ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[1]
ดำรงตำแหน่ง26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
ถัดไปพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
เสนาบดีกระทรวงวัง[2]
ดำรงตำแหน่ง1 กันยายน พ.ศ. 2439[3] - 18 กันยายน พ.ศ. 2441
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ประสูติ30 มกราคม พ.ศ. 2409
สิ้นพระชนม์15 เมษายน พ.ศ. 2450 (41 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าสุภางค์ภักตร์ ไชยันต์
หม่อม
หม่อมน้อย
หม่อมกลีบ
หม่อมเฮียะ
หม่อมส้วน
พระบุตร13 องค์
ราชสกุลไชยันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาห่วง ในรัชกาลที่ 4
ลายพระอภิไธย
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พันเอก

พันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล; ประสูติ 30 มกราคม พ.ศ. 2409) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงเริ่มต้นรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งนายร้อยเอก ราชองครักษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2431[4]ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย[5] พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวัง[6] เสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี[7] และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[8][9]

อีกทั้งยังทรงเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นสภานายก[10] ปฏิคม[11] และบรรณารักษ์[12]

เมื่อ พ.ศ. 2449 ทรงก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Bank Co.) ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงได้รับการยกย่องเป็น พระบิดาแห่งวงการธนาคารไทย[13]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรควัณโรคเมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1269 ตรงกับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2450[14] สิริพระชันษา 41 ปี 75 วัน ทรงเป็นต้นราชสกุลไชยันต์ มีพระราชพิธีการพระเมรุพระศพ ในระหว่างวันที่ 8 ถึง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระโกศจากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย และเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงพระศพ นายพันเอกพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451

พระโอรสและธิดา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เป็นองค์ต้นราชสกุลไชยันต์ มีชายา 1 องค์ และมีหม่อม 4 คน ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าสุภางค์ภักตร์[15] (ราชสกุลเดิม จรูญโรจน์) พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ กับหม่อมเจ้าโถมนา (ราชสกุลเดิม วัชรีวงศ์)
  2. หม่อมน้อย (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)
  3. หม่อมกลีบ (สกุลเดิม ฌูกะวิโรจน์)
  4. หม่อมเฮียะ (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)
  5. หม่อมส้วน (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)

มีพระโอรส พระธิดารวมทั้งหมด 13 องค์ เป็นชาย 5 องค์ และหญิง 8 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าหญิงสุภาภรณ์ (ท่านหญิงใหญ่) ที่ 1 ในหม่อมน้อย 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501
2. หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมกลีบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2426 7 เมษายน พ.ศ. 2483 หม่อมหลวงคลอง (สนิทวงศ์)
3. หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม ที่ 2 ในหม่อมกลีบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ไฟล์:หม่อมเจ้าภิรมย์สงวน.JPG 4. หม่อมเจ้าหญิงภิรมย์สงวน (ท่านหญิงกลาง) ที่ 2 ในหม่อมน้อย 25 สิงหาคม พ.ศ. 2430 15 ตุลาคม พ.ศ. 2520
5. หม่อมเจ้าหญิงประมวญทรัพย์ (ท่านหญิงเล็ก) ที่ 3 ในหม่อมน้อย 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 19 ธันวาคม พ.ศ. 2467
6. หม่อมเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ที่ 3 ในหม่อมกลีบ 5 มกราคม พ.ศ. 2435 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
7. หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล (ท่านชายถึก) ที่ 1 ในหม่อมเฮียะ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 หม่อมเจ้าประโลมจิตร (จิตรพงศ์)
8. หม่อมเจ้าหญิงวิมลอรรถ ที่ 2 ในหม่อมเฮียะ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 9 กันยายน พ.ศ. 2518
9. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย
(พ.ศ. 2493: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย)
หม่อมส้วน 29 เมษายน พ.ศ. 2442 22 สิงหาคม พ.ศ. 2503 หม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต (สนิทวงศ์)
หม่อมเจ้าหญิงพัฒน์คณนา (กิติยากร)
10. หม่อมเจ้าหญิงอำไพสุวรรณ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
11. หม่อมเจ้าจันทรจุฑา ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2445 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462
12. หม่อมเจ้ามหาฤกษ์ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 กรกฎาคม พ.ศ. 2449
13. หม่อมเจ้าหญิงสุขาวดี ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2487

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล (30 มกราคม พ.ศ. 2409 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 5 เมษายน พ.ศ. 2438)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (5 เมษายน พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พระสมัญญานาม

[แก้]
  • พระบิดาแห่งการธนาคารไทย[28]

พระยศ

[แก้]

พระยศทหาร

[แก้]
  • พ.ศ. 2431 นายร้อยเอก
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2435 นายพันโท[29]
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2441 นายพันเอก[30]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศแต่งตั้งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  2. ประกาศแต่งตั้งเสนาบดีกระทรวงวัง
  3. ประกาศแต่งตั้งเสนาบดีกระทรวงวัง
  4. พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายทหาร (หน้า 320)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงษ์เธอ เปนต่างกรม แลสถาปนา หม่อมเจ้าเปนพระองคเจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่, เล่ม 13, ตอน 1, 5 เมษายน พ.ศ. 2438, หน้า 16
  6. ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวัง
  7. ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  9. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  10. ประกาศแต่งตั้งสภานายก
  11. ประกาศแต่งตั้งปฏิคม
  12. ประกาศแต่งตั้งบรรณารักษ์
  13. พระบิดาแห่งธนาคารไทย เก็บถาวร 2008-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
  14. ข่าวอสัญกรรม
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 21, ตอน 34, 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 616
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธี ศรีสัจปานกาลพระราชทานพระไชยวัฒน์ องค์เล็กและเครื่องราชอิสริยาภรณ์และตั้งองคมนตรี, เล่ม 9, ตอน 26, 18 กันยายน พ.ศ. 2423 199
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 10, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 1893, หน้า 367
  18. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  19. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  20. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
  21. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  22. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  23. เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) (ฝ่ายพลเรือน)
  24. เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
  26. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-09-20.
  27. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 12 (ตอน 36): หน้า 328. 8 ธันวาคม 2439. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-13. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  29. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  30. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449)
พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)