อำเภอเมืองพิจิตร
อำเภอเมืองพิจิตร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Phichit |
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอเมืองพิจิตร | |
พิกัด: 16°26′18″N 100°21′0″E / 16.43833°N 100.35000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พิจิตร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 738.9 ตร.กม. (285.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 107,809 คน |
• ความหนาแน่น | 145.91 คน/ตร.กม. (377.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 66000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6601 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองพิจิตร เป็นอำเภอที่เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการและศูนย์กลางธุรกิจของจังหวัดพิจิตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองพิจิตรมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกระทุ่ม (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสากเหล็กและอำเภอวังทรายพูน
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตะพานหิน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ประทับช้างและอำเภอสามง่าม
ประวัติ
[แก้]"พิจิตร" แปลว่า "งาม" เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ "พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8" พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์
จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่มากจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เชื่อกันว่าเจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) โอรสพระยาโคตมเทวราช เป็นผู้สร้างเมือง เหนือฝั่งแม่น้ำน่านในปี พ.ศ. 1601 เดิมมีหลายชื่อ คือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวรและเมืองปากยม ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตรอยู่ในที่ราบลุ่มตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำน้ำยมและลำน้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะพิเศษของดินแดนจังหวัดพิจิตรเดิมเต็มไปด้วยห้วย หนอง คลอง บึง พื้นดินจังหวัดพิจิตร เป็นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมทับถมทุกปีมีปลาชุกชุม
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี มีความสำคัญทางทหารและการปกครองมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง "ไกรทอง" โดยใช้เมืองพิจิตรเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราว เนื่องจากเมืองพิจิตร เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมายและมีจระเข้ชุกชุมนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำรูปแบบการปกครองระบบ เทศภิบาลมาใช้และได้จัดตั้งมณฑลพิษณุโลก เป็นมณฑลแรกประกอบด้วย 5 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิจิตร[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มณฑลพิษณุโลก เป็น อำเภอท่าหลวง[2]
- วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอท่าหลวง (อำเภอเมืองพิจิตร) ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอบางคลาน (อำเภอโพทะเล) มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นกับอำเภอท่าหลวง[3]
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 ยกฐานะชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการจังหวัดพิจิตร ให้เป็น เทศบาลเมืองพิจิตร[4]
- วันที่ 21 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลดงป่าคำ อำเภอท่าหลวง ไปขึ้นกับตำบลห้วยเกตุ กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง[5]
- วันที่ 20 มิถุนายน 2480 ตั้งตำบลเนินปอ แยกออกจากตำบลรังนก[6]
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลวังจิก ตำบลรังนก และตำบลเนินปอ อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น อำเภอสามง่าม[7]
- วันที่ 25 กรกฎาคม 2481 ตั้งตำบลตะพานหิน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[8]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2481 ตั้งตำบลหนองปลาไหล แยกออกจากตำบลสากเหล็ก[9]
- วันที่ 16 เมษายน 2483 ยกฐานะตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง ขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[10]
- วันที่ 9 กันยายน 2484 โอนพื้นที่ตำบลไผ่รอบ อำเภอสามง่าม มาขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[11]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโรงช้าง แยกออกจากตำบลเมืองเก่า และตำบลคลองคะเชนทร์ ตั้งตำบลโพธิ์ประทับช้าง แยกออกจากตำบลวังจิก และตำบลเมืองเก่า[12]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ตั้งตำบลปากทาง แยกออกจากตำบลท่าฬ่อ และตำบลท่าหลวง[13]
- วันที่ 10 กรกฎาคม 2499 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ครั้งที่ 1[14] โดยขยายเข้าไปให้ครอบคลุมเขตโรงพยาบาลพิจิตร
- วันที่ 8 ธันวาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลวังกรด ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านบุ่ง[15] และจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฬ่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าฬ่อ[16]
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลสากเหล็ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสากเหล็ก[17]
- วันที่ 11 เมษายน 2510 ตั้งตำบลท้ายดง แยกออกจากตำบลหัวดง[18]
- วันที่ 23 พฤษภาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลไผ่รอบ ตำบลวังจิก และตำบลโพธิ์ประทับช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[19]
- วันที่ 23 พฤศจิกายน 2510 โอนพื้นที่ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร[20]
