ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา | |
---|---|
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา |
เสียชีวิต | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 อายุ 72 ปี |
คู่สมรส | กฤษณา ภักดีเทวา |
อาชีพ | นักแสดง นักร้อง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2544 |
ผลงานเด่น | ขุนแผน ขุนศึก เพลงยามชัง หอรักหอร้าง ไม่รักไม่ว่า นกเอี้ยงจ๋า |
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (29 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) นักร้องเพลงลูกกรุง นักแสดง อดีตหนึ่งในสามสมาชิกวง "สามศักดิ์" ร่วมกับ มีศักดิ์ นาครัตน์ และศักรินทร์ บุญญฤทธิ์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเล่นละครโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม มีเพลงที่เป็นที่นิยมมเช่น เพลงหอรักหอร้าง นกเอี้ยงจ๋า ไม่รักไม่ว่า ยามชัง อยู่เพื่อคอยเธอ เดือนต่ำดาวตก เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนโยธินบูรณะ และ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และจบบัญชีจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชี
ประวัติ
[แก้]ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เกิดเมื่อ 29 สิงหาคม 2478 เดิมชื่อ หัสกัน แต่บางท่านเรียก หัสกรรม[1] ซึ่งเจ้าคุณพระประยูรวงค์ (เดิมเจ้าจอมมารดาแพ พระสนมในรัชการที่ 5) เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี จึงประทานชื่อให้ใหม่ว่า "ทนงศักดิ์" [2] ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เป็นบุตรของนายยอแสง ภักดีเทวา ครูโขนในสังกัดกรมศิลปากร กับนางสุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต (ต่อมานางสุลาลีวัลย์ ได้สมรสใหม่กับ หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง เป็น หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา)
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา สมรสกับนางกฤษณา ภักดีเทวา มีบุตร 5 คน บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกกับเพลง เอื้องดอกฟ้า [1] มีเพลงที่ได้รับความนิยมหลายเพลง เช่น หอรักหอร้าง ไม่รักไม่ว่า ไกล้ชู้ นกเอี้ยงจ๋า เคยได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ เมื่อ พ.ศ. 2509 และได้รับรางวัลพระราชทานทั้งสิ้น 3 ครั้ง [1]
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จากอาการปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด หลังจากเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และไม่ได้สติมานานถึง 6 ปี
- 2530 รักจ๋ามาแล้วจ๊ะ (2530) รับบท พ่อของหนุ่ม
- 2529 หัวใจเดียวกัน (2529) รับบท พ่อของเอิน
- 2529 ดวงใจกระซิบรัก (2529) รับบท พ่อของรุจ
- 2523 ทหารเกณฑ์ ภาค 2 (2523) รับบท ทหาร
- 2523 สื่อรักแสนรู้ (2523) รับบท มงคล มอบนรินท
- 2514 ราชินีบอด
- 2511 สีดา
- 2511 วังสีทอง
- 2511 พระลอ
- 2510 ไฟเสน่หา
- 2510 เทพบุตรปืนทอง
- 2510 5 พยัคฆ์สาว
- 2509 อรุณเบิกฟ้า
- 2509 หมอชนินทร์ผู้วิเศษ
- 2509 ซัมเซ็ง
- 2509 สิงห์สันติภาพ
- 2508 เงิน เงิน เงิน
- 2508 นางพรายคะนอง
- 2508 อ้อมอกดิน
- 2508 เงารัก
- 2508 รัศมีแข
- 2507 ภูตพิสวาส
- 2507 คมแสนคม
- 2507 ขุนดง
- 2507 ดวงตาสวรรค์
- 2506 รวงแก้ว
- 2506 ตากล้องเงินล้าน
- 2505 สุริยาที่รัก
- 2505 รุ่งทิพย์
- 2504 ขุนช้างขุนแผน ตอนพิมพิลาไลเข้าหอ
- 2503 ผีพยาบาท ของกันตนา
ละครโทรทัศน์
[แก้]- 2545 สามวัยอลเวง ช่อง 7
- 2543 รากนครา ช่อง 7
- 2541 อย่าลืมฉัน ช่อง 7
- 2541 บังเอิญรวยช่วยไม่ได้ ช่อง 5
- 2540 นิรมิต ช่อง 7
- 2539 ดั่งดวงหฤทัย ช่อง 7
- 2533 ข้าวนอกนา ช่อง 7
- 2529 แก้วราหู ช่อง 3
- 2526 เลื่อมสลับลาย ช่อง 7
- 2523 บางระจัน ช่อง 3
มิวสิควีดีโอ
[แก้]- เพลง ทรมาน ของ อิทธิ พลางกูร (2536)
- เพลง เคลียร์หัวใจ ของ เกวลิน มณี คู่กับ อรัญญา พงศ์ภัณฑารักษ์ (ติ๊ดตี่ วงแครอท) (2536)
- เพลง ต้นไม้ของพ่อ ของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ บทเพลงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 (2539)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 'ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา' อำลาโลกอย่างสงบ
- ↑ หนังสือบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายยอแสง ภักดีเทวา 11 ธันวาคม 2527
- ↑ https://thaimoviedb.com/person/%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2/