เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561
ซากของเรือลำที่เกิดอุบัติเหตุ
วันที่5 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 (2018-07-05)
ที่ตั้งใกล้จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
ชื่ออื่นเรือเดินสมุทรฟีนิกซ์ และเรือเดินสมุทรเซเรนิตา ล่ม
สาเหตุพายุ
เสียชีวิต47 ราย
บาดเจ็บไม่ถึงตาย37 ราย

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เรือท่องเที่ยวสามลำล่มและจมในบริเวณ เกาะเฮ ใกล้จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ในช่วงที่เกิดพายุฉับพลัน มีผู้เสียชีวิตสี่สิบเจ็ดราย และสามรายสูญหายไป[1] ทุกคนอยู่บนเรือสองชั้นฟีนิกซ์ พีซี ไดวฟ์วิง ซึ่งมีผู้คน 105 คน ประกอบด้วยนักท่องเที่ยว 93 คน (ทั้งหมดเป็นชาวจีนยกเว้นเพียง 2 คนเป็นชาวยุโรป)[2] และมีไกด์นำเที่ยวลงเรือไปด้วยอีก 12 คน เรือลำดังกล่าวกำลังเดินทางจากเกาะราชากลับท่าเรืออ่าวฉลอง กำหนดการออกเดินทาง 16.30 น. มี นาย สมจริง บุญธรรม เป็น กัปตันเรือ

เรือลำที่สองที่ล่มในวันดังกล่าวได้แก่ เรือยอซท์ ชื่อเรือ เซเรนิตา ได้ล่มลง บริเวณเกาะไม้ท่อน ผู้โดยสาร 42 คน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือ รอดชีวิตทั้งหมด กัปตันเรือลำเรือได้แก่ นาย เมธา หลิมสกุล[3]

เรือลำที่สามที่ล่มในวันดังกล่าว ได้แก่ เรือเจ็ตสกีของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียล่ม มีผู้โดยสาร 2 คน ล่มบริเวณเกาะราชา ได้รับการช่วยเหลือทั้งสองคน ผู้ประสบภัยเรือล่มในวันนั้นรวม 149 ราย[4]

การค้นหาและกู้ภัย[แก้]

มีเรือประมงลำหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ มาถึงที่เกิดเหตุและสามารถช่วยเหลือผู้โดยสาร 48 คนขึ้นมาจากน้ำ ส่วนผู้หญิงอีกคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือในบริเวณห่างจากเรือหลายไมล์ อย่างไรก็ตาม ได้พบว่าบุคคลรายอื่น ๆ ที่อยู่กับเธอนั้นเสียชีวิตทั้งหมด ในขณะที่ผู้บาดเจ็บสามสิบเจ็ดรายได้รับการส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับการรักษา[5]

หน่วยงานรัฐจังหวัดภูเก็ตจัดภารกิจการค้นหาและกู้ภัยโดยเฮลิคอปเตอร์, ตำรวจ และเรือประมง ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม มีการพบศพ 33 ราย และผู้คน 23 รายสูญหาย ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวจีน ผู้โดยสารที่พบส่วนใหญ่สวมเสื้อชูชีพ[6]

นักการทูตจากสถานกงสุลจีนและสถานทูตในกรุงเทพฯเดินทางมายังภูเก็ตเพื่อเข้าเยี่ยมผู้รอดชีวิตและช่วยการค้นหาและกู้ภัย[7] ส่วนนักดำน้ำชาวจีนที่เคยไปทางเหนือของประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงก็เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุเรือล่มเช่นกัน ซึ่งเชื่อกันว่าเรืออยู่ใต้น้ำลึกลงไป 120 ฟุต (37 เมตร)[6]

ภายหลังเหตุการณ์[แก้]

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุเรือล่มว่า "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนจีนทำนักท่องเที่ยวจีนเอง สร้างเรือเอง ไม่ทำตามกฎของเรา แล้วจะให้เราเรียกอะไร ก็มันเป็นเรื่องของเขา" ภายหลังการให้สัมภาษณ์คนจีนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อการสัมภาษณ์ในครั้งนี้[8] จน พลเอก ประวิตร ได้ออกมาขอโทษคนจีนในท้ายที่สุด[9] โดย พลเอก ประวิตร อ้างว่าได้รับรายงานมาเช่นนั้น

