ข้ามไปเนื้อหา

กรมพัฒนาที่ดิน

พิกัด: 13°50′15″N 100°34′24″E / 13.837413°N 100.573225°E / 13.837413; 100.573225
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมพัฒนาที่ดิน
Land Development Department
ตรากรมพัฒนาที่ดิน

ที่ทำการของกรม
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506; 61 ปีก่อน (2506-05-23)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากร3,012 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี4,748,755,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, รักษาการอธิบดี
  • อาทิตย์ ศุขเกษม, รองอธิบดี
  • สุมิตรา วัฒนา, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และวิจัยดินและที่ดินเพื่อกำหนดนโยบาย และวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน 2. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน 3. ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร 4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินหรือที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ประวัติ

[แก้]

23 พฤษภาคม 2506 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ให้มีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติขึ้น โดยรวมงานของกระทรวงสหกรณ์ที่มีอยู่เดิมเข้าไว้กับกรมอื่นอีก รวมทั้งหมด 13 กรม ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินเป็นกรมหนึ่งได้รับการจัดตั้งครั้งนี้ด้วย 29 กันยายน 2515 คณะปฏิวัติอันมี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้า ได้ยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 276 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 89 ตอนที่ 145 ให้กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 ตุลาคม 2526 ได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 160 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2526 ให้พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 มีผลบังคับใช้ ซึ่งได้กำหนดอำนาจ และหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินในมาตรา 10 และมาตรา 14 5 เมษายน 2527 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งท้องที่ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกเป็นเขต 10 เมษายน 2527 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2527 ให้มี 9 กอง 13 สำนักงาน 7 พฤศจิกายน 2537 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2537 โดยมีการปรับปรุงกองและเปลี่ยนชื่อกองใหม่ แต่ยังคงมีหน่วยงานทั้งสิ้น 9 กอง 13 สำนักงาน 9 ตุลาคม 2545 ได้มีการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน

ความหมายของตราสัญลักษณ์

[แก้]

ตรากรมพัฒนาที่ดินเป็นรูปพระอิศวร​ปางประทานพร มีภาพประกอบภายในวงครอบแสดงถึงการพัฒนาที่ดิน ประกอบไปด้วย ดิน พืช ฝน แสงอาทิตย์ ด้านล่างมีข้อความว่า กรมพัฒนาที่ดิน[3]

อำนาจและหน้าที่

[แก้]
  1. ศึกษา สำรวจ จำแนก วิเคราะห์ และวิจัยดินและที่ดิน ทำสำมะโนที่ดิน ติดตามสถานการณ์สภาพการใช้ที่ดิน เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน
  2. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
  3. ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกร
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย


หน่วยงานในสังกัด

[แก้]
พื้นที่ภายในกรมพัฒนาที่ดิน

โครงสร้างและหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาที่ดิน แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557[4]

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน
  • กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
  • กองแผนงาน
  • กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
  • กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่
  • สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
  • สำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 1 จ.ปทุมธานี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 2 จ.ชลบุรี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 3 จ.นครราชสีมา
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 4 จ.อุบลราชธานี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 5 จ.ขอนแก่น
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 7 จ.น่าน
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 8 จ.พิษณุโลก
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 9 จ.นครสวรรค์
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 10 จ.ราชบุรี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 11 จ.สุราษฎร์ธานี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่ 12 จ.สงขลา

ดูเพิ่ม

[แก้]

รายนามอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°50′15″N 100°34′24″E / 13.837413°N 100.573225°E / 13.837413; 100.573225