ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม"

พิกัด: 13°42′45″N 100°30′44″E / 13.712399°N 100.512191°E / 13.712399; 100.512191
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 404: บรรทัด 404:
|-
|-
|- style="background:#FFFFFF"
|- style="background:#FFFFFF"
|| '''20''' ||[[ไฟล์:มนตรี-แสนวิเศษ.jpg|150px]]||'''นาย[[มนตรี แสนวิเศษ]]''' ||ผู้อำนวยการ|| [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2545]] || [[30 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
|| '''20''' ||[[ไฟล์:Toon Bodyslam at Batman V Superman Dawn of Justice Midnight Run Bangkok.jpg|150px]]||'''นาย[[มนตรี แสนวิเศษ]]''' ||ผู้อำนวยการ|| [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2545]] || [[30 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
|-
|-
|- style="background:#d4ffb7"
|- style="background:#d4ffb7"
|| '''21'''||[[ไฟล์:คงวุฒิ-ไพบูลย์ศิลป.jpg|150px]]||'''นาย[[คงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป]]'''||ผู้อำนวยการ|| [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]] || [[3 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]]
|| '''21'''||[[ไฟล์:Chiang Kai-shek(蔣中正).jpg|150px]]||'''นาย[[คงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป]]'''||ผู้อำนวยการ|| [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2549]] || [[3 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]]
|-
|-
|- style="background:#FFFFFF"
|- style="background:#FFFFFF"
|| '''22''' ||[[ไฟล์:สุนันทวิทย์-พลอยขาว.jpg|150px]]||'''ดร.[[สุนันทวิทย์ พลอยขาว]] ''' ||ผู้อำนวยการ|| [[19 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] || ปัจจุบัน
|| '''22''' ||[[ไฟล์:Mao Zedong portrait.jpg|150px]]||'''ดร.[[สุนันทวิทย์ พลอยขาว]] ''' ||ผู้อำนวยการ|| [[19 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] || ปัจจุบัน
|}
|}
<br />
<br />

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:52, 6 เมษายน 2559

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
Wat Suthiwararam School
ไฟล์:Logo Suthi Transparency.png
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°42′45″N 100°30′44″E / 13.712399°N 100.512191°E / 13.712399; 100.512191
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ธ. (ST)
ประเภทรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญบาลี: วิชฺชา วรํ ธนํ โหติ
(วิชาเป็นทรัพย์อันประเสริฐ)
สถาปนา3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[1]
ผู้ก่อตั้งบุตร-ธิดาท่านปั้น อุปการโกษากร โดยมีพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) เป็นหัวหน้า
โรงเรียนพี่น้องโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สหวิทยาเขตราชนครินทร์
รหัส1000102801
10012030 (Smis)
720115 (Obec)[1]
ผู้อำนวยการดร.สุนันทวิทย์ พลอยขาว
ครู/อาจารย์156[2]
จำนวนนักเรียน3,216[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย, อังกฤษ, จีนกลาง, ฝรั่งเศส
สีชมพู ขาว เขียว
██████ ███
เพลงมาร์ชสุทธิวราราม, รวมใจชาวสุทธิฯ, รอบรั้วของเรา, อาลัยลา, อาลัยพี่, ชื่นชุมนุมสุทธิฯ
สัญลักษณ์ดอกบัวและเพชร
ฉายาทีมกีฬาสิงห์สะพานปลา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.suthi.ac.th[3]

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (อังกฤษ: Wat Suthiwararam School) (อักษรย่อ: ส.ธ., ST) เป็นโรงเรียนแรกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการ มีพระราชหัตถเลขาชมเชยให้การสร้างโรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นแบบอย่างของการบำเพ็ญกุศลที่ต้องด้วยพระราชนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิดเป็นโรงเรียนแรกในรัชกาล[4][5] เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยใช้ชื่อพระราชทานจากพระองค์[6] ว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม

ปัจจุบันมีโรงเรียนวัดสุทธิวรารามมีอายุ 112 ปี เปิดทำการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 เป็นโรงเรียนชายและเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ดำเนินนโยบายแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ดำเนินนโยบายแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร มีอาคารเรียนทั้งหมด 6 หลัง ห้องเรียน 72 ห้อง แบ่งตามแผนการจัดชั้นเรียนดังนี้ 12-12-12-12-12-12 มีครูทั้งหมด 156 คน จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2558 รวมทั้งสิ้น 3,216 คน [2]

ประวัติ

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถูกสถาปนาขึ้นบนธรณีสงฆ์ของบริเวณที่เดิมเรียกว่าวัดลาว เนื่องจากเดิมวัดลาวนี้เป็นวัดร้าง ในพ.ศ. 2424 ท่านผู้หญิงสุทธิ์ มารดาของท่านปั้น ภรรยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดลาวขึ้นใหม่และหลังจากได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดสุทธิวราราม” ตามนามของท่านผู้หญิงสุทธิ์

ภายหลังวัดนี้ทรุดโทรมลง ท่านปั้นมีกตัญญูระลึกถึงคุณบิดามารดา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างขึ้นบริบูรณ์ในพ.ศ. 2442 และได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม โดยท่านได้รับการแต่งตั้งพระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายกเป็นมรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ต่อมาเมื่อท่านปั้น อุปการโกษากร ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2451 ด้วยโรคฝีที่ข้อศอกข้างซ้าย[7] พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) บุตรชายดำรงตำแหน่งมรรคนายกวัดสุทธิวรารามต่อจากมารดา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2451[8] บรรดาบุตรธิดาของท่านปั้น ได้แก่[9]

นางปั้น อุปการโกษากร
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)
  1. คุณหญิงวิเชียรคีรี (สมบุญ วัชราภัย ณ สงขลา) ภริยาพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 8
  2. คุณหญิงสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (บุญรอด วัชราภัย จารุจินดา) ภริยาเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) สมุหพระนครบาล อุปราชมณฑลพายัพ และองคมนตรี
  3. นางอนันตสมบัติ (เชื้อ วัชราภัย ณ สงขลา) ภริยาพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา มารดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานองคมนตรี และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) องคมนตรี
  4. พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) ต่อมาเป็น ต่อมาเป็น พระยาพิจารณาปฤชามาตย์มานวธรรมศาสตร์สุปฤชา (สุหร่าย วัชราภัย) องคมนตรี
  5. คุณหญิงเพชรกำแหงสงคราม (เป้า วัชราภัย ยุกตะนันท์) ภริยาพระยาเพชรกำแหงสงคราม (มะลิ ยุกตะนันท์) ผู้สำเร็จราชการเมืองชุมพร ลำดับที่ 12
  6. หลวงการุญนรากร (แดง วัชราภัย) ต่อมาเป็น พระกรณีศรีสำรวจ (แดง วัชราภัย)
  7. คุณหญิงศรีสังกร (ตาบ วัชราภัย จารุรัตน์) ภริยาพระศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ต่อมาเป็น พระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ประธานศาลฎีกา

มีประสงค์จะสร้างอนุสรณ์สถานเพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา โดยมีพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์เป็นหัวหน้า ตกลงกันว่าจะบำเพ็ญกุศลสนองคุณบุพการีในการฌาปนกิจศพท่านปั้นผู้เป็นมารดาซึ่ง ด้วยการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ "สถานศึกษา" จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนขึ้นในบริเวณที่ธรณีสงฆ์วัดสุทธิวราราม

พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้เป็นผู้นำในการปรึกษาเรื่องดังกล่าวกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ซึ่งได้ให้ความร่วมมือในการออกแบบก่อสร้างอาคารตามแบบที่เหมาะสม และได้เป็นผู้อุปการะโรงเรียนต่อมาอีกด้วย[10] โรงเรียนดังกล่าวซึ่งกรมศึกษาธิการรับไว้เรียกชื่อว่า "'โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม"' เริ่มเปิดทำการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นวันแรก และมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[11] ดังนี้

ด้วยตึกที่สร้างขึ้นที่วัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย ถนนเจริญกรุง สำหรับบำเพญกุศลในการศพท่านปั้น มรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามนั้น เมื่อเสร็จการฌาปนกิจแล้ว ผู้ออกทุนทรัพย์ก่อสร้างตึกหลังนี้ขอมอบให้กรมศึกษาธิการจัดเปนสถานศึกษาต่อไป กรมศึกษาธิการได้รับไว้แลจะเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๓๐ ชื่อว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม" จัดการสอนตั้งแต่ชั้นมูลประถมพิเศษตลอดจนมัธยมพิเศษ กระทรวงธรรมการได้ให้หลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์โรงเรียนราชบุณะเปนอาจารย์ใหญ่แลโรงเรียนนี้นับเข้าในประเภทโรงเรียนชั้นสูง ซึ่งกำหนดเวลาสอนในปีหนึ่งเปน ๓ เทอม คือ

เทอมต้นเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กันยายน รวมเวลาเรียน ๔ เดือน แล้วหยุด ๓ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๔ บาท พแนกประถมเก็บ ๘ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๒๕ บาท

เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๕ วัน แล้วหยุดวิก ๑ เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท

เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๔ วัน แล้วหยุด ๖ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท

ผู้ใดจะส่งบุตร์หลานเข้าเรียนโรงเรียนนี้ ขอให้ไปตกลงกับหลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์ใหญ่

แจ้งความมา ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

พิธีเปิดโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิด หลวงวิจิตรวรสาสน์ อาจารย์ใหญ่ ถวายรายงาน เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ชักเชือกเปิดผ้าคลุมป้ายนามโรงเรียน[12] เริ่มทำการเรียนการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จากนั้นพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ทำหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวไปถวาย พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[13] ในจดหมายนั้นมีใจความสำคัญตอนท้ายว่า

โรงเรียนนี้กรมศึกษาธิการได้รับไว้ และเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมเรียกว่าโรงเรียนพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ร.ศ.130 เป็นต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนของพระราชทานถวายพระราชกุศล ถ้ามีโอกาสอันควรขอฝ่าพระบาทได้โปรดนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า วิสุทธสุริยศักดิ์
ไฟล์:รูปภาพ31.jpg
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชมเชยการสร้างโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความกราบบังคมทูลแล้ว จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมายังราชเลขานุการในวันเดียวกัน พระราชกระแสในพระราชหัตถเลขา[14]มีความว่า

อนุโมทนา และมีความมั่นใจอยู่ว่า การที่บุตรของปั้นได้พร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลเช่นนี้ คงจะมีผลานิสงษ์ดียิ่งกว่าที่สร้างวัดขึ้นได้สำหรับให้เปนที่อาไศยแอบแฝงแห่งเหล่าอลัชชี ซึ่งเอาผ้ากาสาวพัตร์ปกปิดกายไว้เพื่อให้พ้นความอดเท่านั้น มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักรและอาณาจักรเลย การสร้างโรงเรียนขึ้นให้เป็นที่ศึกษาแห่งคนไทยเช่นนี้ เชื่อว่ามีผลดีทั้งในฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร เพราะฉะนั้นจึ่งควรสรรเสริญและอนุโมทนามาในส่วนกุศล


อนึ่งถ้ามีโอกาสขอให้พระยาวิสุทธช่วยชี้แจงต่อๆไปว่า ถ้าผู้ใดมีน้ำใจศรัทธาและมีความประสงค์ขะทำบุญให้ได้ผลานิสงษ์อันงามจริง ทั้งเปนที่พอพระราชหฤทัยพระเจ้าแผ่นดินด้วยแล้ว ก็ขอให้สร้างโรงเรียนขึ้นเถิด การที่จะสร้างวัดขึ้นใหม่ไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ถ้าแม้ว่ามีความประสงค์จะทำการอันใดซึ่งเป็นทางสร้างวัด ขอชักชวนให้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้วให้ดีงามต่อไป ดีกว่าที่สร้างวัดขึ้นใหม่แล้วไม่รักษา ทิ้งให้โทรมเป็นพงรกร้าง ฤๅร้ายกว่านั้นคือกลายเปนที่ซ่องโจรผู้ปล้นพระสาสนาดังมีตัวอย่างอยู่แล้วหลายแห่ง ผู้ที่สร้างวัดไว้ให้เปนซ่องคนขะโมยเพศเช่นนี้ เราเชื่อแน่ว่าไม่ได้รับส่วนกุศลอันใดเลย น่าจะตกนรกเสียอีก ข้อนี้ผู้ที่สร้างวัดจะไม่ใคร่ได้คิดไปให้ตลอด จึงควรอธิบายให้เข้าใจเสียบ้าง

เมื่อพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ได้รับพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาจากราชเลขานุการและถวายร่างประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จากจดหมายราชการกระทรวงธรรมการเลขที่ 283/3530 โดยมีพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบกลับมาว่า “ดีแล้ว ออกได้” จึงได้ประสานและนำเรื่องแจ้งความต่อหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2454[15] มีความดังนี้

แจ้งความกระทรวงธรรมการ

พแนกกรมธรรมการ

ประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน

ด้วยพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ มรรคนายกวัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย แขวงกรุงเทพฯ ยื่นรายงานการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดสุทธิวรารามหลังหนึ่ง มีใจความว่า ปั้น มารดาพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้ถึงแก่กรรมมาตั้งแต่ศก ๑๒๗ บรรดาบุตร์ของปั้น คือ สมบุญ ภรรยาพระวิเชียรคีรี (ชม) ๑ เชื้อภรรยาพระอนันต์สมบัติ (เอม) ๑ พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ๑ เป้าภรรยาพระเพ็ชร์กำแหงสงคราม ๑ หลวงการุญนรากร ๑ ตาบภรรยาพระศรีสังข์กร ๑ ได้ปรารถถึงการที่จะบำเพญกุศลในการฌาปนกิจสนองคุณแห่ง ปั้น มารดาให้เปนสาธารณะประโยชน์ที่มั่นคงจึงได้ตกลงกันเห็นว่า สถานที่ศึกษาเปนสิ่งสำคัญอันเปนประโยชน์ให้กุลบุตร์ได้อาศรัยเล่าเรียน ซึ่งเป็นเวลาต้องการของบ้านเมืองด้วย แลเมื่อปั้นยังมีชีวิตอยู่ได้เปนมรรคนายิกา วัดสุทธิวราราม ตลอดมาจนถึงแก่กรรม จึ่งคิดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ เพื่อให้เปนเกียรติคุณแห่งปั้นมารดานั้น พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ผู้เปนหัวน่า ได้หารือต่อกรมศึกษาธิการ ๆ เห็นเปนการสมควร จึ่งได้ออกแบบตัวอย่างที่จะก่อสร้างให้เหมาะแก่ที่จะใช้เปนโรงเรียน พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ได้จัดการก่อสร้างตามที่กรมศึกษาธิการได้ให้แบบตัวอย่างนั้น เปนตึก ๒ ชั้น กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว ยาว ๑๓ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว สูงแต่พื้นชั้นล่างถึงเพดาน ๔ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ตัวไม้ใช้ไม้สักทั้งหมด หลังคามุงกระเบื้องสิเมนต์ สิ้นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท กับทำโรงอาหารอีกหลังหนึ่ง กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ยาว ๙ วา เสาใช้ไม้เต็งรัง เครื่องบนไม้สัก พื้นแลฝาใช้ไม้สิงคโปร์ หลังคามุงสังกะสี สิ้นงาน ๙๐๐ บาท แลเครื่องใช้สำหรับโรงเรียนก็ได้ทำแลซื้อให้บางอย่าง คือ ตู้ห้องสมุด ๑ ตู้ ตู้เก็บของ ๖ ตู้ โต๊ะสำหรับเขียนหนังสือ ๗ โต๊ะ กระดานดำ ๔ แผ่น ป้ายชื่อโรงเรียนหนึ่งแผ่น ถึงน้ำ ๑ ถัง รวมเงิน ๖๔๐ บาท รวมทั้งสิ้นเปนเงิน ๒๒,๕๐๔ บาท เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ใช้สถานที่นี้กระทำการฌาปนกิจศพปั้นแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้แล้ว แลได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่กรมศึกษาธิการใช้ที่สถานที่ศึกษาตามที่เจตนาไว้ กรมศึกษาธิการได้รับแลเปิดใช้เปนโรงเรียนมัธยม เรียกว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ เปนต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียน ขอพระราชทานถวานพระราชกุศล

