อำเภอหล่มสัก
อำเภอหล่มสัก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Lom Sak |
คำขวัญ: ถิ่นพ่อขุนผาเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน ที่ตั้งศาลหลักเมืองนครบาล น้ำตกธารทิพย์มนต์ขลัง ท้องพระคลังถ้ำสมบัติ | |
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอหล่มสัก | |
พิกัด: 16°46′46″N 101°14′32″E / 16.77944°N 101.24222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,535.3 ตร.กม. (592.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 154,518 คน |
• ความหนาแน่น | 101.24 คน/ตร.กม. (262.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 67110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6703 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอหล่มสัก ถนนวจี ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
หล่มสัก เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมชื่อ อำเภอเมือง และอำเภอวัดป่า และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหล่มศักดิ์[1] จนกระทั่งจังหวัดหล่มศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ใน พ.ศ. 2474[2] และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานเพชรบูรณ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอหล่มสักมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหล่มเก่าและอำเภอน้ำหนาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอน้ำหนาว และอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ
ประวัติ
[แก้]หล่มศักดิ์ เดิมเป็นเมืองหนึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ เพราะเมืองหล่ม (เก่า) ถูกทำลายไปมาก จึงย้ายมาตั้งเมืองใหม่ริมน้ำสัก จึงเรียกเมืองหล่มแห่งใหม่นี้ว่า "หล่มสัก" (แต่ทางราชการสยามสะกดว่า "หล่มศัก" หรือ "หล่มศักดิ์")[1] ครั้นเวลาต่อมาเมืองหล่มศักดิ์ได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนใหญ่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเมืองหล่มศักดิ์ (ในฐานะเขตการปกครองระดับที่สองในระบบเทศาภิบาล) ขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 โดยเมืองหล่มศักดิ์ในขณะนั้นมีอาณาเขตกินไปถึงอำเภอด่านซ้าย และอำเภอวังสะพุง ครั้นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2450 จึงยกอำเภอวังสะพุงไปขึ้นกับเมืองเลยแทน[3] (ภายหลังอำเภอด่านซ้าย แยกออกเป็นอำเภอภูเรือและอำเภอนาแห้ว ส่วนอำเภอวังสะพุงแยกเป็นอำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง อำเภอเอราวัณ อำเภอผาขาว และอำเภอหนองหิน ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดเลย) เมื่อ พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่า "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" เมืองหล่มศักดิ์จึงถูกเรียกว่าจังหวัดหล่มศักดิ์[1] ขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอเมือง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอวัดป่าใน พ.ศ. 2460) และอำเภอหล่มเก่า[4]
จังหวัดหล่มศักดิ์มีการสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ตั้งโรงเรียนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์[5] (ปัจจุบันคือโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม)[6] และมีการสร้างสนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์ (ปัจจุบันคือ สนามบินสักหลง) เพราะขณะนั้นเมืองหล่มศักดิ์เป็นเมืองห่างไกลและยังไม่มีเส้นทางคมนาคม[7] การนี้ชาวจังหวัดหล่มศักดิ์ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างเครื่องบินชื่อ "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1" ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวหล่มศักดิ์ที่ได้ร่วมบริจาค[8]
จังหวัดหล่มศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474[2] เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอวัดป่าเป็นอำเภอหล่มศักดิ์[9] หลังจากนั้นการสะกดคำว่า "หล่มศักดิ์" เป็น "หล่มสัก" เกิดขึ้นและถูกเปลี่ยนกลับหลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนใน พ.ศ. 2489 จึงสะกดว่า "หล่มสัก" สืบมา[1]
- วันที่ 28 มกราคม 2442 ยกฐานะบริเวณเพชรบูรณ์ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ และให้ยกเมืองหล่มศักดิ์มารวมมณฑลเพชรบูรณ์ ยกเว้นเมืองเลยและเมืองแก่นท้าว (เมืองขึ้นของเมืองหล่มศักดิ์) ให้อยู่มณฑลฝ่ายเหนือ[10]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2447 ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ ไปอยู่ในความรับผิดชอบของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก และยกเมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ ไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก[11]
- วันที่ 13 สิงหาคม 2448 โอนพื้นที่อำเภอด่านซ้าย มณฑลพิษณุโลก มาขึ้นกับเมืองหล่มศักดิ์[12]
- วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ยกเมืองหล่มศักดิ์ให้ขึ้นมณฑลเพชรบูรณ์[13] ตามเดิม
- วันที่ 21 เมษายน 2450 โอนพื้นที่อำเภอวังสะพุง แขวงเมืองหล่มศักดิ์ มณฑลพิษณุโลก (มณฑลเพชรบูรณ์) ไปขึ้นกับบริเวณน้ำเหือง เมืองเลย มณฑลอุดร[3]
- วันที่ 12 กันยายน 2458 ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก และยกเมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ ไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก[14]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดหล่มศักดิ์ เป็น อำเภอวัดป่า[4]
- วันที่ 4 สิงหาคม 2472 ตั้งตำบลหนองไขว่ แยกออกจากตำบลวัดป่า[15]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2473 ตั้งตำบลบ้านกลาง แยกออกจากตำบลบ้านหวาย[16]
