เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562
Miniso Siamsquare Site of 2019 Bombing in WeBareBears Doll.jpg
ร่องรอยการระเบิดบนพื้นของร้านมินิโซ ภายในสยามสแควร์
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
สยามสแควร์
สยามสแควร์
ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร
สถานีช่องนนทรี
สถานีช่องนนทรี
กองบัญชาการกองทัพไทย
กองบัญชาการกองทัพไทย
ซอยพระราม 9 แยก 57/1
ซอยพระราม 9 แยก 57/1
ตำแหน่งของระเบิด
สถานที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วันที่2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (เวลาสากลเชิงพิกัด+07:00)
ประเภทการวางระเบิด
เจ็บ7 คน[1]
ผู้ก่อเหตุผู้แบ่งแยกดินแดนมุสลิม (ที่ถูกสงสัย)[2][3]

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ระเบิดขนาดเล็กจำนวนมากได้จุดชนวนระเบิดกว่าห้าแห่งทั่วทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[4] สถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ สถานีช่องนนทรี ใกล้กับคิง เพาเวอร์ มหานคร, ย่านพระราม 9, ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร, กองบัญชาการกองทัพไทย และภายในร้านมินิโซสยามสแควร์[5][6] การระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเจ็ดคน[1]

การสอบสวนเบื้องต้นโดยตำรวจไทยได้รายงานว่าผู้ต้องสงสัยที่ก่อความไม่สงบมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเดียวกันที่ได้ทำการโจมตีแบบเดียวกันใน พ.ศ. 2559[5] เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นใกล้กับช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จัดขึ้นในตัวเมือง[4]

การโจมตี[แก้]

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 04:45 น. ตามเวลากรุงเทพ (เวลาสากลเชิงพิกัด+7.00) ได้เกิดเหตุระเบิดเล็กน้อยที่ที่มินิโซสาขาหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าสาธารณูปโภค ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ เขตปทุมวัน ซึ่งระเบิดถูกยัดไว้ในตุ๊กตาจากการ์ตูนซีรีส์ 3 หมีจอมป่วน ส่งผลให้ชั้นวางและสินค้าในร้านพังเสียหาย ซึ่งไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเนื่องจากร้านยังไม่เปิด กล้องรักษาความปลอดภัยเปิดเผยในภายหลังว่าระเบิดถูกวางโดยชายสวมหน้ากากที่สวมแว่นกันแดดเมื่อวันก่อน โดยร้านยังคงปิดเป็นเวลาสองวันเพื่อซ่อมบำรุงชั้นวางที่เสียหาย[7]

เมื่อเวลา 07:00 น. มีการแจ้งเหตุระเบิดสี่ลูกที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครที่สถานีตำรวจท้องที่ ระเบิดสองลูกแรกได้จุดชนวนที่หน้าทางเข้าศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ตามด้วยระเบิดลูกที่สาม ซึ่งได้ระเบิดที่หน้ากองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนระเบิดลูกที่สี่ถูกปลดชนวนโดยเจ้าหน้าที่อีโอดีที่อาคารบี ของศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร[8][9][10] และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ[10]

เมื่อเวลา 08:00 น. ได้มีการจุดชนวนระเบิด 2 ลูกที่หน้าสถานีช่องนนทรี และบริเวณทางเข้าคิง เพาเวอร์ มหานคร ซึ่งตามมาด้วยมีรายงานว่าพบวัตถุต้องสงสัยที่อยู่ด้านหน้าทางเข้ารถไฟฟ้าบีทีเอส ตำรวจท้องที่ได้ทำลายวัตถุระเบิดต้องสงสัยด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[8][11] โดยมีรายงานผู้บาดเจ็บ 2 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต[1]

เมื่อเวลา 8:50 น. ระเบิดลูกที่เจ็ดได้จุดชนวนในย่านพระรามเก้า แยก 57/1 ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 รายและบาดเจ็บสาหัส 2 ราย[9] รวมถึงมีการรายงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ระเบิดต้องสงสัยที่เป็นเท็จหลายครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ 3 ครั้งแรก[1]

ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนไม่ได้มีการหยุดชะงัก[12]

การสอบสวน[แก้]

การสอบสวนเบื้องต้นรายงานโดยสำนักข่าวกรองแห่งชาติซึ่งรายงานว่าการโจมตีครั้งนี้อาจเชื่อมโยงกับการขยายปฏิบัติการโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้แถลงว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มเดียวกันที่ก่อเหตุโจมตีลักษณะเดียวกันในเจ็ดอำเภอภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2559[5]

วัตถุระเบิดที่ตำรวจไทยรายงานเชื่อว่าเป็นระเบิดแบบทำที่บ้านซึ่งมีขนาดเท่าลูกเทนนิส[4] แม้ว่าจะยังไม่ทราบแรงจูงใจของการโจมตีครั้งนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการโจมตีภาพลักษณ์ของประเทศในขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ซึ่งผู้นำทางการเมืองจากแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในขณะที่ยังมีตัวแทนของประเทศอื่น ๆ เช่น รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักร, รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ และนักการทูตของจีน[4][13]

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งการให้กองบังคับการปราบปราม (CSD) ตรวจสอบการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา[14] ซึ่งกองบังคับการปราบปรามได้ทำงานร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด (OAG) อย่างใกล้ชิด เพื่อรวบรวมข่าวกรองและหลักฐานเกี่ยวกับการโจมตี รวมถึงมีรายงานว่าได้มีการวางแผนโจมตีดังกล่าวใกล้ชายแดนไทย–มาเลเซีย[14]

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ตำรวจไทยได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเหตุโจมตี การโจมตีนี้จัดทำโดยกลุ่มคน 15 คน ซึ่งพยานหลักฐานได้มาจากการสอบถามผู้ต้องสงสัย 2 คนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[15] ขณะที่มีการสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบสถานที่ระเบิดและได้รวบรวมหลักฐานกล้องวงจรปิด รวมถึงตัวอย่างลายนิ้วมือและดีเอ็นเอจากสถานที่ดังกล่าว สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจได้ตรวจสอบตัวอย่างและได้ขีดฆ่าประวัติอาชญากร เพื่อจำกัดการค้นหาผู้ต้องสงสัยอีก 13 คนให้แคบลง[15]

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ตำรวจไทย ซึ่งนำโดยศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้ออกหมายจับผู้ต้องสงสัยจำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าผู้ต้องสงสัยบางคนอาจมีประวัติอาชญากรรม[16] ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 2 คนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ได้รับโทษจำคุกชั่วคราวตามคำสั่งศาล[16]

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่กองปราบปราม มีผู้ต้องสงสัยอีก 2 คนที่ถูกจับกุมจากจังหวัดนราธิวาส โดยผู้ต้องสงสัย 2 คนได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา[17][18] ซึ่งผู้ต้องสงสัย 2 รายนี้ถูกกล่าวหาว่าส่งมอบอุปกรณ์ระเบิดให้กับมือระเบิดตามจุดต่าง ๆ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[17] และเจ้าหน้าที่ตำรวจนิติวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ รวมถึงลายนิ้วมือเพื่อตรวจเทียบกับตัวอย่างที่รวบรวมจากจุดเกิดเหตุ[17]

ภายในวันที่ 4 กันยายน ศาลอาญาได้ออกหมายจับทั้งหมด 14 หมาย และได้จับกุมผู้ต้องสงสัยทั้งหมด 3 ราย[17]

ปฏิกิริยา[แก้]

ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการทหาร ได้ตอบโต้การโจมตีครั้งนี้ด้วยการประณามผู้ที่วางแผนโจมตีและทำลายความสงบเรียบร้อยของประเทศ ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้บอกกับนักข่าวว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เตรียมสร้างสถานการณ์ให้รัฐบาลอับอายในขณะที่ตัวเมืองเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน[19]

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จักรทิพย์ ชัยจินดา เชื่อเช่นกันว่าเหตุจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากประเทศไทยได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกในเดือนมีนาคมนับตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[19][20][21] อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านของรัฐบาลหลายคนเชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลเอง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชนต่อภาพลักษณ์สาธารณะที่ย่ำแย่ของรัฐบาลในปัจจุบัน[22]

การจับกุม, การคุมขัง และการดำเนินคดีอื่น ๆ[แก้]

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ผู้ต้องสงสัยสองคนถูกจับกุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และถูกส่งตัวไปคุมขังชั่วคราว[9] ส่วนผู้ต้องสงสัยอีก 2 คนที่ช่วยประสานการโจมตีถูกจับกุมในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กันยายน[18][17]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "นายกฯ สั่งสอบสวนเหตุคล้ายระเบิดหลายจุดใน กทม" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  2. ข้อสังเกตทางกฎหมายต่อกรณีการจับกุมควบคุมตัว 2 ผู้ต้องสงสัย ลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
  3. ระเบิด กทม. : รัฐบาลระบุควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยแล้ว 9 คน ผู้ก่อเหตุมาจากชายแดนใต้
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Ellis-Petersen, Hannah (2019-08-02). "Small bombs explode in Bangkok during Asean summit". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
  5. 5.0 5.1 5.2 Limited, Bangkok Post Public Company. "Bangkok rocked by bomb blitz". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  6. Thaiger, The (2019-08-03). "[อัปเดต] สรุปเหตุการณ์ระเบิดกรุงเทพ รายงานผู้บาดเจ็บ". The Thaiger. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  7. เผยภาพหนุ่มต้องสงสัย ซุกระเบิดใส่ตุ๊กตาในห้างดัง
  8. 8.0 8.1 "EOD กู้แล้ว! ระเบิดลูกที่ 4 หน้า 'กองทัพไทย' ยังปิดการจราจรเข้าศูนย์ราชการฯ". naewna.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  9. 9.0 9.1 9.2 "ลำดับเหตุการณ์ระเบิดกรุงเทพฯ 1-2 ส.ค. 2562 ศูนย์เอราวัณสรุปบาดเจ็บ 4 คน | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  10. 10.0 10.1 "ป่วนกรุงระเบิดหลายจุดศูนย์ราชการ - บีทีเอส". komchadluek.net. 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  11. matichon (2019-08-02). "บึ้ม BTS ช่องนนทรี-ตึกมหานคร หลังระเบิด 'บอลแบริ่ง'กระจายเกลื่อน เจ็บ2-วินหูอื้อ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  12. Ellis-Petersen, Hannah (2019-08-02). "Small bombs explode in Bangkok during Asean summit". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-08-03.
  13. "Bombs hit Bangkok during major security meeting". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  14. 14.0 14.1 Limited, Bangkok Post Public Company. "CSD ordered to take lead in capital bomb blitz investigation". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  15. 15.0 15.1 matichon (2019-08-05). "ชง'บิ๊กตู่'แถลงคดี'ระเบิดป่วนเมือง'พรุ่งนี้ ทีมสอบสวนรู้ '15 มือ'บึ้ม!พักหน้ารามฯ-ธัญบุรี". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-21.
  16. 16.0 16.1 ""ศรีวราห์" ตรวจสำนวนคดีบึ้มป่วนกรุง ปัดตอบคุม 18 ผู้ต้องสงสัย". Thai PBS. 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 "ตำรวจจับผู้ต้องหาร่วมก่อเหตุวางระเบิดในกทม". Thai PBS. 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  18. 18.0 18.1 Limited, Bangkok Post Public Company. "Police reveal little about bombing motivation". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  19. 19.0 19.1 "Bangkok hit by six bomb blasts at different locations". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  20. "Thai Police Suspect Southern Insurgents in Bangkok Bombings". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  21. "Bangkok bombings may be linked to politics: police". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
  22. matichon (2019-08-04). "รายงาน : วิพากษ์ระเบิดกทม.ปี'62 หน้าเดิม-โยงการเมือง?". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.