ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
|[[ไฟล์:หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์.JPG|80px]]|| 6. '''[[หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์|หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์]]''' || ที่ 3 ในหม่อมลมุล || 11 ธันวาคม 2441 - 15 กรกฎาคม 2507 || (1) หม่อมเจริญ (เศวตะทัต) <br /> (2) หม่อมโฉมฉาย (เสมรบุณย์)<ref>อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพหม่อมโฉมฉาย สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา https://archive.org/details/2425170000unse/page/n5</ref> || (1) หม่อมราชวงศ์หญิงสนองศรี สวัสดิวัตน์ <br /> (1) หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ <br /> (1) หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์
|[[ไฟล์:หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์.JPG|80px]]|| 6. '''[[หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์|หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์]]''' || ที่ 3 ในหม่อมลมุล || 11 ธันวาคม 2441 - 15 กรกฎาคม 2507 || (1) หม่อมเจริญ (เศวตะทัต) <br /> (2) หม่อมโฉมฉาย (เสมรบุณย์)<ref>อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพหม่อมโฉมฉาย สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา https://archive.org/details/2425170000unse/page/n5</ref> || (1) หม่อมราชวงศ์หญิงสนองศรี สวัสดิวัตน์ <br /> (1) หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ <br /> (1) หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์
|-
|-
|[[ไฟล์:หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์_สวัสดิวัตน์.jpg|80px]]|| 7. '''[[หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์|หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์]]''' || หม่อมหุ่น || 5 เมษายน 2442 - 26 ธันวาคม 2531 || หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี (โศภางค์) || หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์<br />หม่อมราชวงศ์หญิงโพยมศรี สุขุม<br />หม่อมราชวงศ์หญิงนภาศรี บุรณศิริ<br />ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรรณจินดา<br />หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลโพยม อนิรุทธเทวา<br />หม่อมราชวงศ์หญิงปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
|[[ไฟล์:หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์_สวัสดิวัตน์.jpg|80px]]|| 7. '''[[หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์|หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์]]''' (ท่านชายเล็ก) || หม่อมหุ่น || 5 เมษายน 2442 - 26 ธันวาคม 2531 || หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี (โศภางค์) || หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์<br />หม่อมราชวงศ์หญิงโพยมศรี สุขุม<br />หม่อมราชวงศ์หญิงนภาศรี บุรณศิริ<br />ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรรณจินดา<br />หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลโพยม อนิรุทธเทวา<br />หม่อมราชวงศ์หญิงปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
|-
|-
|[[ไฟล์:Emblem_of_the_House_of_Chakri.svg|60px]]|| 8. '''หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์''' || ที่ 4 ในหม่อมลมุล|| 5 เมษายน 2443 - 31 มีนาคม 2482 || หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ ||
|[[ไฟล์:Emblem_of_the_House_of_Chakri.svg|60px]]|| 8. '''หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์''' || ที่ 4 ในหม่อมลมุล|| 5 เมษายน 2443 - 31 มีนาคม 2482 || หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ ||

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:34, 3 กันยายน 2562

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2435 - 2437
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
ประสูติ22 ธันวาคม พ.ศ. 2408
สิ้นพระชนม์10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (69 ปี)
ภรรยาหม่อมพระราชทาน
หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม สวัสดิวัตน์
พระชายา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี
หม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย สวัสดิวัตน์
หม่อม
หม่อมลมุล สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมสุดใจ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมลัภ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมพงษ์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
พระบุตร48 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาในระหว่าง พ.ศ. 2455-2461 ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์[1]

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคาถาพระราชทานพระนามเป็นภาษามคธ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ได้แปลไว้ว่า[2]

"กุมารน้อยของเรานี้ จงมีชื่อว่า สวัสดิโสภณ ขอบุตรของเราผู้เกิดแต่เปี่ยมผู้มารดา จงบรรลุความเจริญฯ ขอบุตรนี้จงมีอายุยืน ไม่มีอุปัทวทุกข มั่งคั่ง มีโภคสมบัติ มีทรัพย์มาก มีความสุข เป็นเสรีภาพ มีอำนาจโดยลำพังตัว ขอพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์นี้ และเทพเจ้าเป็นต้นผู้รักษารัฐมณฑล จงอภิบาลกุมารน้อยของเรานั้น ในกาลทุกเมื่อ ขอบุตรของเรานั้น พึงเป็นผู้มีเดช มีกำลังมาก มีฤทธานุภาพใหญ่ มีปัญญา และปรีชาในประโยชน์อย่างใด พึงรักษาตระกูลให้สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น เทอญ "

