ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางปลาม้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบางปลาม้า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Pla Ma
อดีตสถานีบ้านมะขามล้มในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
อดีตสถานีบ้านมะขามล้มในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอบางปลาม้า
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอบางปลาม้า
พิกัด: 14°24′8″N 100°9′16″E / 14.40222°N 100.15444°E / 14.40222; 100.15444
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด481.3 ตร.กม. (185.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด75,873 คน
 • ความหนาแน่น157.64 คน/ตร.กม. (408.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72150
รหัสภูมิศาสตร์7204
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางปลาม้า เป็นอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็น 1 ใน 3 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟหนองผักชี อดีตสถานีรถไฟบ้านมะขามล้ม และอดีตสถานีรถไฟสะแกย่างหมู

อดีตสถานีหนองผักชีในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางปลาม้ามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

  ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 กำหนดเขตอำเภอบางปลาม้าตรงกับสมัยพระสมุทรคณานุรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มี"ปลาม้า"ชุกชุม ที่ว่าการอำเภอหลังแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางปลาม้า ในปี 2442 เกิดเพลิงไหม้จึงได้ย้ายมาสร้างที่ปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2472 ยุบตำบลบ้านยอด รวมกับตำบลสามหมื่น ยุบตำบลบ้านแขก รวมกับตำบลโคกคราม ยุบตำบลสะแกย่างหมู รวมกับตำบลมะขามล้ม และยุบตำบลท้องขาหย่าง รวมกับตำบลองครักษ์[2]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่หมู่ 6 เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของคลองขุดพระยารักษ์ฯ ของตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ไปขึ้นกับ ตำบลดอนลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[3]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลโคกคราม ในท้องที่บางส่วนของตำบลโคกคราม[4]
  • วันที่ 20 มีนาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาม้า ในท้องที่หมู่ 2 และหมู่ 7 ตำบลบางปลาม้า[5]
  • วันที่ 13 กันยายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแหลม ในท้องที่หมู่ 9 บ้านคอวัง ตำบลบ้านแหลม[6]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลไผ่กองดิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลไผ่กองดิน[7]
  • วันที่ 14 กันยายน 2519 ตั้งตำบลวังน้ำเย็น แยกออกจากตำบลมะขามล้ม[8]
  • วันที่ 11 เมษายน 2532 ตั้งตำบลวัดดาว แยกออกจากตำบลบ้านแหลม[9]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโคกคราม สุขาภิบาลบางปลาม้า สุขาภิบาลบ้านแหลม และสุขาภิบาลไผ่กองดิน เป็นเทศบาลตำบลโคกคราม เทศบาลตำบลบางปลาม้า เทศบาลตำบลบ้านแหลม และเทศบาลตำบลไผ่กองดิน ตามลำดับ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลโคกครามพัฒนา เป็นเทศบาลตำบลต้นคราม[11]
อดีตสถานีสะแกย่างหมูในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบางปลาม้าแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 127 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โคกคราม (Khok Khram) 8. องครักษ์ (Ongkharak)
2. บางปลาม้า (Bang Pla Ma) 9. จรเข้ใหญ่ (Chorakhe Yai)
3. ตะค่า (Takha) 10. บ้านแหลม (Ban Laem)
4. บางใหญ่ (Bang Yai) 11. มะขามล้ม (Makham Lom)
5. กฤษณา (Kritsana) 12. วังน้ำเย็น (Wang Nam Yen)
6. สาลี (Sali) 13. วัดโบสถ์ (Wat Bot)
7. ไผ่กองดิน (Phai Kong Din) 14. วัดดาว (Wat Dao)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบางปลาม้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโคกคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกคราม (เฉพาะหมู่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 4, 10)
  • เทศบาลตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาม้า (เฉพาะหมู่ที่ 2, 7)
  • เทศบาลตำบลบ้านแหลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหลม (เฉพาะหมู่ที่ 2)
  • เทศบาลตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่กองดิน (เฉพาะหมู่ที่ 3–4)
  • เทศบาลตำบลต้นคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกคราม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโคกคราม)
  • เทศบาลตำบลตะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะค่าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหลม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาม้า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางปลาม้า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกฤษณาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่กองดิน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไผ่กองดิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองครักษ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้ใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามล้มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเย็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดดาวทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอำเภอบางปลาม้า - ข้อมูลอำเภอ-สถานที่ท่องเที่ยว-ติดต่อราชการ
  2. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับบางตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี มณฑลนครชัยศรี ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 86–88. July 7, 1929.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. September 20, 1956.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (27 ง): 680–681. March 20, 1962.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (78 ง): 2875–2876. September 13, 1966.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (179 ง): (ฉบับพิเศษ) 81-82. December 30, 1973.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2429–2432. September 14, 1976.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (55 ง): 2561–2565. April 11, 1989.
  10. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-23.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (80 ง): 2. May 27, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]