เทศบาลเมืองมาบตาพุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองมาบตาพุด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Map Ta Phut
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองมาบตาพุด
ตรา
คำขวัญ: 
มาบตาพุดเมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม นำเทคโนโลยี ประเพณีวันไหล ใส่ใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
ทม.มาบตาพุดตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
ทม.มาบตาพุด
ทม.มาบตาพุด
ที่ตั้งเทศบาลเมืองมาบตาพุด
พิกัด: 12°43′30.1836″N 101°07′35.2344″E / 12.725051000°N 101.126454000°E / 12.725051000; 101.126454000พิกัดภูมิศาสตร์: 12°43′30.1836″N 101°07′35.2344″E / 12.725051000°N 101.126454000°E / 12.725051000; 101.126454000
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
อำเภอเมืองระยอง นิคมพัฒนา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีถวิล โพธิบัวทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด165.565 ตร.กม. (63.925 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด68,410 คน
 • ความหนาแน่น413.19 คน/ตร.กม. (1,070.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04210103
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 9 ถนนเมืองใหม่มาบตาพุดสาย 7 ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
เว็บไซต์www.mtptown.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มาบตาพุด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองระยอง และบางส่วนของอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง โดยห่างจากตัวเมืองระยองประมาณ 8 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนสุขุมวิทเป็นระยะทาง 204 กิโลเมตร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดระยอง เขตเทศบาลมีพื้นที่ 165.565 ตารางกิโลเมตร[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 68,410[1][3] คน เมืองมาบตาพุด มีสถานะที่คล้ายกับเมืองแหลมฉบัง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับโครงการพัฒนาชายฝั่งภาคตะวันออกและยังเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศอีกด้วย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรม 257 แห่ง[4]

เทศบาลเมืองมาบตาพุด เดิมคือสุขาภิบาลมาบตาพุด ซึ่งยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลมาบตาพุด[5] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง และอำเภอนิคมพัฒนา จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อปี พ.ศ. 2534 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ในปี พ.ศ. 2544[6]

สถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute) ระบุว่ามาบตาพุดเป็น "...หนึ่งในจุดร้อนอันเป็นมลพิษมากที่สุดในประเทศไทย มีประวัติด้านมลพิษทางอากาศและน้ำ มีอุบัติเหตุด้านอุตสาหกรรม การทิ้งขยะอันตรายอย่างผิดกฎหมาย และมีมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มะเร็งและความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด"[7]:20

ชุมชน[แก้]

เทศบาลเมืองมาบตาพุด มีประชากรทั้งหมด 68,410 คน (สำรวจเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561)[1] แบ่งเป็นอำเภอเมืองระยอง 66,068 คน และอำเภอนิคมพัฒนา 2,342 คน เมืองมาบตาพุดแบ่งออกเป็นชุมชนจำนวน 38 ชุมชน ได้แก่[3]

  1. ชุมชนวัดมาบตาพุด
  2. ชุมชนบ้านบน
  3. ชุมชนมาบยา
  4. ชุมชนบ้านพลง
  5. ชุมชนบ้านล่าง
  6. ชุมชนมาบข่า-สำนักอ้ายงอน
  7. ชุมชนมาบข่า-มาบใน
  8. ชุมชนตลาดมาบตาพุด
  9. ชุมชนเนินพยอม
  10. ชุมชนอิสลาม
  11. ชุมชนกรอกยายชา
  12. ชุมชนหนองแตงเม
  13. ชุมชนเกาะกก
  14. ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่
  15. ชุมชนโขดหิน
  16. ชุมชนเขาไผ่
  17. ชุมชนคลองน้ำหู
  18. ชุมชนซอยร่วมพัฒนา
  19. ชุมชนซอยประปา
  20. ชุมชนหนองบัวแดง
  21. ชุมชนหนองน้ำเย็น
  22. ชุมชนวัดโสภณ
  23. ชุมชนหนองแฟบ
  24. ชุมชนสำนักกะบาก
  25. ชุมชนห้วยโป่งใน 1
  26. ชุมชนห้วยโป่งใน 2
  27. ชุมชนห้วยโป่งใน-สะพานน้ำท่วม
  28. ชุมชนชากลูกหญ้า
  29. ชุมชนตลาดห้วยโป่ง
  30. ชุมชนมาบชลูด
  31. ชุมชนซอยคีรี
  32. ชุมชนหนองหวายโสม
  33. ชุมชนเจริญพัฒนา
  34. ชุมชนโขดหิน 2
  35. ชุมชนชากลูกหญ้าฝั่งตะวันออก
  36. ชุมชนหัวน้ำตกพัฒนา
  37. ชุมชนมาบชลูด-ชากกลาง
  38. ชุมชนวัดห้วยโป่ง

ปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลเมืองมาบตาพุด[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองมาบตาพุด". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สภาพทั่วไป". เทศบาลเมืองมาบตาพุด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "ข้อมูลประชากร". เทศบาลเมืองมาบตาพุด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เทศบาลเมืองมาบตาพุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-20. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง และอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองมาบตาพุด พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  7. Excell, Carole; Moses, Elizabeth (2017). Thirsting for Justice; Transparency and Poor People's Struggle for Clean Water in Indonesia, Mongolia, and Thailand (PDF). Washington DC: World Resources Institute. ISBN 978-1-56973-921-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.
  8. "โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]