หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 |
สิ้นชีพตักษัย | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 (69 ปี) |
สวามี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระบุตร |
|
ราชสกุล | ไชยันต์ (ประสูติ) บริพัตร (เสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |
พระมารดา | หม่อมกลีบ ไชยันต์ ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ราชสกุลเดิม: ไชยันต์; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) พระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร ประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 เป็นพระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กับหม่อมกลีบ ไชยันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ฌูกะวิโรจน์) มีพระพี่น้องร่วมพระมารดาคือ
- หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ (2426-2483) เสกสมรสกับหม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ไชยันต์ (2434-2526)
เสกสมรส
[แก้]หม่อมเจ้าประสงค์สม เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ซึ่งหม่อมเจ้าประสงค์สมเป็นหนึ่งในหม่อมเจ้าหญิงที่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ทรงเตรียมไว้สำหรับพระราชโอรสทรงเลือกที่จะเสกสมรส[1]
หม่อมเจ้าประสงค์สม มีโอรสและธิดาแปดพระองค์ ซึ่งห้าพระองค์แรกล้วนมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ครั้นในปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[2] มีพระนามดังนี้
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 – 15 กันยายน พ.ศ. 2502) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (ราชสกุลเดิม เทวกุล) มีพระธิดาองค์เดียว
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง (4 มกราคม พ.ศ. 2449 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล มีพระโอรสบุญธรรมคนเดียว
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร (16 มีนาคม พ.ศ. 2450 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย (21 กันยายน พ.ศ. 2451 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร มีพระธิดาคนเดียว
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน (21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) เสกสมรสกับ พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล มีพระโอรสและพระธิดาสี่คน
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี (24 กันยายน พ.ศ. 2455 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ มีพระโอรสและพระธิดาสองคน
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อง (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2462)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465)
สิ้นชีพิตักษัย
[แก้]หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 สิริชันษา 69 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น (เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงผนวชอยู่) เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในโอกาสนี้ พระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาในงานนี้ด้วย
งานนิพนธ์
[แก้]- บันทึกความทรงจำบางเรื่องของหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ. 2499)[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[4]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[5]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[6]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. หอมติดกระดาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 178
- ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ประสมสงค์ บริพัตร, หม่อมเจ้า. บันทึกความทรงจำบางเรื่องของหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเมรุ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2499
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25): 1806. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-20.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-20.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)