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา ได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
  4. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
  5. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระศีลาจารย์ และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม ศกนั้น จึงทรงย้ายไปประทับ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[3] แล้วลาผนวชในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2432[4]

พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทรงเป็นเจ้านายไทยพระองค์แรก ๆ ที่ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษากฎหมายจากเบลเลียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แล้วเสด็จกลับมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435[5] ทรงปรับปรุงกิจการศาลแบบเก่า ถึงปี พ.ศ. 2437 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปราชการในยุโรป[6]เพื่อถวายอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ( ร.6 ) ที่เสด็จไปศึกษา ณ สหราชอาณาจักรและในยุโรป ตลอดจนปฏิบัติราชการทางการทูตในยุโรปนานถึง 4 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2436 - 2440 นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นช่วงระยะเวลาเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2466 ทรงรับตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาพระองค์ที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2455 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461

เมื่อ พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[7]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อ พ.ศ. 2456[8] และทรงได้รับการโปรดเกล้าให้เลื่อนกรมอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามมิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสรานุชาร์ยมานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนไตรยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปิยมานมนุญ สุนทรธรรมบ์บพิตร์" ทรงศักดินา 15000[9]

ต่อมาในพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2469) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เนื่องด้วยเป็นพระมาตุลาธิบดี (น้า) แท้ ๆ เพียงพระองค์เดียวที่ยังดำรงพระชนม์อยู่[10]

วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์

  1. วังปทุมวัน หรือ วังนอก รับพระราชทาน จากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระเชษฐภคินีของสมเด็จฯ ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ (คลองแสนแสบ) เขตปทุมวัน ใกล้กับวังสระปทุม และวังวินด์เซอร์ ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  2. วังถนนพระอาทิตย์ (เลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ ) รับพระราชทาน จาก ร. 7 ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของ ยูนิเซฟ และที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเกาะปีนัง เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ปีกุนสัปตศก จ.ศ. 1297 ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 พระชันษาได้ 70 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดปาตูลันจัง (วัดปิ่นบังอร) วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2478[11]

พระโอรสธิดา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ มีพระชายา และหม่อม รวม 10 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมลมุล (สกุลเดิม: พิศลยบุตร) ธิดา พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) กับปราง (สกุลเดิม: สมบัติศิริ) เป็นพี่สาวของหม่อมหุ่นและหม่อมศรี หม่อมทั้งสามท่านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้าจอมมารดาอ่วมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. หม่อมหุ่น (สกุลเดิม: พิศลยบุตร) ธิดา พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) กับปราง (สกุลเดิม: สมบัติศิริ) เป็นน้องสาวของหม่อมลมุลและเป็นพี่สาวของหม่อมศรี
  3. หม่อมศรี (สกุลเดิม: พิศลยบุตร) ธิดา พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)[12] กับปราง (สกุลเดิม: สมบัติศิริ) เป็นน้องสาวของหม่อมลมุลและหม่อมหุ่น
  4. หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม ต.จ. (พ.ศ. 2445) หม่อมห้ามพระราชทาน (ราชสกุลเดิม: สนิทวงศ์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นสะใภ้หลวง เป็นธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม: ศศิสมิต) [13] [14]
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี ป.จ. (พ.ศ. 2472) พระชายา (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี คัคณางค์) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
  6. หม่อมสุดใจ
  7. หม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย พระชายา (ราชสกุลเดิม: คัคณางค์) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
  8. หม่อมเร่ (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม: สิทธิโรจน์)
  9. หม่อมลัภ (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม: สิทธิโรจน์)
  10. หม่อมพงษ์ (สกุลเดิม: บุณยรัตพันธุ์) ธิดาร้อยโทสามชัย บุณยรัตพันธุ์