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2511 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยโอนพื้นที่ตำบลท้ายดง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์[21]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลหนองพระ แยกออกจากตำบลหัวดง และตำบลบ้านบุ่ง[22]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2512 ขยายเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ครั้งที่ 2[23] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมด
- วันที่ 13 ตุลาคม 2513 โอนพื้นที่หมู่ 3,4,5,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับตำบลไผ่ท่าโพ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร[24]
- วันที่ 28 กันยายน 2514 ตั้งตำบลย่านยาว แยกออกจากตำบลไผ่ขวาง[25]
- วันที่ 26 กันยายน 2515 ตั้งตำบลท่าเยี่ยม แยกออกจากตำบลสากเหล็ก[26]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอโพธิ์ประทับช้าง[27]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลวังทรายพูน แยกออกจากตำบลหนองปลาไหล[28]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลหนองพระ ตำบลหนองปลาไหล และตำบลวังทรายพูน อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังทรายพูน ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[29]
- วันที่ 24 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลหนองปล้อง แยกออกจากตำบลหัวดง[30]
- วันที่ 15 มกราคม 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลหัวดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลหัวดง[31]
- วันที่ 16 กันยายน 2523 ตั้งตำบลคลองทราย แยกออกจากตำบลท่าเยี่ยม[32]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลสายคำโห้ แยกออกจากตำบลบ้านบุ่ง[33]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังทรายพูน อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอวังทรายพูน[34]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลดงกลาง แยกออกจากตำบลดงป่าคำ[35]
- วันที่ 23 กันยายน 2526 โอนพื้นที่ตำบลหนองปล้อง อำเภอเมืองพิจิตร ไปขึ้นกับ อำเภอวังทรายพูน[36]
- วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลท่าเยี่ยม และตำบลคลองทราย อำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสากเหล็ก ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[37]
- วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลหนองหญ้าไทร แยกออกจากตำบลคลองทราย ตั้งตำบลวังทับไทร แยกออกจากตำบลท่าเยี่ยม[38]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2549 กำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร (1-15)[39]
- (1) ตำบลย่านยาว ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน
- (2) ตำบลไผ่ขวาง ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
- (3) ตำบลท่าฬ่อ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
- (4) ตำบลป่ามะคาบ ให้มีเขตการปกครองรวม 14 หมู่บ้าน
- (5) ตำบลบ้านบุ่ง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
- (6) ตำบลสายคำโห้ ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน
- (7) ตำบลหัวดง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (8) ตำบลดงป่าคำ ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (9) ตำบลดงกลาง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (10) ตำบลเมืองเก่า ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (11) ตำบลปากทาง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (12) ตำบลท่าหลวง ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน
- (13) ตำบลฆะมัง ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน
- (14) ตำบลคลองคะเชนทร์ ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- (15) ตำบลโรงช้าง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอสากเหล็ก[40]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองพิจิตรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 134 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ในเมือง | (Nai Mueang) | - | 9. | ท่าหลวง | (Tha Luang) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
2. | ไผ่ขวาง | (Phai Khwang) | 8 หมู่บ้าน | 10. | บ้านบุ่ง | (Ban Bung) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ย่านยาว | (Yan Yao) | 10 หมู่บ้าน | 11. | ฆะมัง | (Khamang) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ท่าฬ่อ | (Tha Lo) | 7 หมู่บ้าน | 12. | ดงป่าคำ | (Dong Pa Kham) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ปากทาง | (Pak Thang) | 9 หมู่บ้าน | 13. | หัวดง | (Hua Dong) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
6. | คลองคะเชนทร์ | (Khlong Khachen) | 9 หมู่บ้าน | 14. | ป่ามะคาบ | (Pa Makhap) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
7. | โรงช้าง | (Rong Chang) | 7 หมู่บ้าน | 15. | สายคำโห้ | (Sai Kham Ho) | 5 หมู่บ้าน | |||||||
8. | เมืองเก่า | (Mueang Kao) | 9 หมู่บ้าน | 16. | ดงกลาง | (Dong Klang) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองพิจิตรประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพิจิตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าฬ่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าฬ่อ
- เทศบาลตำบลวังกรด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านบุ่ง
- เทศบาลตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหัวดง
