วีระชัย วีระเมธีกุล
วีระชัย วีระเมธีกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช |
ถัดไป | ปลอดประสพ สุรัสวดี |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุทิน คลังแสง |
ถัดไป | องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541—2549) ประชาธิปัตย์ (2551—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ (หย่า) |
วีระชัย วีระเมธีกุล (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2510) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]วีระชัย วีระเมธีกุล หรือ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล เกิดวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของนายสุชัย กับนางสุมาลี วีระเมธีกุล จบการศึกษา BSBA จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2528 ปีถัดมา (พ.ศ. 2529) จบการศึกษา MBA จากมหาวิทยาลัยคลาร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2537 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก บัญชีดุษฎีบัณฑิต จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]การรับราชการ
[แก้]หลังจบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านบัญชีดุษฎีบัณฑิต ดร.วีระชัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานในปี พ.ศ. 2533 โดยเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในขณะเดียวกันก็ยังได้รับเกียรติ เชิญให้เข้าเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายแห่ง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคธุรกิจเอกชน
[แก้]ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รับราชการเป็นอาจารย์สอนหนังสือไม่กี่ปี ก็ลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2537 เพื่อเข้าไปทำงานในภาคเอกชน ประกอบกับเป็นเวลาเดียวกันที่ นายสุชัย วีระเมธีกุล บิดาของเขา ซึ่งเป็นนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศจีน ได้รับการชักชวนให้ไปร่วมลงทุนในกิจการธนาคาร และสถาบันการเงินในช่วงที่ประเทศจีนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเศรษฐกิจ ที่จีนมุ่งหวังจะปรับเปลี่ยนประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น ดร.วีระชัย จึงเข้าไปดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ในธนาคาร TM International ตามลำดับ และสุดท้ายมาดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการธนาคาร Business Development Bank
ทำงานทางการเมือง
[แก้]เริ่มเข้าวงการ
[แก้]ดร.วีระชัย เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองในปี พ.ศ. 2543 โดยการเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 มีโอกาสได้ทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติ โดยในปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2546 เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน และเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ
สมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
[แก้]ดร.วีระชัย ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แต่บทบาทการทำงานของ ดร.วีระชัย ในกระทรวงต่างๆ ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งจะเป็นการทำงานเบื้องหลัง ทั้งการประสานงาน และการบริหารภายใน จึงมิได้โดดเด่นเป็นที่รับรู้ของสาธารณชนมากนัก แต่ก็เป็นที่ไว้วางใจของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่ทำงานด้วยอย่างมาก เช่น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ถึงขั้นมอบหมายงานสำคัญให้ดำเนินการอยู่เสมอ โดยเฉพาะงานวิชาการ
สมัยรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
[แก้]เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดร. วีระชัย จึงได้รับการสนับสนุนให้ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากเคยทำงานในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย จนทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ต้องออกมาตอบคำถามสื่อมวลชนหลายครั้งถึงความเป็นมืออาชีพของเขา แต่ยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ดร.วีระชัยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่กล่าวกันว่าเพียงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แต่กลับมีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือรัฐมนตรีหลายๆ คน
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
[แก้]ดร.วีระชัย ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในคณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 โดยดูแลงานด้านเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการ รวมทั้งได้รับมอบหมายให้ดูแลความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน ทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลมณฑล และมักถูกใช้งานไปแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจีนหลายครั้งโดยเฉพาะเรื่องการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [1] โดยในช่วงดำรงตำแหน่งต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเรียกความเชื่อมั่นเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยจากผลกระทบของรังสีที่รั่วไหลกลับสู่สังคมไทย เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิระเบิด
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. กระทั่งการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดิมและได้รับเลือกตั้งอีกสมัยกระทั่งวันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นายวีระชัยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนาย ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนาย ไชยยศ จิรเมธากร เลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่แทน[3]
ตำแหน่งสำคัญต่างๆ
[แก้]- รองประธานกรรมการธนาคาร Business Development Bank ประเทศจีน
- พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
- พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2546 รองประธานคนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
- พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2546 รองประธานคนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ
- พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- พ.ศ. 2562 ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "วีระชัย วีระเมธีกุล" ลาออกจาก "ส.ส.ปชป." อีกราย
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- OKNATION เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย[ลิงก์เสีย]
- นสพ.ไทยโพสต์-เปลวสีเงิน
- คิดใหม่วันอาทิตย์-บริหารทีมเศรษฐกิจต่างพันธ์
- ABHISIT'S MAN FOR CHINA เก็บถาวร 2012-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Virachai 'our salesman' to China
- สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 14 วันที่ 26 ธ.ค.51-1 ม.ค.52 บทความคนชนข่าว-เจาะเวลาย้อนอดีตเส้นทาง วีระชัย วีระเมธีกุล
- โพสต์ทูเดย์สุดสัปดาห์ วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สัมภาษณ์พิเศษ
- หนังสือพิมพ์ข่าวสด-สัมภาษณ์พิเศษ วีระชัย วีระเมธีกุล เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตรวจการบ้านคนการเมือง นสพ.เดลินิวส์ 12 ธันวาคม 2552
- ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล (ข้าราษฎร) นสพ.แนวหน้า วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ส่วนเติมเต็ม(สำนักข่าวราชดำเนิน)- หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 5 มีนาคม 2555 เก็บถาวร 2012-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | วีระชัย วีระเมธีกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุพล ฟองงาม |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553) |
องอาจ คล้ามไพบูลย์
| ||
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 59) (6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
ปลอดประสพ สุรัสวดี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.