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 48 พระองค์ เป็นชาย 22 พระองค์ และหญิง 26 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ - สวรรคต/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส บุตรธิดา
1. หม่อมเจ้าพิไชยสิทธิสวัสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมศรี 1 พฤษภาคม 2431 - 12 มีนาคม 2433
2. หม่อมเจ้าหญิงทัศนีนงลักษณ์ ที่ 1 ในหม่อมลมุล 26 มีนาคม 2432 - 28 พฤษภาคม 2444
3. หม่อมเจ้าพนัสนิคม (แฝด) ที่ 2 ในหม่อมศรี 30 สิงหาคม 2434 - ในวันประสูติ
4. หม่อมเจ้าพนมสารคาม (แฝด) ที่ 3 ในหม่อมศรี 30 สิงหาคม 2434 - ในวันประสูติ
5. หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์พักตร์ภาณี (ท่านหญิงพิมพ์) ที่ 2 ในหม่อมลมุล 22 สิงหาคม 2435 - 22 ธันวาคม 2477
6. หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ ที่ 3 ในหม่อมลมุล 11 ธันวาคม 2441 - 15 กรกฎาคม 2507 (1) หม่อมเจริญ (เศวตะทัต)
(2) หม่อมโฉมฉาย (เสมรบุณย์)[15]
(1) หม่อมราชวงศ์หญิงสนองศรี สวัสดิวัตน์
(1) หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
(1) หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์
ไฟล์:หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์.jpg 7. หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ (ท่านชายเล็ก) หม่อมหุ่น 5 เมษายน 2442 - 26 ธันวาคม 2531 หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี (โศภางค์) หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์หญิงโพยมศรี สุขุม
หม่อมราชวงศ์หญิงนภาศรี บุรณศิริ
ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรรณจินดา
หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลโพยม อนิรุทธเทวา
หม่อมราชวงศ์หญิงปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
8. หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ ที่ 4 ในหม่อมลมุล 5 เมษายน 2443 - 31 มีนาคม 2482 หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่
ไฟล์:หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์.jpg 9. หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท (ท่านชายชิ้น) ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 13 สิงหาคม 2443 - 22 เมษายน 2510 หม่อมเสมอ (สิงหเสนี) หม่อมราชวงศ์หญิงปิ่มสาย อัมระนันทน์
หม่อมราชวงศ์หญิงสายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน
หม่อมราชวงศ์หญิงสมานสนิท กาญจนะวณิชย์
หม่อมราชวงศ์หญิงสายสิงห์ ศิริบุตร
10. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 22 กันยายน 2444 - มิถุนายน 2445
11. หม่อมเจ้าเสรีสวัสดิกมล ที่ 1 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 6 กันยายน 2445 - 7 มีนาคม 2454
12. หม่อมเจ้าโสภณภราไดย ที่ 2 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 8 มกราคม 2446 - 17 กรกฎาคม 2514 (1) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร
(2) หม่อมแตงนวล
(3) หม่อมประเทือง
(1) หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์

(2) หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณโสภา สวัสดิวัตน์

(2) หม่อมราชวงศ์หญิงปรียาภา สวัสดิวัตน์

(2) หม่อมราชวงศ์หญิงกุลโสภณ สวัสดิวัตน์

(2) หม่อมราชวงศ์มิตรโสภณ สวัสดิวัตน์

13. หม่อมเจ้าหญิงสุด ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 22 มกราคม 2446 - กรกฎาคม 2447
14. หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
(พ.ศ. 2468: สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) (ทรงมีพระนามลำลองว่าท่านหญิงนา)
ที่ 3 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 20 ธันวาคม 2447 - 22 พฤษภาคม 2527 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
15. หม่อมเจ้าหญิงใหม่ ที่ 4 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 19 กุมภาพันธ์ 2448 - 17 มีนาคม 2448
16. หม่อมเจ้าสวัสดิประดิษฐ์ หม่อมสุดใจ 16 กรกฎาคม 2449 - 2 สิงหาคม 2519 (1) หม่อมเจ้าหญิงดวงตา (จักรพันธุ์)
(2) หม่อมสอิ้ง
(3) หม่อมฉลวย
หม่อมราชวงศ์วิทัศดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์หญิงสุจิตรา สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์ประภัสสร สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์หญิงปณิตา สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์หญิงนยนา สวัสดิวัตน์