- เทศบาลตำบลดงป่าคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงป่าคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านยาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฬ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าฬ่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าฬ่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากทาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากทางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองคะเชนทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองคะเชนทร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบุ่ง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังกรด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลฆะมัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆะมังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดง (นอกเขตเทศบาลตำบลหัวดง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่ามะคาบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสายคำโห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายคำโห้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงกลางทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดท่าหลวง พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
- บึงสีไฟ หนองน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัด อยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิจิตร
- วัดเขารูปช้าง เขาขนาดย่อม มีหินรูปร่างคล้ายช้าง
- อุทยานเมืองเก่าพิจิตร เมืองสมัยพระยาโคตรบอง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ วัดมหาธาตุ ศาลหลักเมือง ถ้ำชาละวัน
- วัดโรงช้าง
การคมนาคม
[แก้]ทางบก
[แก้]มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111 (ทางเลี่ยงเมืองพิจิตร)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 (ถนนพิจิตร-เพชรบูรณ์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 (ถนนกำแพงเพชร-สากเหล็ก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1068 (ถนนพิจิตร-โพธิ์ประทับช้าง)
ทางราง
[แก้]สถานีรถไฟ
[แก้]- สถานีรถไฟพิจิตร
- สถานีรถไฟท่าฬ่อ
- สถานีรถไฟวังกรด
- สถานีรถไฟหัวดง
- สถานีรถไฟความเร็วสูงพิจิตร (อนาคต)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2019-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติอำเภอเมืองพิจิตร
- ↑ [2] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
- ↑ [3] เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอตะพานหิน
- ↑ [4]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๗๙
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
- ↑ [7] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร์
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอตะพานหิน
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิจิตร
- ↑ [11] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่างๆ
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิจิตร
- ↑ [13]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๔๙๙
- ↑ [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังกรด อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฬอ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [16]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [18]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ [แบ่งท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร ตั้งเป็น กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง]
- ↑ [19]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโพทะเลและกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๑๐
- ↑ [20]พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตรและจังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๑
- ↑ [21]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตรและอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
- ↑ [22]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒
- ↑ [23]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโพทะเลและกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๑๓ [โอนหมู่บ้านที่ ๓, ๔, ๕,๗ ตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล ไปขึ้นตำบลไผ่ท่าโพ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร]
- ↑ [24]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [25]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [26] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖
- ↑ [27]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [28] เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังทรายพูน
- ↑ [29]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [30]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหัวดง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [31]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [32]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [33] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอพรหมคีรี อำเภอนาบอน อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอนาดี อำเภอกงหรา อำเภอวังทรายพูน อำเภอธารโต อำเภอคำตากล้า อำเภอศรีนคร อำเภอด่านช้าง อำเภอพรเจริญ อำเภอวังสามหมอ และอำเภอลานสัก พ.ศ. ๒๕๒๔ [ยกฐานะกิ่งอำเภอในท้องที่ บางจังหวัดขึ้นเป็นอำเภอ]
- ↑ [34]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [35] เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองพิจิตร กับอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ [36] เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสากเหล็ก
- ↑ [37]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน และกิ่งอำเภอสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
- ↑ [38]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
- ↑ [39] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