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดหล่มศักดิ์ รวมเข้ากับท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์[2] และโอนพื้นที่อำเภอวัดป่า และอำเภอหล่มเก่า ของจังหวัดหล่มศักดิ์ (เดิม) ขึ้นการปกครองกับจังหวัดเพชรบูรณ์
- วันที่ 19 กันยายน 2481 ตั้งตำบลห้วยไร่ แยกออกจากตำบลบ้านติ้ว[17]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น อำเภอหล่มศักดิ์[9]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2488 จัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มศักดิ์ ในท้องที่ตำบลวัดป่า และตำบลตาลเดี่ยว[18]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลลานบ่า แยกออกจากตำบลหนองไขว่ และตำบลบุ่งคล้า ตั้งตำบลบุ่งน้ำเต้า แยกออกจากตำบลบุ่งคล้า ตั้งตำบลหนองสว่างและตำบลน้ำเฮี้ย แยกออกจากตำบลฝายนาแซง ตั้งตำบลบ้านติ้ว แยกออกจากตำบลห้วยไร่ ตั้งตำบลปากช่อง แยกออกจากตำบลบ้านโสก[19]
- วันที่ 7 กันยายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 3–4 (ในขณะนั้น) ของตำบลวัดป่า และบางส่วนของหมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตาลเดี่ยว ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหล่มสัก ตั้งขึ้นเป็นตำบลหล่มสัก[20]
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2503 โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองไขว่ ไปตั้งเป็นหมู่ 16 ตำบลน้ำชุน[21]
- วันที่ 24 กันยายน 2517 ตั้งตำบลแคมป์สน แยกออกจากตำบลน้ำชุน[22]
- วันที่ 25 สิงหาคม 2524 ตั้งตำบลทุ่งสมอ แยกออกจากตำบลแคมป์สน[23]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2527 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์กับอำเภอหล่มสัก โดยโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านจะวะสิต, หมู่ 12 บ้านธนิตคำเที่ยง และหมู่ที่ 14 บ้านริมสีม่วง ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มาขึ้นกับตำบลทุ่งสมอ อำเภอหล่มสัก[24] เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก–ความมั่นคงของประเทศ
- วันที่ 14 กันยายน 2527 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งสมอ และตำบลแคมป์สน จากอำเภอหล่มสัก ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาค้อ[25] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอหล่มสัก
- วันที่ 5 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลริมสีม่วง ตั้งตำบลสะเดาะพง ตั้งตำบลหนองแม่นา และตั้งตำบลเขาค้อ แยกออกจากตำบลทุ่งสมอ[26]
- วันที่ 11 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลช้างตะลูด แยกออกจากตำบลบ้านกลาง[27]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลลานบ่า[28]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลเข็กน้อย แยกออกจากตำบลแคมป์สน[29]
- วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยกฐานะกิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก เป็น อำเภอเขาค้อ[25]
- วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลปากดุก แยกออกจากตำบลตาลเดี่ยว[30]
- วันที่ 24 กันยายน 2538 จัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มสัก ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองหล่มสัก[31]
- วันที่ 4 มกราคม 2539 ตั้งตำบลบ้านหวาย แยกออกจากตำบลบ้านโสก[32]
- วันที่ 29 เมษายน 2547 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลหล่มสัก ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก[33]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลหนองสว่าง สภาตำบลน้ำเฮี้ย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง[34]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว เป็น เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว[35]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองท้องที่
[แก้]อำเภอหล่มสักแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 23 ตำบล 251 หมู่บ้าน ดังนี้
1. | หล่มสัก | (Lom Sak) | ยกเลิกระบบหมู่ | 13. | ปากช่อง | (Pak Chong) | 17 หมู่บ้าน | |||||||||||||
2. | วัดป่า | (Wat Pa) | 12 หมู่บ้าน | 14. | น้ำชุน | (Nam Chun) | 17 หมู่บ้าน | |||||||||||||
3. | ตาลเดี่ยว | (Tan Diao) | 11 หมู่บ้าน | 15. | หนองไขว่ | (Nong Khwai) | 15 หมู่บ้าน | |||||||||||||
4. | ฝายนาแซง | (Fai Na Saeng) | 6 หมู่บ้าน | 16. | ลานบ่า | (Lan Ba) | 18 หมู่บ้าน | |||||||||||||
5. | หนองสว่าง | (Nong Sawang) | 4 หมู่บ้าน | 17. | บุ่งคล้า | (Bung Khla) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||||||
6. | น้ำเฮี้ย | (Nam Hia) | 5 หมู่บ้าน | 18. | บุ่งน้ำเต้า | (Bung Namtao) | 12 หมู่บ้าน | |||||||||||||
7. | สักหลง | (Sak Long) | 11 หมู่บ้าน | 19. | บ้านกลาง | (Ban Klang) | 19 หมู่บ้าน | |||||||||||||
8. | ท่าอิบุญ | (Tha Ibun) | 12 หมู่บ้าน | 20. | ช้างตะลูด | (Chang Talut) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||
9. | บ้านโสก | (Ban Sok) | 7 หมู่บ้าน | 21. | บ้านไร่ | (Ban Rai) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||||||
10. | บ้านติ้ว | (Ban Tio) | 12 หมู่บ้าน | 22. | ปากดุก | (Pak Duk) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||
11. | ห้วยไร่ | (Huai Rai) | 13 หมู่บ้าน | 23. | บ้านหวาย | (Ban Wai) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||
