ข้ามไปเนื้อหา

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง

พิกัด: 37°25′23″N 141°01′59″E / 37.42306°N 141.03306°E / 37.42306; 141.03306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง
ภาพถ่ายเมื่อปี 2007 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวในปี 2011
แผนที่
ประเทศประเทศญี่ปุ่น
ที่ตั้งโอกูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ
พิกัด37°25′23″N 141°01′59″E / 37.42306°N 141.03306°E / 37.42306; 141.03306
สถานะBeing decommissioned
เริ่มสร้าง25 กรกฎาคม ค.ศ. 1967 (1967-07-25)
ประจำการ26 มีนาคม ค.ศ. 1971 (1971-03-26)
ปลดประจำการ31 มกราคม ค.ศ. 2014 (2014-01-31)
ผู้ดำเนินการบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (เทปโก้)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ประเภทเครื่องปฏิกรณ์BWR
Reactor supplierเจเนอรัลอิเล็กทริก
โทชิบา
ฮิตาชิ
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า
Units cancelled2 × 1,380 MW
Units decommissioned1 × 460 MW (หน่วยที่ 1)
4 × 784 MW (หน่วยที่ 2, 3, 4 และ 5)
1 × 1,100 MW (หน่วยที่ 6)
Nameplate capacity5,306 MW (1979–2011)
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์www.tepco.co.jp/en/nu/press/f1-np/index-e.html
คอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องอยู่ที่คอมมอนส์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง (อังกฤษ: Fukushima Nuclear Power Plant; ญี่ปุ่น: 福島第一原子力発電所โรมาจิFukushima Dai-Ichi Genshiryoku Hatsudensho) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 กิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO)

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเซ็นได รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินพลังงานนิวเคลียร์" และอพยพผู้อยู่อาศัยในรัศมี 20 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นออกมาระบุว่าทางการกังวลว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่แท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจหลอมละลาย[1]

เครื่องปฏิกรณ์

[แก้]
ภาพตัดขวางของเครื่องปฏิกรณ์ BWR Mark I containment ที่ใช้ในหน่วยที่ 1 ถึง 5 โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ drywell (11), wetwell (18), spent fuel area (5)

เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 2 และ 6 ผลิตโดยเจเนอรัลอิเล็กทริก หน่วยที่ 3 และ 5 ผลิตโดยโตชิบา และหน่วยที่ 4 ผลิตโดยฮิตาชิ เครื่องปฏิกรณ์ทั้งหกหน่วยออกแบบโดย General Electric[2] เครื่องปฏิกรณ์ของ General Electric ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย Ebasco และการก่อสร้างทั้งหมดดำเนินการโดย Kajima.[3] ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่สามได้เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง mixed-oxide (MOX) แทนที่ low enriched uranium (LEU) ที่เคยใช้อยู่เดิมในเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดในโรงไฟฟ้าแห่งนี้[4][5] เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1–5 เป็นแบบ Mark I type (light bulb torus) containment structures ส่วนหน่วยที่ 6 เป็นแบบ Mark II type (over/under) containment structure[6][7][8]

เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 เป็นเครื่อง boiling water reactor (BWR-3) ขนาด 460 เมกะวัตต์ สร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 และเริ่มใช้งานผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 และเดิมมีกำหนดปิดในต้นปี พ.ศ. 2554[9] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน่วยงานกำกับดูแลโรงไฟฟ้าของรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ขยายเวลาการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์หน่วยนี้ออกไปอีก 10 ปี[10]