17. หม่อมเจ้าหญิงแดง ที่ 5 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 25 เมษายน 2450 - 30 พฤษภาคม 2450
18. หม่อมเจ้าพีรยศยุคล ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 16 มกราคม 2450 - 29 พฤษภาคม 2519 หม่อมเอสเตอร์
ไฟล์:หม่อมเจ้านนทิยาวัด.JPG 19. หม่อมเจ้านนทิยาวัด ที่ 6 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 25 เมษายน 2452 - 18 ตุลาคม 2501 หม่อมเจ้าหญิงสุวภาพเพราพรรณ (วุฒิชัย) หม่อมราชวงศ์หญิงสุวนันท์ วัลยะเสวี
หม่อมราชวงศ์หญิงรำพิอาภา เกษมศรี
หม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์หญิงสุดานันท์ สินธวานนท์
หม่อมราชวงศ์หญิงเพราพรรณี สวัสดิวัตน์
20. หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ ที่ 2 ในหม่อมหญิงเจ้าฉวีวิลัย 21 กรกฎาคม 2452 - 23 สิงหาคม 2539 หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร หม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร
ไฟล์:หม่อมเจ้าอรชุณชิษณุ.JPG 21. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ (ท่านชายน้อย) ที่ 7 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 15 มกราคม 2453 - 26 คุลาคม 2512 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี หม่อมราชวงศ์หญิงศศิพรรณ สวัสดิวัฒน์ หม่อมราชวงศ์หญิงเดือนเด่น กิติยากร
หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
22. หม่อมเจ้าหญิงผุสดีวิลาส ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 5 กุมภาพันธ์ 2453 - 8 สิงหาคม 2500
23. หม่อมเจ้าหญิงศกุนตลา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 1 ในหม่อมเร่ 29 กันยายน 2454 - 28 กรกฎาคม 2524 ราศี ปัทมะศังข์ รังสิมันต์ ปัทมะศังข์
คุณหญิงรังสิมา หวั่งหลี
เกวลี จำรัสโรมรัน
24. หม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 2 ตุลาคม 2455 - 26 มีนาคม 2526 หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
25. หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ ที่ 5 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 27 มกราคม 2456 - 15 พฤษภาคม 2513 หม่อมเนลลี่ (วอง)
26. หม่อมเจ้าชายบุญ 14 กุมภาพันธ์ 2456 - 21 กุมภาพันธ์ 2456
27. หม่อมเจ้าหญิงอุษารดี ที่ 2 ในหม่อมเร่ 12 เมษายน 2457 - 8 มีนาคม 2550
28. หม่อมเจ้าหญิงผ่องศรีวิลัย ที่ 6 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 23 เมษายน 2458 - 8 กรกฎาคม 2537
29. หม่อมเจ้าหญิงรอดรมาภัฎ ที่ 8 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 24 กุมภาพันธ์ 2458 - 4 สิงหาคม 2460
30. หม่อมเจ้าลอลิไตย ที่ 7 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 16 เมษายน 2459 - พ.ศ. 2461
31. หม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง หม่อมลัภ 7 กันยายน 2459 - 17 กันยายน 2540 หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ หม่อมราชวงศ์เกษมวิสุทธิ์ วิสุทธิ
หม่อมราชวงศ์สุทธิสวัสดิ์ วิสุทธิ
หม่อมราชวงศ์โสรัจจ์ วิสุทธิ
32. หม่อมเจ้าหญิงสุเลสลัลเวง
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 3 ในหม่อมเร่ 14 พฤศิกายน 2459 - 14 เมษายน 2542 ประพันธ์ สิริกาญจน ประภัสสร เศรษฐบุตร
สิริพันธ์ สิริกาญจน
ประไพสิริ สิริกาญจน
33. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก มีนาคม 2459 - 4 สิงหาคม 2460
ไฟล์:หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร.JPG 34. หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร ที่ 9 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 9 มีนาคม 2460 - 24 กันยายน 2528 หม่อมราชวงศ์หญิงภัทราตรีทศ (เทวกุล)
35. หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง ที่ 8 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 2 สิงหาคม 2461 - 25 สิงหาคม 2533 หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล
หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล
36. หม่อมเจ้าหญิงอมิตดา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 4 ในหม่อมเร่ 22 พฤษภาคม 2462 - 11 กันยายน 2542 นายแพทย์สภร ธรรมารักษ์ ฐานะพร ธรรมารักษ์
37. หม่อมเจ้าหญิงมัทรีโศภนา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 9 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 11 ธันวาคม 2462 - 15 กรกฎาคม 2546 ฟื้น ดุลยจินดา
38. หม่อมเจ้าหญิงนางกูลสวัสดิ์ ที่ 10 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 12 มีนาคม 2463 - 12 กันยายน 2507
