สถานีรถไฟแม่ทะ

พิกัด: 18°11′52″N 99°33′16″E / 18.1979091°N 99.5544423°E / 18.1979091; 99.5544423
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟแม่ทะ
ป้าย และอาคารสถานีรถไฟแม่ทะ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านแม่ทะ หมู่ 1 ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา1
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา3
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1189 (มท.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 เมษายน พ.ศ. 2459 (108 ปี)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ศาลาผาลาด สายเหนือ หนองวัวเฒ่า
มุ่งหน้า เชียงใหม่
แม่ทะ
Mae Tha
กิโลเมตรที่ 628.45
ศาลาผาลาด
Sala Pha Lat
−6.25 กม.
หนองวัวเฒ่า
Nong Wua Thao
+8.96 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

สถานีรถไฟแม่ทะ (อังกฤษ: Mae Tha Railway Station) เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอแม่ทะ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ทะ หมู่ 1 ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 628.45 กิโลเมตร อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟศาลาผาลาด และ สถานีรถไฟหนองวัวเฒ่า ใช้สัญญาณหางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวกใช้ห่วงทางสะดวก [1] เป็นสถานีหลีกประจำของขบวนท้องถิ่น 407 กับท้องถิ่น 408 เมื่อขบวนรถตามเวลา

สถานีรถไฟแม่ทะเป็นสถานีรถไฟขนาดเล็ก จึงมีแค่ขบวนรถไฟที่จอด 2 ขบวนคือ รถท้องถิ่น407/408 จาก นว.-ชม./ชม.-นว. เนื่องจากไม่ห่างจากอำเภอเมืองลำปางมาก ทำให้ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปกรุงเทพจึงต้องไปขึ้นขบวนรถที่สถานีรถไฟนครลำปางหรือสถานีรถไฟแม่เมาะแล้วแต่จะสะดวก

สถานีรถไฟแม่ทะตั้งอยู่บริเวณช่วงทางโค้ง และหน้าอาคารสถานีรถไฟมีภูเขา ซึ่งในฝั่งอาคารสถานีจะอยู่ในอาณาเขตตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ส่วนฝั่งตรงข้ามสถานีหรือย่านจะอยู่ในอาณาเขตตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เหมือนกับสถานีรถไฟศาลาผาลาด

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟแม่ทะ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรก วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 เป็นช่วงการก่อสร้างเส้นทางและทดลองเดินรถในช่วงที่ 12[2] ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ระหว่าง แม่จาง-นครลำปาง ระยะทาง 42 กิโลเมตร

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง แม่ทะ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท407 นครสวรรค์ 05.00 12.19 เชียงใหม่ 14.35
ท408 เชียงใหม่ 09.30 12.20 นครสวรรค์ 19.55
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  2. สมุดเลขรหัสแทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ 01 ต.ค. 2522 สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

18°11′52″N 99°33′16″E / 18.1979091°N 99.5544423°E / 18.1979091; 99.5544423