ภาพถ่ายทางอากาศของโรงไฟฟ้าใน พ.ศ. 2518 showing sea walls and completed reactors showing, reading left (South) to right (North), Units 4,3,2,1 and 5, with Unit 6, on the right, then under construction.
ภาพขยายเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 3 2 และ 1
หน่วยปฏิกรณ์ ชนิด[11] เริ่มก่อสร้าง[12] ถึงจุดวิกฤตครั้งแรก[12] ใช้งานเชิงพาณิชย์[12] กำลังไฟฟ้า[12] ผู้ผลิตเครื่องปฏิกรณ์[11] สถาปัตยกรรม[3] ก่อสร้าง[3] เชื้องเพลิง
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 1 BWR-3 July 25, 1967 October 10, 1970 March 26, 1971 460 MW General Electric Ebasco Kajima LEU
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 2 BWR-4 June 9, 1969 May 10, 1973 July 18, 1974 784 MW General Electric Ebasco Kajima LEU
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 3 BWR-4 December 28, 1970 September 6, 1974 March 27, 1976 784 MW Toshiba Toshiba Kajima MOX[4]
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 4 BWR-4 February 12, 1973 January 28, 1978 October 12, 1978 784 MW Hitachi Hitachi Kajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 5 BWR-4 May 22, 1972 August 26, 1977 April 18, 1978 784 MW Toshiba Toshiba Kajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 6 BWR-5 October 26, 1973 March 9, 1979 October 24, 1979 1,100 MW General Electric Ebasco Kajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 7 (โครงการ)[13] ABWR April 2012 October 2016 1,380 MW
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 8 (โครงการ)[13] ABWR April 2012 October 2017 1,380 MW
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ในหน่วย GW·h[12]
ปี หน่วยที่ 1 หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 หน่วยที่ 6
1970 60.482
1971 2024.3
1972 2589.1
1973 2216.8 5.949
1974 1629.7 3670.1 284.7
1975 0 622.1 2961.8
1976 1563.9 4191.4 4807.1
1977 0 49.7 2171.1 875.1
1978 1497.6 3876.3 2753.7 3163.2 4806.7
1979 2504.4 2976 4916.3 3917.4 3898.6 3235.6
1980 1249.5 2889 4287 4317 4282.6 6441.1
1981 1084.8 3841.8 3722.8 4667.5 4553.9 7418.6
1982 2355 5290.2 2886.8 5734.7 4061.3 6666.5
1983 3019.5 3422.7 4034 4818.2 5338.8 5387.8
1984 2669.761 3698.718 4497.326 4433.166 4691.482 5933.242
1985 1699.287 4266.285 5798.641 4409.031 4112.429 5384.802
1986 2524.683 5541.101 4234.196 4315.241 4157.361 7783.537
1987 3308.888 3851.078 3748.839 5964.048 3995.012 7789.201
1988 2794.464 4101.251 5122.991 5309.892 5952.712 5593.058
1989 1440.778 6516.393 5706.694 4232.648 4766.535 5128.362
1990 2352.405 3122.761 2919.548 4273.767 3956.549 7727.073
1991 1279.986 3853.054 4491.022 6483.384 6575.818 6948.662
1992 1794.061 4568.531 6098.742 4082.747 4841.234 5213.607
1993 2500.668 4186.704 4204.301 4206.577 4059.685 6530.932
1994 3337.532 2265.961 4202.304 6323.277 4246.206 8079.391
1995 3030.829 6396.469 5966.533 5485.662 5878.681 6850.839
1996 2298.589 5192.318 4909.655 4949.891 5666.866 6157.765
1997 3258.913 4618.869 2516.651 4556.81 4609.382 9307.735
1998 3287.231 3976.16 2632.682 5441.398 5369.912 6328.985
1999 2556.93 3158.382 5116.09 5890.548 6154.135 7960.491
2000 3706.281 5167.247 5932.485 4415.901 1647.027 7495.577
2001 487.504 5996.521 5637.317 5858.452 5905.13 7778.874
2002 3120.2 5101.018 3567.314 4687.718 6590.488 6270.918
2003 0 1601.108 2483.557 0 2723.76 4623.905
2004 0 3671.49 3969.674 4728.987 5471.325 1088.787
2005 851.328 3424.939 5103.85 1515.596 2792.561 7986.451
2006 3714.606 3219.494 4081.932 4811.409 4656.9 5321.767
2007 610.761 5879.862 4312.845 5050.607 5389.565 6833.522
2008 3036.562 5289.599 6668.839 4410.285 3930.677 8424.526
2009 2637.414 4903.293 4037.601 5462.108 5720.079 7130.99
2010 2089.015 6040.782

อุบัติเหตุนิวเคลียร์ พ.ศ. 2554

[แก้]

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวซึ่งวัดความรุนแรงได้ 9.0 แมกนิจูด เมื่อเวลาราว 14.46 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4, 5 และ 6 ถูกปิดตัวลงก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินไหวเพื่อการบำรุงรักษาตามกำหนด[14][15] ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมาได้เข้าท่วมโรงไฟฟ้า ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินซึ่งใช้สำหรับทำงานปั๊มทำความเย็นและควบคุมเตาปฏิกรณ์ ความเสียหายจากอุทกภัยและแผ่นดินไหวทำให้ความช่วยเหลือจากที่อื่นไม่สามารถเข้ามาถึงได้ อีกหลายวันต่อมามีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 แรงระเบิดได้ทำลายอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Explosion at Japanese nuclear plant raises fears". Usatoday.Com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  2. Dedman, Bill (March 13, 2011). "General Electric-designed reactors in Fukushima have 23 sisters in U.S". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Nuclear Reactor Maps: Fukushima-Daiichi". Council for Security Cooperation in the Asia Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  4. 4.0 4.1 "Fukushima to Restart Using MOX Fuel for First Time". Nuclear Street. 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  5. "Third Japanese reactor to load MOX". World Nuclear News. 2010-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  6. Brady, A. Gerald (1980). Ellingwood, Bruce (บ.ก.). An Investigation of the Miyagi-ken-oki, Japan, earthquake of June 12, 1978. NBS special publication. Vol. 592. United States Department of Commerce, National Bureau of Standards. p. 123.
  7. "Fact Sheet on Fukushima Nuclear Power Plant" (PDF). Nuclear Information and Resource Service. 13 March 2011. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  8. Sandia National Laboratories (July 2006). "Containment Integrity Research at Sandia National Laboratories - An Overview" (PDF). U.S. Nuclear Regulatory Commission. NUREG/CR-6906, SAND2006-2274P. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. "Fukushima Daiichi Information Screen". Icjt.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  10. Yamaguchi, Mari; Donn, Jeff (March 12, 2011). "Japan quake causes emergencies at 5 nuke reactors". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  11. 11.0 11.1 "Reactors in operation". IAEA. 31 December 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "Japan: Nuclear Power Reactors". Power Reactor Information System - PRIS. IAEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-28. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  13. 13.0 13.1 "Nuclear Power in Japan". World Nuclear Association. 2011-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  14. Black, Richard. "Reactor breach worsens prospects". BBC News. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
  15. Biela Liwag. "Government Scientists on Japan Nuke Meltdown "No need to worry"". Noypi.ph. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.