กระทรวงธรรมการได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชกระแสมาว่า แต่ก่อนมาผู้ใดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาก็มักจะสร้างวัดขึ้น การสร้างวัดขึ้นใหม่เช่นนั้น โดยมากก็คงอยู่ได้ชั่วคราว คือ ชั่วอายุแลกำลังของบุคคลที่จะปกครองรักษา ถ้าขาดความทนุบำรุงเมื่อใดวัดที่สร้างขึ้นไว้ก็รกร้างว่างเปล่าเปนป่าพง อันเปนที่พึงสลดใจแห่งพุทธสาสนิกชน ใช้แต่เท่านั้น แม้วัดซึ่งยังเปนที่อาศรัยได้อยู่บ้าง แต่ขาดความปกครองอันดี ปล่อยให้ทรุดโทรมรถเรื้อเลวทราม ก็กลับจะเป็นซ่องที่อาศรัยแอบแฝงของผู้ประพฤติชั่ว สถานที่ซึ่งตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้กลับเปนทางชั่วร้าย มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักร์แลอาณาจักร์เลย

การที่พวกบุตร์ของปั้นมีน้ำใจศรัทธาบำเพญกุศลโดยวิธีสร้างโรงเรียนอันเปนสิ่งต้องการในสมัยนี้ขึ้น ให้เปนที่ศึกษาของประชาชน นับว่าเปนการแผ่ผลให้เปนสาธารณประโยชน์ต่อไปเช่นนี้ ทรงพระราชดำริห์เห็นมั่นในพระราชหฤทัยว่า จะมีผลดีทั้งฝ่ายพระพุทธจักร์แลอาณาจักร์ จะเปนผลานิสงษ์อันงามจริง เปนอันพอพระราชหฤทัย แลต้องด้วยพระราชนิยมยิ่งนัก จึงทรงสรรเสริญแลทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลอันนี้ แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชนิยมอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าผู้ใดมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา ประสงค์จะบำเพญกุศลให้เป็นผลานิสงษ์อันดีจริงแล้ว ก็ควรจะถือเอาการสร้างโรงเรียนว่าเปนการกุศลที่จะพึงกระทำวันหนึ่งได้ ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะทำการอันใดซึ่งเปนทางสร้างวัด ก็ควรที่จะช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้ว ให้ดีงามแลสืบอายุให้มั่นคงถาวรต่อไปดีกว่าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วไม่รักษา ปล่อยให้ทรุดโทรมเปนที่น่าสังเวช อันเปนทางที่จะชักพาให้คนมีใจหมิ่นประมาทในพระพุทธสาสนากอบไปด้วยโทษดังกล่าวแล้วนั้น
กระทรวงธรรมการจึงได้รับพระบรมราชโองการเชิญกระแสพระราชดำริห์แลพระราชนิยมนี้ออกประกาศให้มหาชนทราบทั่วกัน ๚

แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐

จากหลักฐานที่พบจึงสามารถระบุได้ว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนแห่งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการใช้เป็นโรงเรียน ซึ่งต้องด้วยพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียนแทนวัด"

ในปีวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จมาตรวจโรงเรียน มีหลวงอนุพันธ์ฯ เจ้าพนักงานจัดการแขวงตะวันออกใต้เป็นผู้นำเสด็จ

เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี ทางรัฐบาลจึงส่งทหารเข้ายึดพื้นที่ที่ดินของบริษัทวินด์เซอร์โรซซึ่งชาวเยอรมันเช่าที่วัดสุทธิวรารามอยู่ โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามจึงได้ขยายพื้นที่โรงเรียนออกไป โดย ขุนสุทธิดรุณเวทย์ (ชื่น วิเศษสมิต) ครูผู้ปกครอง ได้ขอที่ดินดังกล่าวจากเจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม เพื่อสร้างโรงเรียนชั้นประถม จึงรื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางตะวันตก เป็นแผนกประถมของโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม เมื่อแล้วเสร็จ กระทรวงธรรมการเห็นควรให้เปิดโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแผนก จึงได้เปิดเป็น โรงเรียนสตรีวัดสุทธิวราราม อยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม มีรั้วกั้นอาณาเขตแต่มีประตูเดิมเชื่อมถึงกันได้ โดยนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามเดินเข้าออกโรงเรียนทางถนนเข้าสะพานปลา

ในสมัยที่ขุนชำนิขบวนสาสน์เป็นผู้บริหารโรงเรียน จัดการเปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 ชั้น รวมทั้งสิ้น 12 ห้อง คือ ชั้นประถมสามัญ 1-3 มัธยมสามัญตอนต้น ม.1-3 และมัธยมสามัญตอนกลาง ม.4-6 ไม่มีมัธยมสามัญตอนปลายคือ ม.7-8 นักเรียนที่ประสงค์จะเรียนต่อในระดับชั้นดังกล่าว จะต้องไปศึกษาที่อื่น ซึ่งในขณะนั้นเปิดรับสมัครอยู่ 2 แห่ง คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนเทพศิรินทร์

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เวลา 04.00 น. เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตลาดบ้านทวาย[16] แล้วลุกลามมาถึงโรงเรียนชั้นประถมและบริเวณห้องสมุด กระทรวงธรรมการจีงได้สร้างตึกหลังใหม่ให้ต่อต่อกับตึกหลังเดิม โดยยื่นไปทางทิศใต้เป็นรูปตัวแอล ไม่ปรากฏว่าชั้นประถมมีการเปิดดการเรียนการสอนต่อหรือไม่

ต่อมาในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 สมัยที่ขุนชำนิขบวนสาสน์ดังรงตำแหน่งรักษาการอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งที่ 2 กระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้นใหม่ที่ตรอกยายกะตา โดยใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสตรีบ้านทวาย ปัจจุบันคือ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย และอพยพนักเรียนสตรีไป

ปลายปีการศึกษา 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวรารามก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดเป็นค่ายพักอาศัยชั่วคราว โรงเรียนจึงต้องปิดทำการสอน ไม่มีการจัดสอบไล่ กระทรวงธรรมการจึงใช้ผลการเรียนและเวลาเข้าเรียนเป็นการตัดสินสอบได้-ตก

