ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอจะแนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอจะแนะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chanae
คำขวัญ: 
ดินแดนรอยเท้าหลวงพ่อเพชร เจ็ดสายน้ำตกสวย
เมืองรวยผลไม้ ไอร์บือแตล่องแก่ง
แหล่งบอนหลากสี คู่บารมีช้างเผือก
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอจะแนะ
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอจะแนะ
พิกัด: 6°5′54″N 101°41′36″E / 6.09833°N 101.69333°E / 6.09833; 101.69333
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด607.2 ตร.กม. (234.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด39,517 คน
 • ความหนาแน่น65.08 คน/ตร.กม. (168.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96220
รหัสภูมิศาสตร์9612
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอจะแนะ เลขที่ 156
หมู่ที่ 3 ถนนจะแนะ-ดุซงญอ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส 96220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จะแนะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอจะแนะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอจะแนะเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอจะแนะ[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2526 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอแห่งนี้ขึ้นเป็น อำเภอจะแนะ[2] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ปีเดียวกัน

  • วันที่ 7 ตุลาคม 2518 ตั้งตำบลดุซงญอ แยกออกจากตำบลจะแนะ[3]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์ดุซงญอ ท้องที่อำเภอระแงะ[4]
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2526 แยกพื้นที่ตำบลจะแนะ และตำบลดุซงญอ จากอำเภอระแงะ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอจะแนะ[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอระแงะ
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลผดุงมาตร แยกออกจากตำบลดุซงญอ[5]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ เป็น อำเภอจะแนะ[2]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลช้างเผือก แยกออกจากตำบลจะแนะ[6]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 แยกหมู่บ้านมะนังกาแยง หมู่ที่ 3 ตำบลจะแนะ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านละหาร[7] โดยกำหนดให้เป็นหมู่ที่ 11 ของตำบลจะแนะ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอจะแนะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่

1. จะแนะ (Chanae) 11 หมู่บ้าน
2. ดุซงญอ (Dusong Yo) 8 หมู่บ้าน
3. ผดุงมาตร (Phadung Mat) 6 หมู่บ้าน
4. ช้างเผือก (Chang Phueak) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอจะแนะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะแนะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะแนะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดุซงญอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผดุงมาตรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างเผือกทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งเป็นกิ่งอำเภอจะแนะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (114 ง): 2233. July 12, 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-23. March 25, 1979. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2482–2484. October 7, 1975.
  4. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขดุซงญอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (146 ง): 4096. October 12, 1982.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (118 ง): 4225–4229. June 23, 1987.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 58-64. August 31, 1988.
  7. "ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (87 ง): 105–108. November 14, 2019.