12. | น้ำก้อ | (Nam Ko) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอหล่มสักประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองหล่มสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหล่มสักทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดป่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายนาแซง ตำบลหนองสว่าง และตำบลน้ำเฮี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสักหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสักหลงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิบุญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิบุญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโสกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านติ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำก้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำก้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากช่องทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำชุนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไขว่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไขว่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลานบ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานบ่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งคล้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งน้ำเต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งน้ำเต้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลช้างตะลูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างตะลูดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากดุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหวายทั้งตำบล
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม (โรงเรียนประจำอำเภอ)
- โรงเรียนเมตตาวิทยา (โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ)
- โรงเรียนผดุงวิทย์ (โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่)
- โรงเรียนติ้ววิทยาคม
- โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม ( Pha Muang Wittayakom)
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ (โรงเรียนประจำ)
- โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม
- โรงเรียนศรีจันทร์วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
- โรงเรียนผาแดงวิทยาคม
- โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม
- โรงเรียนบ้านดงน้ำเดื่อ
- โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
- โรงเรียนอนุบาลทิพยา
- โรงเรียนหยกฟ้า
- โรงเรียนเมตตาศึกษา
- โรงเรียนเมตตาชนูปถัมภ์
- โรงเรียนสิรินคริสเตียน
- โรงเรียนฤทัยทิพย์
- โรงเรียนอนุบาลเพชรอนันต์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก
- โรงเรียนจิตพิมล
- โรงเรียนปาณิสรานวดและสปาไทหล่ม (โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ)
- โรงเรียนเทศบาลวัดประชุมคงคาราม
- โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย
- โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
- โรงเรียนอนุบาลบ้านศรีมงคล
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- หลักเมืองหล่มสัก
- อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ที่ตั้งเมืองของพ่อขุนผาเมือง ผู้ร่วมสถาปนากรุงสุโขทัยพร้อมกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
- หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ แหล่งศึกษาประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมของชาวหล่มสัก
- ถ้ำฤๅษีสมบัติ เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่เก็บสมบัติของแผ่นดิน สมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
- วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ น้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียวที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์
- ตลาดเช้าหล่มสัก แหล่งรวมของสด อาหาร เสื้อผ้า และสินค้ามากมายกลางอำเภอหล่มสัก
- สะพานเจ็ดสี สะพานเชื่อมจากถนนพิทักษ์ไปยังสวนสาธารณะดงตาลข้ามแม่น้ำป่าสัก ตอนกลางคืนจะเปิดไฟเจ็ดสีสลับกันไปมา
- สวนสาธารณะดงตาล แหล่งพักผ่อนหย่อนใจกลางเมืองของชาวหล่มสัก
- เขื่อนปากห้วยขอนแก่น เขื่อนกักเก็บน้ำจากทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก
- เขื่อนบ้านน้ำก้อ เขื่อนกักเก็บน้ำจากทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันตก
- ถนนคนเดินไทหล่ม แหล่งรวมสินค้าโอท็อปทั่วอำเภอหล่มสัก จัดขึ้นทุกคืนวันเสาร์
- แกรนแคนยอนหล่มสัก แพะเมืองผีในเพชรบูรณ์
- อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้อ อ่างเก็บที่อยู่บริเวณทิศตะวันตก
เศรษฐกิจ
[แก้]อำเภอหล่มสักมีสินค้าที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวเหนียว, กะหล่ำปลี, ผักหลายชนิด (ภูทับเบิก (อำเภอหล่มเก่า) ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ปลูกพืชผักที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย), สตรอว์เบอร์รี, เส้นขนมจีนหลากสี, มีดพื้นบ้านของชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตาลเดี่ยว, ผ้ามุก ผ้าไหมทอพื้นบ้านของบ้านติ้ว[36]
มีตลาดกลางค้าผักขนานใหญ่ชื่อว่าตลาดสันติสุข และมีจุดพักรถบรรทุกที่มาจากทั่วประเทศ
ประเพณีและเทศกาลสำคัญ
[แก้]- งานเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุน จัดช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ตั้งแต่วันที่25ธันวาคมถึงวันที่2มกราคม
- ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเริ่มต้นฤดูฝนของทุกปี