หลังเกิดเหตุการณ์พบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนนั้นได้ลดลงเป็นจำนวนมาก[10] ทั้งคนไทยและคนจีนต่างวิจารณ์เพราะโศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลา 16.00 น. ของวันที่ 5 ก.ค. แต่กว่าจะมีทีมค้นหาจะออกไปค้นหาก็ 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ออกมาตรฐานเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้คนจีนโดยเพิ่มช่องทางพิเศษสำหรับผู้ที่ถือหนังสือตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนโดยเฉพาะเพื่อเป็นการเอาใจนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน[11]

ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561[12] นาย นิพัฒน์ กลัดนาค อายุ 37 ปี[13] นักประดาน้ำของ บริษัท สปิท เทค จำกัด ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ภายหลังปฏิบัติหน้าที่กู้เรือจนได้รับบาดเจ็บเข้าโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อมวลชนของประเทศไทยได้เสนอข่าวอุบัติเหตุทางน้ำที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุเรือชนกัน เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีผู้เสียชีวิต 119 ราย โดยเป็นเหตุเรือบรรทุกน้ำมัน กัปตันเรือ ปรีชา เพชรชู ขับเรือชนเรือโดยสาร 2 ชั้น ชื่อเรือ นาวาประทีป 111 กัปตันเรือ ประยูร ย๊ะกบ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยผลการสอบสวนระบุว่า นาย ประยูร ย๊ะกบ เร่งความเร็วเรือโดยหวังว่าจะพ้น ทำให้เรือนาวาประทีป 111 ได้จมลง รวมถึงข่าวเรือบรรทุกสินค้าชนเรือประมง ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561[14] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายซึ่งเป็นอุบัติเหตุเรือชนกันครั้งร้ายแรงรองลงมาของประเทศไทย

เหตุเรือล่มที่มีผู้เสียชีวิตรองลงมาได้แก่ เหตุเรือล่มที่เขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 39 ราย[15] และเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559 มีผู้เสียชีวิต 28 ราย[16] และเหตุเรือขนส่งแรงงานต่างด้าวล่ม เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดระนอง[17] มีผู้เสียชีวิต 22 ราย[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. hermesauto (12 July 2018). "Thailand suspends salvage effort in Phuket tourist boat disaster that killed 46". สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
  2. "Prawit blames tour operators for boat disaster, 5 still missing". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
  3. เหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
  4. เรือล่มภูเก็ต: โศกนาฏกรรมทางน้ำที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  5. "Thai tourist boat death toll rises". BBC News. 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  6. 6.0 6.1 Chan, Angie (6 July 2018). "Tourist Boats Capsize Off Thai Resort Island, Leaving at Least 33 Dead". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  7. Walsh, Carly (6 July 2018). "Tourist Boats Capsize Off Thai Resort Island, Leaving at Least 33 Dead". CNN. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  8. โซเซียลจีนรุมถล่ม'บิ๊กป้อม'เละ!
  9. 'ประวิตร' ขอโทษ หากพูดทำคนจีน ไม่พอใจ
  10. เรือล่มภูเก็ต: 2 เดือนหลังเหตุร้าย จีนยังเมิน วันเดียวยกเลิก 20 เที่ยวบิน เตือนเลี่ยงอันดามัน ช่วง "โกลเดนวีค"
  11. ตม.จับมือตร.ท่องเที่ยวนำร่องเปิดช่องทางพิเศษ 5 สนามบินหลักรับนักท่องเที่ยวจีน
  12. โกลเดนวีค: วันหยุด “สัปดาห์ทอง” ทัวร์จีนลดท่องเที่ยวภูเก็ต
  13. ตายสังเวย'เรือฟินิกซ์'เพิ่มอีกหลังนักดำน้ำพยายามกู้เรือ
  14. เรือชนสนั่นดับ4ศพ-สยองทะเลสัตหีบ ขนสินค้า เสยตังเก ทัพเรือสั่ง "ฮ."กู้ชีวิต! ช่วยรอด4
  15. วันนี้ในอดีต 39 ศพ !! เรือล่มกลางเขื่อน
  16. ครบ28ศพ เหยื่อล่ม-กู้เรือได้แล้ว สรุปยอดได้รับบาดเจ็บ51 คมนาคมสั่งติดระบบชี้พิกัด คนขับโดนเพิ่ม
  17. เกลื่อนทะเล-22ศพ เรือขนพม่า ล่ม-แรงงานดับอนาถ
  18. รายงาน : 54 ความตายในตู้คอนเทนเนอร์ และอีกมากความตายที่ชายขอบ