ในปีต่อมา สงครามทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายบริษัทบอร์เนียว ทำให้อาคารโรงเรียนด้านตะวันตก ส่วนที่เป็นห้องเก็บเครื่องมือวิทยาศาสตร์ถูกทำลายไปด้วย รัศมีการทำลายของระเบิดกินเนื้อที่ไปถึงอู่กรุงเทพ เมื่อโรงเรียนไหม้หมดแล้ว หินอ่อนแผ่นสูงจารึกพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนก็ได้อันตรธานหายไปในครั้งนั้น[17][18] ระยะนี้นักเรียนต้องอาศัยศาลาเชื้อ ณ สงขลา (สีเหลือง) ศาลาการเปรียญในวัดสุทธิวรารามเป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมากระทรวงธรรมการจึงได้สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวมุงจาก ฝาลำแพน (ปัจจุบันคือที่ตั้งอาคารเฉลิมพระเกียรติร. 9) เป็นที่เรียนชั่วคราว

พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสร้างอาคาร 2 ชั้น คืออาคาร 1 ซึ่งรื้อถอนออกแล้ว ออกแบบโดยหลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม) จึงได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช กระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491

ต่อมาเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2495 ได้รื้อเรือนหลังคามุงจากออก พอถึงเดือนตุลาคมจึงได้มีการสร้างอาคาร 3 ชั้น คืออาคาร 2 ซึ่งปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว กับหอประชุมอีก 1 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงได้งบประมาณต่อเติมอาคาร 2 และอาคาร 3ซึ่งมี 2 ชั้น และหอประชุมจนเสร็จสมบูรณ์ หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา จึงเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายมังกร พรหมโยธี มาเปิดอาคารทั้ง 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2498

ในปี พ.ศ. 2503 - 2505 ได้ตัดชั้นมัธยมปีที่ 1, 2 และ 3 ออกปีละลำดับชั้น และในปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชั้นมัธยมปีที่ 4-6 เป็น"ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3" แลเปลี่ยนชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1-2 เรียกว่า "ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5"(ปัจจุบันคือ ชั้นมัธยมปีที่4-6)

ใน พ.ศ. 2511 ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างกำแพงหน้าโรงเรียนใหม่ โดยรื้อของเก่าทิ้งและสร้างหอประชุม ห้องอาหารขึ้นอีกหนึ่งตึก เป็นตึกชั้นเดียวไม่มีฝาผนังอยู่หลังตึก 1

ปลาย พ.ศ. 2512 ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างตึกอาคารเรียน 3 ชั้นยาวตามแนวขนานกับถนนเจริญกรุง บริเวณหน้าโรงเรียน ขึ้นอีกตึกหนึ่ง คืออาคารสุทธิ์รังสรรค์(ตึก 4) ในปัจจุบัน และย้ายเสาธงกลางสนามมาตั้งใหม่(หน้าอาคาร 7 ในปัจจุบัน) ส่วนบริเวณเสาธงเดิมได้สร้างสนามบาสเก็ตบอลแทนที่สนามเก่าที่ถูกทำลายลงในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา

ในปีงบประมาณ 2515 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณ จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 6 ชั้น มีชื่อว่าอาคารปั้นรังสฤษฏ์ มีจำนวน 18 ห้องเรียน ปีงบประมาณ 2519 ได้รับงบประมาณ จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคาร 3 ชั้น ปัจจุบันคืออาคารวิจิตรวรศาสตร์ เป็นอาคารอเนกประสงค์ และเนื่องจากสมัยนั้นโรงเรียนประสบปัญหาเรื่องสถานที่เรียนของนักเรียนเป็นอย่างมาก ปีหนึ่งๆมีนักเรียนสมัครเรียนจำนวนมากจนมีห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องแบ่งนักเรียนเรียนเป็น 2 ผลัดซึ่งยากแก่การปกครองดูแล ในปีงบประมาณ 2520 ทางโรงเรียนจึงได้รับงบประมาณ จำนวน 6 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น เรียกว่าอาคารพัชรนาถบงกช มีจำนวน 18 ห้องเรียน เมื่อปีการศึกษา 2523 เนื่องจากมีสถานที่เรียนเพียงพอ จึงได้มีการเรียนการสอนเป็นผลัดเดียว

ไฟล์:อาคารเรียนตึก 9 ปี 2554.JPG
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9

ปีงบประมาณ 2530 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐาน 306 ล./27 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างแทนที่อาคาร 3 หลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 คืออาคารพัชรยศบุษกร

ปีการศึกษา 2532 พลเอกประเทียบ เทศวิศาล นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พร้อมด้วยอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน นายสุชาติ สุประกอบ คณะครู-อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองได้จัดทอดผ้าป่าสร้างอาคารธรรมสถานบริเวณทางเข้าโรงเรียน ประดิษฐานหลวงพ่อสุทธิมงคลชัย พระพุทธรูปประจำโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,600,000 บาทเศษ

ปีงบประมาณ 2533 ได้รับงบประมาณ 3,775,000 บาท สร้างแฟลตนักการภารโรง จำนวน 20 หน่วย 1หลัง ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้ต่อเติมห้องเรียนอีก5ห้องบริเวณชั้นล่างอาคารปั้นรังสฤษฏ์ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปีเดียวกัน เป็นปีครบรอบ 80 ปีวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม คณะศิษย์เก่า รุ่น 2500 ได้ร่วมกันจัดสร้างรูปปั้น ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพื่อให้ทุกคนได้สักการบูชา

ปีการศึกษา 2535 ได้รับอนุมัติงบประมาณของปี 2536 จำนวน 9,000,000 บาท และปี 2537 ผูกพันงบประมาณอีก 50,400,000บาท จากกรมสามัญศึกษา ก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้รับพระบรมราชานุญาติ ให้ใช้ตรากาญจนาภิเษก ประจำอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตึก 9) เริ่มใช้เมื่อปีการศึกษา 2537

ปีการศึกษา 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิดนิทรรศการ "ศตวัชรบงกช 100 ปี วัดสุทธิวราราม" เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อหารายได้ก่อสร้างเพิ่มเติมหอประชุมชั้น 10 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตึก 9)

สัญลักษณ์

ตรา

ไฟล์:Logo Suthi Transparency.png
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม[1]
ดอกบัว
ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความรู้แจ้ง
เพชร
เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง
"ดอกบัว" เป็นดอกไม้ที่เปรียบได้กับความบริสุทธิ์ สะอาด ชาวพุทธใช้ดอกบัวสำหรับเป็นพุทธบูชา หมายความว่า นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามทุกคนมีความสะอาด บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา และใจ [12]
"เพชร" เป็นอัญมณีล้ำค่า มีความแข็งแกร่งในตนเอง มีความงามจากเหลี่ยมต่างๆที่เปล่งประกาย โดยมีช่างฝีมือยอดเยี่ยมในการเจียระไน หมายความว่า นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามจะต้องเข้มแข็ง มีความเป็นลูกผู้ชาย เมื่อได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ และคุณธรรมแล้ว จึงเปรียบเสมือนเพชรที่ได้รับการเจียระไนจากครูบาอาจารย์ ย่อมทรงคุณค่าและเปล่งประกายแห่งความดี [12]

สี

"ชมพู - ขาว - เขียว"
  • สีชมพู แทน ความสุภาพเรียบร้อยอ้อนน้อมถ่อมตน
  • สีขาว แทน ความ บริสุทธิ์ยึดมั่นในศีลธรรม
  • สีเขียว แทน ความเจริญงอกงามอย่างเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ต่อมาได้ขยายความหมายให้สอดคล้องกับการเป็นสัญลักษณ์ของสีธงชาติ เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามทุกคน ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศชาติ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์[19] โดย
  • สีชมพู แทน สีแดง
  • สีขาว แทน สีขาว
  • สีเขียว แทน สีน้ำเงิน

