อำเภอคีรีรัฐนิคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอคีรีรัฐนิคม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khiri Rat Nikhom
วัดถ้ำสิงขร
วัดถ้ำสิงขร
คำขวัญ: 
เมืองเก่า เขาราหู สายน้ำคู่พุมดวง-คลองยัน
โบราณสถานสำคัญถ้ำสิงขร มีบ่อน้ำร้อนคลองน้ำใส
บารมียิ่งใหญ่หลวงพ่อเชื่อม
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอคีรีรัฐนิคม
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอคีรีรัฐนิคม
พิกัด: 9°1′48″N 98°57′12″E / 9.03000°N 98.95333°E / 9.03000; 98.95333
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด812.3 ตร.กม. (313.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด44,282 คน
 • ความหนาแน่น54.51 คน/ตร.กม. (141.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84180
รหัสภูมิศาสตร์8408
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคีรีรัฐนิคม หมู่ที่ 1 ถนนขุนคีรี ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คีรีรัฐนิคม [คี-รี-รัด-นิ-คม][1] เป็นอำเภอในการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดถ้ำสิงขร ตำบลถ้ำสิงขร
ตำบลย่านยาว

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอคีรีรัฐนิคมตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

จากหลักฐานด้านโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า ในท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคมปัจจุบันเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคหินใหม่เป็นต้นมา ดังที่มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคดังกล่าวที่คีรีรัฐนิคมด้วย เนื่องจากคีรีรัฐนิคมตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 60-70 กิโลเมตร อยู่ในเส้นทางคาบสมุทรจากเมืองไชยาไปเมืองตะกั่วป่า และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ดีบุก ไม้ และของป่า ทำให้คีรีรัฐนิคมมีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ด้วยปัจจัยสองประการ คือ ประการแรก เกิดจากการตั้งด่านสำหรับขนถ่ายสินค้าและคนโดยสารข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันตก ประการที่สอง เกิดจากการเป็นแหล่งผลิตดีบุก ไม้ และของป่า จึงมีราษฎรอพยพโยกย้ายเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมา ในพุทธศตวรรษที่ 13 อำเภอคีรีรัฐนิคมรวมอยู่ในอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ดินแดนแห่งศรีวิชัยได้แยกออกเป็น 3 เมือง คือ

  • เมืองไชยา ตั้งอยู่ในอำเภอไชยาปัจจุบัน
  • เมืองท่าทอง ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าทองอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน
  • เมืองคีรีรัฐนิคม ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายคลองพุมดวง อันเป็นที่ตั้งอำเภอคีรีรัฐนิคมในปัจจุบัน

เมืองไชยานั้นขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ส่วนเมืองท่าทองกับเมืองคีรีรัฐนิคมขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน

ร.ศ.107 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเขตการปกครองทั่วราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล โปรดให้รวมเมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐ์ และเมืองคีรีรัฐนิคมเข้าเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า "เมืองไชยา" ตั้งศาลากลางที่บ้านดอน รวมเมืองไชยา เมืองชุมพร และเมืองหลังสวนขึ้นเป็นมณฑลหนึ่งเรียกว่า "มณฑลชุมพร" ตั้งศาลามณฑลอยู่ที่เมืองชุมพร ต่อมาได้ย้ายศาลามณฑลมาตั้งที่บ้านดอน บริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยา ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นอำเภอ เอาชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์ให้เป็นชื่ออำเภอเรียกว่า "อำเภอกาญจนดิษฐ์" ลดฐานะเมืองไชยาเดิมเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอไชยา" และลดฐานะเมืองคีรีรัฐนิคมเป็น อำเภอคีรีรัฐนิคม

จนถึง พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมณฑลปักษ์ใต้ ประทับแรมที่ตำหนักสวนสราญรมย์ควนท่าข้าม อำเภอพุนพิน ทอดพระเนตรเห็นประชาชนพลเมืองมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ประกอบกับได้ทรงทราบจากผู้ปกครองบ้านเมืองว่าประชาชนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เคารพหนักแน่นในพระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยาเป็น "เมืองสุราษฎร์ธานี" อันแปลว่า "เมืองคนดี" เปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็น "มณฑลสุราษฎร์" และเปลี่ยนชื่ออำเภอคีรีรัฐนิคมเป็น อำเภอท่าขนอน เพื่อให้ตรงกับตำบลที่ตั้งอำเภอซึ่งเป็นด่านเก็บภาษี ด่านนี้เก็บภาษีจากสินค้าซึ่งเข้ามาทางจังหวัดพังงา ตะกั่วป่า และภูเก็ต ผ่านมาทางภูเขาแล้วล่องมาตามลำน้ำคลองพุมดวงเข้าไปยังอำเภอต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเลหรือริมทางรถไฟ ชื่อของอำเภอจึงใช้ "ท่าขนอน" ตั้งแต่นั้นมา

ในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลสุราษฎร์และให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดอื่น ๆ ที่เคยขึ้นกับมณฑลสุราษฎร์ไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาราชการได้ยุบมณฑลทั่วราชอาณาจักร จังหวัดสุราษฎร์ธานีนี้ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย อำเภอคีรีรัฐนิคมจึงขึ้นต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2453 ยุบอำเภอพนม แขวงเมืองไชยา ลงเป็น กิ่งอำเภอพนม ขึ้นกับอำเภอคีรีรัฐนิคม[2]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 โอนพื้นที่หมู่ 5,6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขาวง กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน ไปขึ้นกับตำบลต้นยวน กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน และโอนพื้นที่ตำบลเขาวง กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน มาขึ้นกับอำเภอท่าขนอน ดังเดิม และโอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลพะแสง อำเภอท่าขนอน ไปขึ้นกับตำบลพนม กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน[3]
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลเขาวง แยกออกจากตำบลพรุไทย ตำบลพะแสง และตำบลย่านยาว[4]
  • วันที่ 28 ตุลาคม 2490 ตั้งตำบลบ้านยาง แยกออกจากตำบลท่าขนอน และตำบลท่ากระดาน ตั้งตำบลตะกุกซ้าย แยกออกจากตำบลน้ำหัก และตำบลตะกุก[5]
  • วันที่ 4 มกราคม 2492 ยุบตำบลตะกุก ตำบลตะกุกซ้าย อำเภอคีรีรัฐนิคม และตั้งตำบลตะกุกเหนือ และตำบลตะกุกใต้ ขึ้นใหม่ (1,2,3)[6] โดย
    • (1) ตั้งตำบลตะกุกเหนือ โดยกำหนดให้ หมู่ 6 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 1, หมู่ 7 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 2, หมู่ 10 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 3, หมู่ 2 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 4, หมู่ 5 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 5 และหมู่ 5 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 6
    • (2) ตั้งตำบลตะกุกใต้ โดยกำหนดให้ หมู่ 9 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 1, หมู่ 1 ตำบลตะกุก (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 2, หมู่ 2 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 3, หมู่ 8 ตำบลน้ำหัก ตั้งเป็นหมู่ที่ 4, หมู่ 3 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 5 และหมู่ 4 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ตั้งเป็นหมู่ที่ 6
    • (3) โอนหมู่ที่ 1 ตำบลตะกุกซ้าย (ที่ถูกยุบ) ไปขึ้นกับตำบลน้ำหัก
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าขนอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าขนอน[7]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพนม ในท้องที่บางส่วนของตำบลพนม[8]
  • วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น อำเภอคีรีรัฐนิคม[9]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพนม อำเภอคีรีรัฐนิคม เป็น อำเภอพนม[10]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2516 แยกพื้นที่ตำบลเขาวง ตำบลไกรสร ตำบลเขาพัง ตำบลพะแสง ตำบลพรุไทย อำเภอคีรีรัฐนิคม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านตาขุน ขึ้นกับอำเภอคีรีรัฐนิคม[11]
  • วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม เป็น อำเภอบ้านตาขุน[12]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2524 ตั้งตำบลบ้านทำเนียบ แยกออกจากตำบลย่านยาว[13]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 แยกพื้นที่ตำบลตะกุกใต้ และตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวิภาวดี ขึ้นกับอำเภอคีรีรัฐนิคม[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าขนอน เป็นเทศบาลตำบลท่าขนอน
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวิภาวดี อำเภอคีรีรัฐนิคม เป็น อำเภอวิภาวดี[15]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอคีรีรัฐนิคมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าขนอน (Tha Khanon) 15 หมู่บ้าน
2. บ้านยาง (Ban Yang) 11 หมู่บ้าน
3. น้ำหัก (Nam Hak) 11 หมู่บ้าน
6. กะเปา (Kapao) 10 หมู่บ้าน
7. ท่ากระดาน (Tha Kradan) 9 หมู่บ้าน
8. ย่านยาว (Yan Yao) 10 หมู่บ้าน
9. ถ้ำสิงขร (Tham Singkhon) 10 หมู่บ้าน
10. บ้านทำเนียบ (Ban Thamniap) 9 หมู่บ้าน
แผนที่
แผนที่

หมายเลข 4-5 ปัจจุบันเป็นตำบลในอำเภอวิภาวดี

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. [1] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอพนมแขวงเมืองไชยา ลงเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นอยู่ในอำเภอคิรีรัฐนิคม
  3. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล กิ่งอำเภอ และอำเภอ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  4. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  5. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลใหม่ (ตำบลเคียนซา อำเภอบ้านาสาร ตำบลบ้านยาง และตำบลตะกุกท้าย อำเภอท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
  6. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้ง, ยุบ, เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  7. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าขนอน อำเภอท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  8. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพนม กิ่งอำเภอพนม อำเภอท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. [8] เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔
  10. [9] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔
  11. [10] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านตาขุน
  12. [11] เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙
  13. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  14. [13] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวิภาวดี
  15. [14] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]