39. หม่อมเจ้าหญิงมโนหรา ที่ 5 ในหม่อมเร่ 20 มิถุนายน 2464 - 6 กันยายน 2526
40. หม่อมเจ้าหญิงวิสาขานุจฉวี
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 11 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 18 กรกฎาคม 2465 - 30 ตุลาคม 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่น โบชูกุ อุตากาว่า
41. หม่อมเจ้าอำณอร์สวัสดิ ที่ 6 ในหม่อมเร่ 2 ธันวาคม 2466 - 7 มีนาคม 2529 หม่อมฉลวย (เอกรัตน์) หม่อมราชวงศ์พันธุ์เทพสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์หญิงจิตติพัณณา จาตุรนต์เกษม
42. หม่อมเจ้าบุญทัดสวัสดี ที่ 7 ในหม่อมเร่ 27 สิงหาคม 2468 - 22 กรกฎาคม 2539 หม่อมจารุวัลย์ (ศัตรวาหา) หม่อมราชวงศ์หญิงสิริวัลย์ เกษมสันต์
หม่อมราชวงศ์หญิงวัลย์วาณี สวัสดิวัตน์
43. หม่อมเจ้านรรยราช ที่ 8 ในหม่อมเร่ 27 พฤศจิกายน 2470 - 24 พฤษภาคม 2546 หม่อมแสงทอง (ดิศวนนท์) หม่อมราชวงศ์ประเดิมสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์หญิงนรรยโสภาคย์ มรกต
หม่อมราชวงศ์หญิงจุฬาวิลาศ สวัสดิวัตน์
ไฟล์:หม่อมเจ้าปุสาณ.JPG 44. หม่อมเจ้าปุสาณ ที่ 9 ในหม่อมเร่ 27 ธันวาคม 2472 - ยังทรงชนม์ หม่อมนวลศรี (วีรบุตร) หม่อมราชวงศ์หญิงวไลวัฒนา สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์
45. หม่อมเจ้าพันฑูรย์ ที่ 1 ในหม่อมพงษ์ 4 กรกฎาคม 2473 - 21 เมษายน 2545
46. หม่อมเจ้าภากูล ที่ 2 ในหม่อมพงษ์ 1 กันยายน 2474 - 31 ตุลาคม 2499 หม่อมประชุมสินธุ์ (พันธ์พัฒน์) หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
47. หม่อมเจ้าหญิงเมรี ที่ 10 ในหม่อมเร่ 12 กรกฎาคม 2475 - 9 ตุลาคม 2561
48. หม่อมเจ้าโต ไม่ทราบปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
 อิตาลี พ.ศ. 2441 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1 [18]
 รัสเซีย พ.ศ. 2449 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้ ชั้นที่ 1

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 138. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
  3. "ข่าวพระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (15): 124–5. 14 กรกฎาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ข่าวลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (15): 447. 23 มีนาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (4): 28. 24 เมษายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (31): 236. 28 ตุลาคม ร.ศ. 113. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทาน พระสุพรรณบัตร, เล่ม 15, ตอน 33, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441, หน้า 341
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, ตอน ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456, หน้า 329
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 40, ตอน ง, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466, หน้า 2600
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 372
  11. ราชสกุลวงศ์, หน้า 78
  12. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (9): 81. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2432. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. https://www.the101.world/saisawasdee-interview/
  14. http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3634.30
  15. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพหม่อมโฉมฉาย สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา https://archive.org/details/2425170000unse/page/n5
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
  17. 17.0 17.1 17.2 ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญดุษฎีมาลาออกไปพระราชทาน, เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๗, หน้า ๓๘๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานรานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔, ตอน ๘, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๙๐
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ถัดไป
พระองค์แรก เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
(พ.ศ. 2435 - 2437)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ ประธานศาลฎีกาไทย
(พ.ศ. 2455 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461)
พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์)