ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ | |
---|---|
ธีรรัตน์ ใน พ.ศ. 2565 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 72 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เกรียง กัลป์ตินันท์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (13 ปี 134 วัน) | |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
เขตเลือกตั้ง | เขตลาดกระบัง |
คะแนนเสียง | 34,749 (40.36%) |
กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 18 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนพรตพิทยพยัต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยวูลลองกอง Central Queensland University |
ทรัพย์สินสุทธิ | 44.8 ล้านบาท |
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ชื่อเล่น อิ่ม (เกิด 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม ส่วนหน้า ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
ธีรรัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และชนะเลือกตั้งอีกสองครั้งใน พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2566 ซึ่งในครั้ง พ.ศ. 2566 นี้ เธอเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคเพื่อไทยเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
ประวัติ
[แก้]ธีรรัตน์ เกิดวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายวิบูล สำเร็จวาณิชย์ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตลาดกระบัง (พ.ศ. 2518) (ถึงแก่กรรม) และนางทองดี สำเร็จวาณิชย์ มีพี่น้อง 8 คน
สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง (University of Wollongong), Master of International Business และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซนทรัลควีนส์แลนด์ (Central Queensland University), Professional Doctorate สาขา Education (Transdisciplinary Studies) เครือรัฐออสเตรเลีย[1]
งานการเมือง
[แก้]ก่อนเข้าสู่วงการการเมือง เธอเคยทำงานอยู่แผนกพัฒนาบุคลากร ฝ่ายยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้แก่ผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกสิกรไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 20 (เขตลาดกระบัง) อันเป็นฐานเสียงของครอบครัว โดยสามารถเอาชนะนางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ ภรรยานายมงคล กิมสูนจันทร์ อดีต สส. และสมาชิกบ้านเลขที่ 109 จากพรรคประชาธิปัตย์ไปได้
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ธีรรัตน์ลงสมัครรับเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียง 34,749 คะแนน เอาชนะนายชุมพล หลักคำ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลเพียง 4 คะแนน ธีรรัตน์จึงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย ขณะที่ สส. กทม. คนอื่น ๆ ในสภาชุดนี้ มาจากพรรคก้าวไกลทั้งหมด[2] ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[3], ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎร[4], กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[5] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร[6] ตามลำดับ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เธอเคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติชน, หยดน้ำตาส.ส.สาวกลางมหาอุทกภัย "มันคือความตื้นตันใจ ไม่ใช่ความอ่อนแอ อาจดีกว่าคนไม่มีน้ำตา"
- ↑ "ตั้งรัฐบาล66:ธีรรัตน์ เพื่อไทย หนึ่งเดียวในสนามกทม. เฉือนก้าวไกล 4 คะแนน". โพสต์ทูเดย์. 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ เซ็นตั้งทีมวิปรัฐบาล "อดิศร" นั่งประธาน". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดชื่อ ประธานกรรมาธิการ 35 คณะ ชัยธวัช แจงเหตุ ก้าวไกล ไม่ได้เก้าอี้ตามเป้า". โพสต์ทูเดย์. 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". ทีเอ็นเอ็น 16. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เก็บถาวร 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์] เก็บถาวร 2012-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย