ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกรัฐมนตรีไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิง
นายก
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''นายกรัฐมนตรีไทย''' เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
|post = นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
|insignia = Seal of the Office of the Prime Minister of Thailand.svg
|insigniasize =
|insigniacaption = ตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย
|flag = Flag of the Prime Minister of Thailand.svg
|flagsize =
|flagborder = yes
|flagcaption = ธงประจำตำแหน่ง
| image = General Prayut Chan-o-cha (cropped).jpg
| imagesize =
| incumbent = [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
| incumbentsince = 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (วาระที่ 2)
| style = ท่านนายกรัฐมนตรี<br><small>(ไม่เป็นทางการ)</small><br>ฯพณฯ<br><small>(ทางการ)</small><br>ท่านผู้นำ<br><small>(การทูตระหว่างประเทศ)
| residence = [[บ้านพิษณุโลก]]
| appointer = [[พระมหากษัตริย์ไทย]]
| termlength = รวมกันไม่เกิน 8 ปี<br>และไม่เกิน 2 วาระ
| formation = {{วันเกิดและอายุ|2475|6|28}}
| succession =
| salary = 125,590 บาท<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/001/1.PDF พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘/บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการการเมือง], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/022/7.PDF พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔/บัญชีอัตราตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการการเมือง], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref>
| inaugural = [[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)|พระยามโนปกรณนิติธาดา]]
| website = [http://www.thaigov.go.th/th/primeminster.html thaigov.go.th]
}}
{{การเมืองไทย}}
'''นายกรัฐมนตรีไทย''' เป็นประธานแห่ง[[คณะรัฐมนตรีไทย]] และทำหน้าที่[[หัวหน้ารัฐบาล]]ของ[[ประเทศไทย]] โดยมีจุดกำเนิดมาจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]และ[[ประชาธิปไตย]][[ระบบรัฐสภา]]


โดยปกติแล้ว[[นายกรัฐมนตรี]]ในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจาก[[สภาผู้แทนราษฎรไทย]] ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]] กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของ[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] ซึ่งผล[[การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562|การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี]]ปรากฏว่า พลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งมาแล้ว 1 สมัย
โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งมาแล้ว 1 สมัย


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:38, 31 สิงหาคม 2562

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งมาแล้ว 1 สมัย

ประวัติ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[1] และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"[2] โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย

การดำรงตำแหน่ง

รัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติที่มาของนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่านายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร และมีบทเฉพาะกาลให้วุฒิสภามีชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (วาระปี 2562–67) ส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

ตำแหน่ง ชื่อ พรรคการเมือง ได้รับเลือกโดย วันที่ได้รับเลือก เริ่มดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งที่สอง
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา อิสระ[a] สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 5 มิถุนายน 2562 9 มิถุนายน 2562[3] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

การปฏิบัติหน้าที่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"[4]

นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย

การรักษาราชการแทน

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[5]

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงตามลำดับรองนายกรัฐมนตรีดังนี้[6][7])

ตำแหน่ง รายชื่อ พรรคการเมือง เริ่มดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งที่สอง
รองนายกรัฐมนตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ อิสระ 10 กรกฎาคม 2562
-
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อิสระ
-
วิษณุ เครืองาม อิสระ
-
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ พรรคประชาธิปัตย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
อนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ปัจจุบันมีอดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ 10 คน ได้แก่

เชิงอรรถ

  1. ไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคพลังประชารัฐ แต่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคให้เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะเลือกตั้ง

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  3. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี , สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2562
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2562
  5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  6. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 161/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีฯ, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2562
  7. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2562

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น