องค์กรสี

โรงเรียนมีองค์กรสีประจำโรงเรียน 5 องค์กร ชื่อขององค์กรสีล้วนมีความหมายถึง ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียน โดยแบ่งคณะครูตามกลุ่มสาระ และ แบ่งนักเรียนตามหมายเลขประจำตัวนักเรียน ได้แก่

  • ██ สีเหลือง อินทรปัทม์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เลขประจำตัวนักเรียนลงท้ายด้วย 0,1
  • ██ สีแสด สัตตบุศย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เลขประจำตัวนักเรียนลงท้ายด้วย 2,3
  • ██ สีฟ้า โกมุทมาศ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เลขประจำตัวนักเรียนลงท้ายด้วย 4,5
  • ██ สีแดง กาจโกมล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เลขประจำตัวนักเรียนลงท้ายด้วย 6,7
  • ██ สีม่วง จงกลรัตน์ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เลขประจำตัวนักเรียนลงท้ายด้วย 8,9

สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีนั้นจะกระจายอยู่ในแต่ละคณะสี

พระบรมราชานุสาวรีย์

ไฟล์:พระบรมราชานุสารีย์ ร.6 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.JPG
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ในงานศตวัชรบงกช
ไฟล์:ถวายบังคม โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.JPG
การถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ ในพิธีหน้าเสาธงทุกเช้าก่อนเข้าเรียน

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ครบรอบวันสถาปนาโรงเรียน 96 ปี ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน ชื่อ "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การนี้คณะกรรมการดำเนินงานจึงมีฉันทานุมัติให้พระเทพภาวนาวิกรม (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นประธานดำเนินการในพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 09.39 น. ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน[20]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงชื่นชม สนับสนุนการก่อตั้งโรงเรียน ประดิษฐาน ณ บริเวณด้านหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เป็นที่เคารพสักการะและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของครู นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียน โดยมีการถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ในพิธีหน้าเสาธง ก่อนเข้าเรียน เป็นประจำ

ธรรมสถาน

ไฟล์:ธรรมสถาน.JPG
บริเวณด้านหน้าของธรรมสถานประดิษฐานรูปหล่อท่านปั้น ภายในอาคารทรงไทยประดิษฐานพระพุทธสุทธิมงคลชัย

ธรรมสถานจัดสร้างขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ธรรมสถานหลังเก่า ในสมัยผู้อำนวยการ สุชาติ สุประกอบ โดยมี พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าของโรงเรียน เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสุทธิมงคลชัยและเป็นที่ตั้งของศาลพระภูมิเจ้าที่

พระพุทธสุทธิมงคลชัย หรือ หลวงพ่อสุทธิมงคลชัย พระพุทธรูปประจำโรงเรียน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ตั้งอยู่ ณ ธรรมสถาน บริเวณทางเข้าโรงเรียน เมื่อนักเรียน บุคลากรของโรงเรียนผ่านเข้าออกบริเวณโรงเรียนจะไหว้ทำความเคารพเสมอ

รูปหล่อท่านปั้น อุปการโกษากร ท่านปั้น อุปการโกษากร หรือ นางอุปการโกษากร (ปั้น ณ สงขลา วัชรภัย) มรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ภริยาหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) บุตรีเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ 6 กับ ท่านผู้หญิงสุทธิ์ บุตรีพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) ผู้ปฏิสังขรณ์วัดลาว ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุทธิวราราม" ตามนามท่านผู้หญิงสุทธิ์นั้นเอง ภายหลังจากที่ท่านปั้นถึงแก่กรรม บรรดาทายาทของท่านปั้นมีความประสงค์จะจัดสร้างอนุสรณ์สถานเพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นในที่ดินเดิมของท่านปั้นที่ได้ยกให้แก่วัด เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมและให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติ โดยให้ชื่อว่า โรงเรียนวัดสุทธิวราราม[4]

คทาครุฑพระราชทาน

ไฟล์:ตรัสชมเชย.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชมเชยว่าแตรวงโรงเรียนวัดสุทธิดีมาก

ใน พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีกระแสพระราชดำรัส ทรงชมเชยวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามว่า "แตรวงวัดสุทธิวรารามดีมาก" นักเรียนดุริยางค์ในสมัยนั้น ประกอบด้วย หม่อมหลวงสุรพันธ์ ศรีธวัช จีรศักดิ์ พิมลพัฒนธรรม ศุภชัย จิวะไพบูลย์ศักดิ์ อำนวย จอกแก้ว และศักดิ์ บริสุทธิกุล จึงเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนส่วนยอดของคทาจาก"สิงโตเหยียบมงกุฎ" สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์อังกฤษ เป็น "ครุฑ" สัญลักษณ์ประจำพระมหากษัตริย์ไทย เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้จัดทำคทาครุฑขึ้น เป็นวงแรกของโรงเรียนทั่วประเทศ ออกใช้ครั้งแรกในการประกวดแตรวง การชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี ในพ.ศ. 2504

ใน พ.ศ. 2510 วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เห็นว่ามีความไม่เหมาะสมในการใช้คทาครุฑเช่นดังคทาทั่วไป จนบางครั้งคทาครุฑตกลงบนพื้น ไม่บังควร จึงเห็นควรให้จัดทำคทาครุฑขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยสมบูรณ์แล้วออกใช้เฉพาะกับกองเกียรติยศเท่านั้น จึงได้มีการหาครุฑตัวใหม่ขึ้นทดแทน โดยได้จัดซื้อตัวครุฑซึ่งเคยประดับรถยนต์พระที่นั่งและนำกลับมายังโรงเรียน อาจารย์แสวง บุตรน้ำเพ็ชร ผู้ควบคุมวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม กับอาจารย์จรูญ เทียมศักดิ์ จึงเข้าพบนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เพื่อปรึกษาในการกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ในการประดับครุฑบนหัวคทา และอัญเชิญคทาครุฑสำหรับใช้นำแถวกองเกียรติยศอย่างเป็นทางการ โดยนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เป็นผู้อนุเคราะห์รับเป็นธุระดำเนินการ และมีพระบรมราชานุญาตให้นำคทาครุฑออกใช้งานในลักษณะการนำขบวนกองเกียรติยศเพื่อรับเสด็จได้ตามที่ขอไว้ นับแต่นั้น "คทาครุฑพระราชทาน" ก็ได้ออกใช้ในการรับเสด็จฯ พระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาศต่างๆ วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จึงเป็นวงดนตรีวงแรกและวงเดียวในประเทศไทยที่ได้รับเกียรตินี้[12][19]

ภายหลังใน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่าย "คทาครุฑ" เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อครั้งที่เสด็จฯมาทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเฉลิมพระเกียรติร.9 อีกด้วย

อาคารเรียน

แผนผังโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

ปัจจุบันโรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีอาคารเรียนจำนวน 7 อาคาร ชื่อของอาคาร 6 หลังถูกตั้งชื่อให้ คล้องกัน ดังนี้ "สุทธิ์รังสรรค์ ปั้นรังสฤษดิ์ วิจิตรวรศาสน์ พัชรนาถบงกช พัชรยศบุษกร ขจรเกียรติวชิโรบล" ตามบุคคลสำคัญและสัญลักษณ์ของโรงเรียน[12]

  1. อาคาร 4 สุทธิ์รังสรรค์
  2. อาคาร 5 ปั้นรังสฤษฎ์
  3. อาคาร 6 วิจิตรวรศาสน์
  4. อาคาร 7 พัชรนาถบงกช
  5. อาคาร 3 พัชรยศบุษกร
  6. อาคาร 9 เฉลิมพระเกียรติ ร.๙
  7. อาคารทางเชื่อม ขจรเกียรติวชิโรบล