- งานนมัสการรอยพระพุทธบาท ระหว่างวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 วิศัลย์ โฆษิตานนท์, ดร. "ว่าด้วยเรื่อง ชื่อเมืองหล่ม หล่มเก่า หล่มสัก และน้ำสัก". WordPress.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - ↑ 2.0 2.1 2.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
- ↑ 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (003): 51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2450
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "แผนกกรมวิสามัญศึกษา เรื่องมีผู้บริจาคทรัพย์บำรุงโรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 2291. วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2463
- ↑ "ประวัติของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม". โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - ↑ "คำแถลงการณ์ของเสนาธิการณ์ทหารบก เรื่อง สนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 1227. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2467
- ↑ "แจ้งความกระทรวงกระลาโหม เรื่องสแดงการบินและรับเงินของชาวหล่มศักดิ์ซึ่งบริจาคให้สร้างเครื่องบิน "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 1540. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2467
- ↑ 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–663. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ประกาศการที่ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบริเวณเพชรบูรณ์ขึ้นเป็นมณฑลโดยให้ยกเมืองหล่มสักมารวม ,ตั้งผู้แทนข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ,ให้เมืองเลย เมืองแก่นท้าวซึ่งขึ้นกับเมืองหล่มสักยังคงให้อยู่ในมณฑลฝ่ายเหนือ ตามเดิม]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (44): 629. วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2442
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ รวมขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (27): 443. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2447
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ยกอำเภอด่านซ้ายซึ่งขึ้นกับเมืองพิษณุโลก มาขึ้นเมืองหล่มศักดิ์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (0 ง): 453. วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2448
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (45): 1203. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
- ↑ "ประกาศ เลิกมณฑลเพชรบูรณ์เข้าเป็นเมืองในมณฑลพิษณุโลก และแยกมณฑลพายัพเป็นมณฑลมหาราษฎร์ และมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเป็นผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 200–202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2458
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลหนองไขว่ ท้องที่อำเภอวัดป่า จังหวัดหล่มสัก ซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 121. วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบ้านกลาง ซึ่งแยกจากตำบลบ้านหวาย ท้องที่อำเภอวัดป่า จังหวัดหล่มสัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 155. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2473
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2096–2097. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พุทธศักราช ๒๔๘๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (11 ก): 175–179. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (52 ง): 2645–2646. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2491
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (13 ง): 371–372. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (158 ง): 3580–3588. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (140 ง): 2876–2878. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กับอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (108 ก): (ฉบับพิเศษ) 3-5. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2527
- ↑ 25.0 25.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาค้อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (118 ง): 2996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2527
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน อำเภอวิเชียรบุรี กิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก และอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (162 ง): 5390–5402. วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (154 ง): 5669–5681. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 176-181. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอหนองไผ่ และกิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-59. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพันและอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-39. วันที่ 3 ธันวาคม 2536
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 58–61. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 86–90. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (35 ง): 5–7. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2547
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–3.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ตาลเดี่ยว เป็น เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน
- ↑ "ข่าวเช้าวันใหม่". ช่อง 3. 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.[ลิงก์เสีย]