แก้วขวัญ วัชโรทัย
แก้วขวัญ วัชโรทัย ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ. | |
---|---|
![]() | |
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (29 ปี 49 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ |
ถัดไป | จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2471 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (88 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
บิดา | พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) |
มารดา | ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | ข้าราชการ |
แก้วขวัญ วัชโรทัย (3 กันยายน พ.ศ. 2471 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559) อดีตเลขาธิการพระราชวัง ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2530–2559 เป็นเลขาธิการพระราชวังคนที่ 5 และเป็นฝาแฝดกับขวัญแก้ว วัชโรทัย อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง
ประวัติ[แก้]
แก้วขวัญ วัชโรทัย เป็นบุตรของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) กับท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2471 มีฝาแฝดหนึ่งคน คือขวัญแก้ว วัชโรทัย ทั้งสองมีศักดิ์เป็นพระภาคิไนย (ลูกของพี่สาว) ในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นหลานน้าของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) “แก้วขวัญ” และ “ขวัญแก้ว” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
แก้วขวัญสมรสกับท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย (เดิม หม่อมหลวงเพ็ญศรี ศรีธวัช) มีบุตร-ธิดา 3 คน ดังนี้
- รัตนาภา เทวกุล ณ อยุธยา สมรสกับพลเอก หม่อมหลวงทศนวอมร เทวกุล (อดีตรองสมุหราชองครักษ์)
- รัตนาวุธ วัชโรทัย (ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ)
- วัชรกิติ วัชโรทัย (ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ, อดีตกรรมการบริษัทปตท.)
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- ปริญญาตรีสาขาวิชาเกษตรกรรม ที่ฟรีบูร์ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นนักศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- ประกาศนียบัตร โปรแกรมการจัดการขั้นสูง ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ ด้วยทุนเล่าเรียนหลวง
การทำงาน[แก้]
- เริ่มรับราชการที่สำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493 ทำหน้าที่มหาดเล็กและนายเวรห้องพระบรรทม เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ตามเสด็จฯ ไปถ่ายทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ตามจังหวัดต่าง ๆ และต่างประเทศเกือบทั่วโลก เป็นผู้จัดทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย
- พ.ศ. 2505 เป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองมหาดเล็ก ผู้จัดการโรงโคนมสวนจิตรลดา ผู้กำกับราชการส่วนสวนพระราชวังดุสิต และเป็นผู้จัดการกองทุนสวัสดิการในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2509 รับพระมหากรุณาพระราชทานให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. 2515 หลังจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่ตรวจตราและควบคุมการบริหารงานในกองคลังเพิ่มเติมจากหน้าที่เดิม
- พ.ศ. 2521 เลื่อนเป็นรองเลขาธิการพระราชวัง คนที่ 2
- พ.ศ. 2530 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นอกจากนี้ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการอำนวยการพระคลังข้างที่ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2530
- นอกจากงานในสำนักพระราชวังแล้ว ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสุนทราภรณ์ให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกด้วย
ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]
แก้วขวัญเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยภาวะหัวใจขาดเลือด โดยได้มีการผ่าตัดและอยู่ในความดูแลของแพทย์มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ด้วยความที่อายุมากจึงได้เกิดอาการสำลัก ติดเชื้อเป็นครั้งคราว ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 10.02 น. ของวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 สิริอายุ 88 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมขนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งประดับเกียรติยศ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด อีกทั้งพระราชทานพวงมาลาหลวง, พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, พวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, พวงมาลาส่วนพระองค์ และพวงมาลาประทานของพระบรมวงศานุวงศ์ วางที่หน้าโกศศพ โดยมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 7 คืน
ต่อมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 18.19 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในโอกาสนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน และท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน โดยเสด็จด้วย[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
แก้วขวัญ วัชโรทัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[2] ดังนี้
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2524 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2515 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2506 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2518 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[11]
- พ.ศ. 2508 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[12]
ลำดับสาแหรก[แก้]
ลำดับสาแหรกของแก้วขวัญ วัชโรทัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ มติชนออนไลน์. ในหลวง-ราชินี พระราชทานเพลิงศพ แก้วขวัญ วัชโรทัย, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ข่าวในพระราชสำนัก เล่ม 137 ตอนที่ 26 ข หน้า 1 25 กันยายน พ.ศ. 2563
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๘๗, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
ก่อนหน้า | แก้วขวัญ วัชโรทัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ | ![]() |
![]() เลขาธิการพระราชวัง (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 - 15 กันยายน พ.ศ. 2559) |
![]() |
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2471
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- เลขาธิการพระราชวัง
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- สกุลวัชโรทัย
- สกุลสุจริตกุล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เสียชีวิตจากโรคปอดบวม
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์