หลักสูตร

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โครงการพิเศษ

  • โครงการภาษาอังกฤษภาคพิเศษ (English Proficiency Course) เรียกโดยทั่วไปว่า Intensive Course
  • โครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ภาคปกติ

  • หลักสูตร คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์
  • หลักสูตร คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • หลักสูตร คณิตศาสตร์ - ภาษาจีน
  • หลักสูตร คณิตศาสตร์ - ภาษาฝรั่งเศส

โครงการพิเศษ

  • โครงการภาษาอังกฤษภาคพิเศษ (English Proficiency Course) เรียกโดยทั่วไปว่า Intensive Course
  • โครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program)
  • โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศด้านดนตรี (Honors Program) ในความร่วมมือกับคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ในอดีตเคยมี โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพพ.) (อังกฤษ: Special Project for Outstandings StudentsTowards High School Certificate) สังกัดกรมสามัญศึกษา หรือหลักสูตรเร่งรัด 2 ปี

ชีวิตภายในโรงเรียน

วันสำคัญ

วันสถาปนาโรงเรียน

เนื่องด้วยวันที่ 3 กรกฎาคม เป็นวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ทางโรงเรียนจึงได้จัดงานวันสถาปนาโรงเรียน โดยเลือกในช่วงวันที่ 3 - 10 กรกฎาคมของแต่ละปี ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน อาทิ พระพุทธสุทธิมงคลชัย, ท่านปั้น อุปการโกษากร และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งนมัสการพระสงฆ์ เพื่อทำบุญโรงเรียนในช่วงเช้า บริเวณสนามโรงเรียน หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเพณีของโรงเรียน

กิจกรรมวันมุฑิตาจิต

ฟุตบอลประเพณี

ฟุตบอลประเพณี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เป็นการแข่งขันกีฬา ฟุตบอล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละปี เพื่อการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างระดับชั้นก่อนสำเร็จการศึกษา จัดโดยคณะกรรมการนักเรียน ในช่วงภาคเรียนที่ 1 โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ทางคณะกรรมการนักเรียนตัดสินใจ ใช้ชื่อ "ปั้นรังสฤษฎ์เกม" สำหรับการแข่งฟุตบอลประเพณี ตามชื่อของอาคารปั้นรังสฤษฎ์ ซึ่งเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในช่วงนั้น และมีชื่อคล้ายกับ ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม

กิจกรรมภายในโรงเรียน

กิจกรรมภายในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเรียน ประกอบไปด้วย กิจกรรม Suthi Music Award, กิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษา, กิจกรรมเทศน์มหาชาติ และ กีฬาสี "พัชรบงกชเกม เป็นต้น

กีฬาสี

กีฬาสีโรงเรียนวัดสุทธิวรารามใช้ชื่อว่า "พัชรบงกชเกมส์" โดยจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 2 เป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยส่วนมากจะจัดในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม โดยเป็นการแข่งขันกีฬาภายในของนักเรียนทุกระดับชั้น อาทิ ฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง แบดมินตัน และ ชักเย่อ เป็นต้น

  • การจัดงานกีฬาสีขึ้นภายนอกโรงเรียน

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีการจัดงานกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2520 ที่สนามศุภชลาศัย ในสมัยของนายเจิม สืบขจร เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2532 ได้มีการริเริ่มกิจกรรมแปรอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในครั้งนั้นจัดขึ้นที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนามจารุเสถียร หรือ สนามจุ๊บ) โรงเรียนวัดสุทธิวรารามมีการจัดกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเรื่อยมา โดยจัดขึ้นที่สนามกีฬาอื่นๆอีก เช่น สนามศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด เป็นต้น โดยการจัดกิจกรรมกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ในปีการศึกษา 2544 จัดขึ้นที่สนามเทพหัสดิน กรีฑาสถานแห่งชาติ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จากนั้นตราบจนปัจจุบันก็ไม่มีการจัดงานกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนอีกเลย

กิจกรรมเชียร์

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนที่เข้าศึกษาในแต่ละปีนั้น จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมเชียร์ เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนวันงานกีฬาสี ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนชั้น ม.1 ทุกคนจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินนักเรียน ตามมาตรฐานของโรงเรียน โดยเป็นระดับชั้นที่จะขึ้นอัฒจรรย์เชียร์ทั้งในงานกีฬาสี และการแข่งขันกิจกรรมอื่นๆของโรงเรียน ทั้งนี้ได้ปฏิบัติการสืบต่อ จนกลายเป็นหนึ่งในประเพณีการรับน้อง โดยมีรุ่นพี่ คณะครู และคณะกรรมการนักเรียน ร่วมดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์

Suthi Music Award

ในแต่ละปีคณะกรรมการนักเรียน จะจัดงานแข่งขันดนตรี Suthi Music Award ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเพื่อสนับสนุนนักเรียนที่มีความสามารถทางดนตรีให้มีเวทีในการแสดงออก รวมไปถึงการสร้างความบันเทิงภายในโรงเรียน โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา เริ่มมีการนำศิลปินรับเชิญเข้ามาแสดงหลังจบงาน โดยนักเรียน ศิษย์เก่า คณะครู ผู้ปกครอง สามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนนักเรียนต่างโรงเรียนนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโรงเรียน และคณะกรรมการนักเรียน

ชื่องาน (ปี) ศิลปินรับเชิญ วงชนะเลิศการแข่งขัน
Suthi Music Award 103 (2557)
  1. Abuse The Youth
  2. Scrubb
  3. Ebola
The Story
Suthi Music Award 104 (2558)
  1. Ten to Twelve
  2. Retrospect
-

ชมรม และชุมนุม

ภายในโรงเรียนวัดสุทธิวราราม อนุญาตให้เด็กนักเรียนจัดตั้งชมรม และชุมนุมภายในโรงเรียนได้อย่างอิสระ โดยภายในแต่ละชุมนุมนั้น ต้องมีคุณครูที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คนและนักเรียนไม่ต่ำกว่า 5 คน จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ภายในโรงเรียนมีชุมนุม และชมรมรวมกันกว่า 105 ชมรม แบ่งได้เป็นทั้งด้านวิชาการ ด้านสันทนาการ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านความบันเทิง ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน และด้านศาสนา

ลูกเสือกองร้อยพิเศษวัดสุทธิวราราม

วงดุริยางค์สุทธิวราราม

วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 โดย นายเปรื่อง สุเสวี ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในสมัยนั้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีความรู้ทางดนตรี และให้เป็นวงดนตรีนำแถวกองลูกเสือของโรงเรียน วงดุริยางค์ของโรงเรียนสุทธิวรารามได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรุ่นพี่ช่วยดูแล ปกครองรุ่นน้องตลอดมา และพัฒนารูปแบบการแสดงเป็นคอนเสิร์ตในปี พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทาน " คฑาครุฑ" จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นวงดนตรีวงเดียวในประเทศไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้ วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสแสดงต่อสาธารชนทั้งในงานของภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งมีโอกาสแสดงต่อหน้าที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ผ่านสำนักพระราชวัง และให้ทำหนังสือชมเชย ว่าแสดงได้ดีมาก และต่อมาวงดุริยางค์ของโรงเรียนได้ส่งเข้าประกวดครั้งแรก พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันดุริยางค์เอเซียน ครั้งที่ 14 ณ ประเทศอินโดนีเซีย จากการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ทางวงดุริยางค์ได้นำประสบการณ์ต่างๆในการบรรเลงและฝึกซ้อม มาใช้พัฒนาวงต่อไป วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามยังมีส่วนร่วมในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ โดยร่วมเดินขบวนพาเหรดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้วงดุริยางค์จากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก นอกจากนี้ยังวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามยังเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี ในวันปิยมหาราชและวันวชิราวุธเป็นประจำทุกปีอีกด้วย ปัจจุบันวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เปิดทำการสอนและฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่นักเรียนที่เป็นสมาชิกของวงดุริยางค์ โดยครูและรุ่นพี่ดุริยางค์ ที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ด้านดนตรีสากล โดยทำการเปิดรับสมาชิกทุกปี และในวาระครบรอบ 60 ปี ในปี 2559 อนุพงษ์ อมาตยกุล ศิษย์เก่าและผู้ฝึกสอน วงดุริยางค์สุทธิวราราม จึงได้ประพันธ์เพลง "๖๐ ปี ด.ย.ส.ธ." ขึ้นมา เพื่อฉลองวาระดังกล่าว

วงดนตรีไทยโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

ศูนย์กีฬาฟุตบอลโรงเรียน

ชุมนุมคอมพิวเตอร์

ห้องชุมนุมคอมพิวเตอร์ ตั้งอยู่อาคารพัชรนาถบงกช ชั้น ๒ เดิม ได้รับทุนจัดสร้างโดย คุณ ชาญ อัศวโชค เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นห้องชุมนุมคอมพิวเตอร์ หรือ SCC ย่อมาจาก Suthi Computer Club มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 สำหรับใช้ฝึกฝนนักเรียนในชุมนุมคอมพิวเตอร์ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เว็บ กราฟิก และหุ่นยนต์ ซึ่งมีผลงานที่นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนหลายประการ เช่น การประกวดชนะเลิศการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ ของ สสวท. เมื่อปีการศึกษา 2546 และการประกวดชนะเลิศโครงงานเครื่องรดน้ำต้นไม้และให้อาหารปลาผ่านโทรศัพท์ มือถือ ของสสวท. ปีการศึกษา 2547 เป็นต้น ปัจจุบันมีอาจารย์พัชรี เนตรน้อย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุม ชุมนุมคอมพิวเตอร์ยังดำเนินโครงการต่างๆ ได้แก่ การจัดการแข่งขัน Suthi Website Contest ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ,การแข่งขัน Suthi Website Contest ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, Suthi Robot Contest,Suthi Quick Quiz IT Contest โครงการการจัดอบรมความรู้ โครงการ 2B Professional โครงการ Youth IT และค่ายอาสา ค่ายชุมนุมคอมพิวเตอร์สานฝันน้อง เป็นต้น

ชุมนุมสุทธิวิทยากล

ชุมนุมสุทธิวิทยากล จัดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยนักเรียนรวมกลุ่มกัน30คน มีนายไพฑูรย์ ยิ้มเลิศวงศ์เป็นหัวหน้า และได้เรียนเชิญครูวิพรภัทร์ พีรศักดิ์สุนทร(มนัสนันท์ ทองทา)เป็นครูที่ปรึกษาชมรมและได้จัดทำหลักสูตรการสอนมายากลกับคณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียน และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ มีความเป็นผู้นำ และมีนักมายากลมืออาชีพคือคุณไฉน แสงทองสุข มาช่วยสอนเทคนิคมายากล ท่านยังดำรงตำแหน่งนายกสามคมผู้ปกครองครูและนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามในอดีต ชุมนุมสุทธิวิทยากลจัดการแข่งขันมายากลระดับเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย และการแข่งขันมายากลเยาวชนนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประจำทุกปี

เกียรติประวัติและมาตรฐานคุณภาพ

เกียรติประวัติโรงเรียน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงินรางวัลแก่โรงเรียน จำนวน 2,000 บาท จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากนักเรียนในระดับชั้นม.ศ. 5 สอบได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 สามปีติดต่อกัน

ได้รับเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงว่าโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้ดำเนินการใช้หลักสูตรดีเด่น สมควรเป็นผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2530

ได้รับหนังสือชมเชยจากกรมสามัญศึกษาว่าเป็น "โรงเรียนที่ได้มีการพัฒนาและมีคุณภาพการศึกษาในเกณฑ์ที่ดี" เนื่องจากทำสถิติสูงสุดในการผ่านการสอบคัดเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาหลายสมัย

ได้รับประกาศนียบัตรจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น "โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นในเขคกรุงเทพมหานคร" ประจำปีการศึกษา 2530

  1. ได้รับคัดเลือกให้เป็น โรงเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2535
  2. ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติว่าเป็น "โรงเรียนที่สามารถอบรมนักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม"

ได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น "โรงเรียนที่มีห้องสมุดดีเด่น" ประจำปีการศึกษา 2539

  1. ได้รับประกาศนียบัตรจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่ห้องสมุด "พัฒนาได้มาตรฐานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญนาภิเษก"
  2. ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ที่ตั้งสูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สาขาวิชากิจกรรมของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  3. ได้รับโล่จากคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในงานวันเด็กแห่งชาติ แสดงว่าโรงเรียนมีนักเรียนได้รับการยกย่องว่าประพฤติดี มีคุณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด ประจำปี 2540
  1. ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดย นักเรียนจำนวน 1600 คน แสดงชุดสหพันธไมตรี ในพิธีเปิดการแข่งขัน และ วงโยธาทิตของโรงเรียนแสดงในพิธีการ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน
  2. ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นต่อจากกีฬาเอเชียนเกมส์ในการเข้าร่วมเป็นกองเชียร์ประเทศนิวซีแลนด์

มาตรฐานคุณภาพ

ได้รับการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับ ดีมาก[ต้องการอ้างอิง]

