้อมูลในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[12]

ภายหลังจากการประชุมหารือ 4 ฝ่ายประกอบไปด้วย ครม. กรธ. กกต. และพรรคการเมืองที่สโมสรทหารบกเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก โดยมีตัวเลือกได้แก่ 24 กุมภาพันธ์, 31 มีนาคม, 28 เมษายน หรือ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 วิษณุแจ้งกับพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวันเลือกตั้ง[13]

ความรุนแรง

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562 นาย วาริน แสงจันทร์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังชาติไทย จังหวัดยะลา เสียชีวิตด้วยอาวุธปืน[14]

ระบบเลือกตั้งใหม่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเดิมจะมีบัตรเลือกตั้งสองบัตร บัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบแบ่งเขต และอีกบัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบบัญชีรายชื่อ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะลดบัตรเลือกตั้งเหลือบัตรเดียว โดยเลือกทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ[15]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน ซึ่งมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงต้องการคะแนนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันตั้งแต่ 376 คนขึ้นไป ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวมีวาระ 5 ปี นักวิจารณ์กล่าวว่าวุฒิสภาชุดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปแม้พรรคที่นิยมประยุทธ์จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า ทั้งนี้ หากสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คนสนับสนุนประยุทธ์ ทำให้พรรคการเมืองที่นิยมประยุทธ์ต้องการอีกเพียง 126 ที่นั่งก็สามารถเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้[16] อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์ทำนายว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นที่นิยมทหารอาจได้ที่นั่งรวมกันไม่ถึง 126 ที่นั่ง และจะต้องการการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ 350 เขต ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่กำหนดไว้ 400 เขต[17] ในปี 2561 กกต. มีหน้าที่วาดเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนมีการประกาศ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเลื่อนการประกาศเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต. ยังได้รับยกเว้นจากกฎหมายเขตเลือกตั้งเดิม ทำให้ กกต. สามารถวาดเขตเลือกตั้งใหม่อย่างไรก็ได้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยแสดงการคัดค้านรุนแรง[18] ซึ่งแย้งว่าการเลื่อนเวลาจะทำให้ กกต. วาดแผนที่ให้เอื้อต่อพรรคพลังประชารัฐ นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์เปรียบเทียบการณ์นี้ว่าเหมือนกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในสหรัฐ บางคนออกความเห็นว่า คสช. ชนะการเลือกตั้งแล้ว[19][16][20] วันที่ 29 พฤศจิกายน กกต. วาดเขตเลือกตั้งใหม่แล้วเสร็จและประกาศ[21] ซึ่งพรรคการเมืองหลายพรรคและองค์การควบคุมดูแลพบว่ามีการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หลายกรณี[22][23]

เขตเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยครั้งนี้ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 350 เขต แต่ละจังหวัดมีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้ [24]

พื้นที่ จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร 30
นครราชสีมา 14
ขอนแก่น และอุบลราชธานี 10
เชียงใหม่ 9
ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี 8
เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ 7
ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี 6
กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม และราชบุรี 5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง และสุพรรณบุรี 4
จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู 3
กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ 2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี สมุทรสงคราม และอ่างทอง 1

อ้างอิง

  1. [1] Channel News Asia, 11 December 2018
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/010/T_0001.PDF
  3. ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 267 (1), พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ตามมาตรา 267 (2), พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 267 (3) , และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ตามมาตรา 267 (4)
  4. พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๘ ก หน้า ๑ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๒
  5. "ย้อนที่มาเลื่อนเลือกตั้ง 5 ครั้ง ยุค คสช. จากปลายปี 2558 สู่ก่อนพระราชพิธีสำคัญ". THE STANDARD. 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
  6. 6.0 6.1 Thailand to hold fresh election on 20 July BBC News, 30 April 2014
  7. Nguyen, Anuchit; Thanthong-Knight, Randy (2019-01-23). "Thailand to Hold First General Election Since Coup in 2014". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  8. Yueh, Linda (26 November 2014). "Thailand's elections could be delayed until 2016". BBC World News. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  9. Peel, Michael (19 May 2015). "Generals postpone Thailand elections for at least six more months". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)
  10. "PM backpedals on staying on". The Nation. Nation Multimedia Group. 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  11. Peel, Michael (30 January 2018). "Thailand's PM Prayut Chan-o-cha says he needs more time in office to prepare for election". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
  12. "มีอะไรน่าสนใจ เมื่อ กกต. เปิดจดทะเบียนพรรคใหม่ 2 มี.ค." 1 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. "การเมือง'วิษณุ' วางไทม์ไลน์เลือกตั้งช้าสุด 5 พ.ค. 62". Workpoint. 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 September 2018.
  14. คนร้ายบุกยิงว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังชาติไทย เสียชีวิตพร้อมภรรยา ลูก 2 คนรอดหวุดหวิด
  15. Limited, Bangkok Post Public Company. "Young voters find voice". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  16. 16.0 16.1 "Election has already been won, so what now? - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  17. "EC completes redrawing of constituencies - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  18. Limited, Bangkok Post Public Company. "Watchdog demands govt stop meddling with EC". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  19. "EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  20. Limited, Bangkok Post Public Company. "New EC boundary ruling under fire". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  21. "EC completes redrawing of constituencies". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  22. "Parties accuse EC of bias in constituency mapping". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  23. Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2018-11-30). "Parties Fume Over New 'Gerrymandered' Electoral Map". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เล่ม ๑๓๕, ตอน ๑๐๑ ก, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑,

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

</ref>