ผู้อุปการะโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

รายนามผู้บริหารโรงเรียน

ลำดับ รูป รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ไฟล์:พุ่ม-อังศุกสิกร.jpg พระยาวิจิตรวรสาสน์
(พุ่ม อังศุกสิกร)
อาจารย์ใหญ่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2467
2[# 1] ไฟล์:ถนอม-นาควัชระ.jpg ขุนชำนิขบวนสาสน์
(ถนอม นาควัชระ)
รักษาการอาจารย์ใหญ่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
3 ไฟล์:หม่อมหลวงแหยม-อินทรางกูร.jpg พระยาศึกษาสมบูรณ์
(หม่อมหลวงแหยม อินทรางกูร)
อาจารย์ใหญ่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 1 มีนาคม พ.ศ. 2474
ไฟล์:ถนอม-นาควัชระ.jpg ขุนชำนิขบวนสาสน์
(ถนอม นาควัชระ)
รักษาการอาจารย์ใหญ่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2474 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2475
4 ไฟล์:ทรง-ประนิช.jpg หลวงทรงวิทยาศาสตร์
(ทรง ประนิช)
อาจารย์ใหญ่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476
5[# 2] ไฟล์:สวัสดิ์-สุมิตร.jpg หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ
(สวัสดิ์ สุมิตร)
อาจารย์ใหญ่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2480
6 ไฟล์:ชด-เมนะโพธิ.jpg หลวงดรุณกิจวิฑูร
(ชด เมนะโพธิ)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2480 พฤษภาคม พ.ศ. 2483
7 ไฟล์:จรัส-บุนนาค.jpg หลวงจรัสการคุรุกรรม
(จรัส บุนนาค)
อาจารย์ใหญ่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 7 กันยายน พ.ศ. 2490
8 ไฟล์:โชค-สุคันธวณิช.jpg นายโชค สุคันธวณิช อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2496
9 ไฟล์:เปรื่อง-สุเสวี.jpg นายเปรื่อง สุเสวี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2508
10 ไฟล์:พิพัฒน์-บุญสร้างสม.jpg นายพิพัฒน์ บุญสร้างสม อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2513
11 ไฟล์:พิทยา-ไทยวุฒิพงศ์.jpg นายพิทยา ไทยวุฒิพงศ์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2516
12 ไฟล์:เจิม-สืบขจร.jpg นายเจิม สืบขจร อาจารย์ใหญ่
ผู้อำนวยการ
พ.ศ. 2516 15 มิถุนายน พ.ศ. 2526
13 ไฟล์:เสนาะ-จันทร์สุริยา.jpg นายเสนาะ จันทร์สุริยา ผู้อำนวยการ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2526 30 กันยายน พ.ศ. 2532
14 ไฟล์:สุชาติ-สุประกอบ.jpg นายสุชาติ สุประกอบ ผู้อำนวยการ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 13 สิงหาคม พ.ศ. 2536[# 3]
15 ไฟล์:มาโนช-ปานโต.jpg นายมาโนช ปานโต ผู้อำนวยการ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 30 กันยายน พ.ศ. 2540
16 ไฟล์:ศิริ-สุงคาสิทธิ์.jpg นายศิริ สุงคาสิทธิ์ ผู้อำนวยการ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541[# 4]
17 ไฟล์:ธานี-สมบูรณ์บูรณะ.jpg นายธานี สมบูรณ์บูรณะ ผู้อำนวยการ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 30 กันยายน พ.ศ. 2542
18 ไฟล์:สุรินทร์-ต่อเนื่อง.jpg นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 30 กันยายน พ.ศ. 2543
19 ไฟล์:ประมวญ-บุญญพาพงศ์.jpg นายประมาญ บุญญพาพงศ์ ผู้อำนวยการ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 30 กันยายน พ.ศ. 2545
20 นายมนตรี แสนวิเศษ ผู้อำนวยการ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549
21 นายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป ผู้อำนวยการ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
22 ไฟล์:Mao Zedong portrait.jpg ดร.สุนันทวิทย์ พลอยขาว ผู้อำนวยการ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน


หมายเหตุ
  1. ขุนชำนิขบวนสาสน์ (ถนอม นาควัชระ) ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอาจารย์ใหญ่ รวม 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2467 ถึง ปี พ.ศ. 2472 และครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2474 ถึง ปี พ.ศ. 2475
  2. จากหลักฐานบันทึกกิจการของโรงเรียนสมัย อาจารย์โชค สุคันธวณิช เป็นอาจารย์ใหญ่ ระบุว่า หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) ดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2480 แต่ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในสมุดจดหมายเหตุรายวันของผู้บริหารสมัยหลังๆ ระบุว่า ดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2482
  3. ถึงแก่กรรมในเหตุการณ์โรงแรม รอยัล พลาซ่า ถล่ม เมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ในขณะดำรงตำแหน่ง
  4. ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียง 3 เดือน นับเป็นผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของโรงเรียน

หน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง

สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม (ส.สธ)

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2482 สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม ได้จดทะเบียนเป็นครั้งแรก ณ กรมตำรวจ มีหลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) เป็นนายกสมาคม จึงนับได้ว่า กิจการสมาคมได้เริ่มดำเนินกิจกรรมเป็นทางการตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาแต่ได้หยุดกิจกรรมไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระหว่าง ปี พ.ศ. 2484-2494 เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน และสงครามเอเชียมหาบูรพา และเป็นการสิ้นสุดของคณะกรรมการชุดแรก ต่อมา สมาคมฯได้จดทะเบียนตั้งสมาคมฯขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2496 มีนายบุญลอง วุฒิวัฒน์ เป็นนายกสมาคม คนต่อมา มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการหลายครั้ง ครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 มีนายวรุตม์ วรรณะเอี่ยมพิกุล เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม ชุดปัจจุบัน [22]

สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (ส.ป.ส.ธ.)

มูลนิธิรุจิรวงศ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ชมรมครูเก่าสุทธิวราราม

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนวัดสุทธิวราราม

คณะกรรมการนักเรียน โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (ก.น.)

คณะกรรมการนักเรียน เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จัดตั้งและคัดสรรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานนักเรียน และมอบอำนาจให้ประธานนักเรียนคัดสรรคณะทำงานด้วยตนเอง โดยคัดสรรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 เพื่อสนับสนุนงานด้านกิจกรรมและวิชาการของโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเป็นตัวแทนนักเรียน ในการเสนอจัดทำโครงการต่างๆภายในโรงเรียน หรือร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ อาทิ ฟุตบอลประเพณี (ปั้นรังสฤษฏ์เกม), การประกวดดนตรี Suthi Music Award และกีฬาสี (พัชรบงกชเกม) เป็นต้น และยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะครู ได้ผ่านทางแฟนเพจคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

ศูนย์บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

บุคลากรทางการเมือง การปกครอง การทูต การศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข

บุคลากรทางด้านธุรกิจ

บุคลากรทางด้านบันเทิง

บุคลากรทางด้านกีฬา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ข้อมูลทั่วไปโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. 2.0 2.1 โปรแกรมสารสนเทศโรงเรียนจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2556 ชุดที่ 1 - ศูนย์ปฏิบัติการ GPA สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. เว็บไซต์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  4. 4.0 4.1 ท่านปั้น อุปการโกษากร (วัชราภัย) ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
  5. วรชาติ มีชูบท, พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม, สำนักพิมพ์ สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552
  6. ประวัติโรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  7. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25, แจ้งความกระทรวงธรรมการ [เรื่อง ปั้นมรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามป่วยถึงแก่กรรม] หน้า 116
  8. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25, พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก [พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์เป็นมรรคนายกวัดสุทธิวราราม] หน้า 585
  9. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 28, แจ้งความกระทรวงธรรมการ [ประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน] หน้า 896
  10. 10.0 10.1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 49 เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยาม ครั้งแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช (ตอนที่ 3ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2471
  11. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 กรกฎาคม 130 เล่ม 28 หน้า 737-738
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 ศตวัชรบงกช 100 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.-- กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดสุทธิวราราม, 2554.
  13. สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มร. 6ศ/5, ทูลเกล้าถวายร่างประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน
  14. สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มร. 6ศ/5, เรื่องโรงเรียนวัดสุทธิวรารามแลประกาศพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียน, หน้า 10-11
  15. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 สิงหาคม 130 เล่ม 28 หน้า 896-899
  16. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 มกราคม 2470 เล่ม 44 หน้า 3190]
  17. ประวัติโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  18. ประวัติโรงเรียน - วัชรสมโภช 80 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราม
  19. 19.0 19.1 คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ประจำปีการศึกษา 2551
  20. จัดพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์งานครบรอบ96ปีร.ร.วัดสุทธิฯ ข่าวสด วันที่ 03 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6030
  21. 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 สิงหาคม 2471 เล่ม 45 หน้า 1406
  22. ประวัติสมาคม - เว๊ปไซต์สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม.
  23. ศาสตราจารย์ หลวงสมานวนกิจ - หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  24. ศุขขจร. นายรอง ศยามานนท์ ประวัติครู, คุรุสภาจัดพิมพ์ในวันครู 16 มกราคม 2530 หน้า 69
  25. ภาคผนวก ข ประวัติผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สุธาริณี วาคาบายาซิ. (2550).บทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของ กทม. (พ.ศ. 2515 - 2543). ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  26. กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง

บรรณานุกรม

  1. ศตวัชรบงกช 100 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.-- กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดสุทธิวราราม, 2554.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°42′45″N 100°30′44″E / 13.712399°N 100.512191°E / 13.712399; 100.512191{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้