ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
มหาอำนาจกลาง | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1914–1918 | |||||||||||||||
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1915
สี่พันธมิตร:
รัฐบริวาร/รัฐหุ่นเชิด:
| |||||||||||||||
สถานะ | พันธมิตรทางการทหาร | ||||||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง | ||||||||||||||
7 ตุลาคม ค.ศ. 1879 | |||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 | ||||||||||||||
• พันธมิตรเยอรมัน-ออตโตมัน | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | ||||||||||||||
• สนธิสัญญาบัลแกเรีย-เยอรมนี |
| ||||||||||||||
• ล่มสลาย | 11 พฤศจิกายน 1918 | ||||||||||||||
|
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อังกฤษ: Central Powers; เยอรมัน: Mittelmächte; ฮังการี: Központi hatalmak; ตุรกี: İttifak Devletleri / Bağlaşma Devletleri; บัลแกเรีย: Централни сили, อักษรโรมัน: Tsentralni sili) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจและเป็นพันธมิตรทางการทหารกลุ่มหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งร่วมมือกันต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน
รัฐสมาชิก
[แก้]ฝ่ายมหาอำนาจกลางมีสมาชิกอยู่ 4 ประเทศ
ชาติ | ดินแดน | เข้าร่วม WWI |
---|---|---|
คาเมรัน โตโกแลนด์ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันออก นิวกินี ซามัว เกียวโจว |
1 สิงหาคม 1914 | |
อาร์ชดัชชีออสเตรีย ราชอาณาจักรฮังการี โบฮีเมีย แดลเมเชีย กาลิเซียและโลโดเมเรีย โครเอเชีย-สลาโวเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
28 กรกฎาคม 1914 | |
จักรวรรดิออตโตมัน | อิรัก ซีเรีย |
29 ตุลาคม 1914 |
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย | 14 ตุลาคม 1915 |
ประชากร | พื้นที่ | จีดีพี | |
---|---|---|---|
จักรวรรดิเยอรมัน (รวม อาณานิคม), 1914 | 67.0m (77.7m) | 0.5m km2 (3.5m km2) | $244.3b ($250.7b) |
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี, 1914 | 50.6m | 0.6m km2 | $100.5b |
จักรวรรดิออตโตมัน, 1914 | 23.0m | 1.8m km2 | $25.3b |
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย, 1915 | 4.8m | 0.1m km2 | $7.4b |
รวมมหาอำนาจกลางทั้งหมดในปี 1914 | 151.3m | 6.0m km2 | $376.6b |
กองกำลัง | ทหารเสียชีวิต | ทหารบาดเจ็บ | ทหารหายสาบสูญ | รวมกำลังพลสูญเสีย | คิดเป็นร้อยละจากกำลังพลที่ระดมมา | |
---|---|---|---|---|---|---|
จักรวรรดิเยอรมัน | 13,250,000 | 1,808,546 | 4,247,143 | 1,152,800 | 7,208,489 | 66% |
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี | 7,800,000 | 922,500 | 3,620,000 | 2,200,000 | 6,742,500 | 86% |
จักรวรรดิออตโตมัน | 2,998,321 | 325,000 | 400,000 | 250,000 | 975,000 | 34% |
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย | 1,200,000 | 75,844 | 153,390 | 27,029 | 255,263 | 21% |
รวมมหาอำนาจกลางทั้งหมด | 25,248,321 | 3,131,890 | 8,419,533 | 3,629,829 | 15,181,252 | 66% |
ผู้นำในสงคราม
[แก้]
| ||
หัวหน้ารัฐบาลฝ่ายมหาอำนาจกลาง: เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค (เยอรมนี), คาร์ล ฟ็อน ชเตือร์ค (ออสเตรีย), อิชต์วาน ติซอ (ฮังการี), เซด ฮาลิม พาชา (ออตโตมัน) และวาซิล ราโดสลาวอฟ (บัลแกเรีย) |
จักรวรรดิเยอรมัน
[แก้]- จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 – ไคเซอร์แห่งจักรวรรดิเยอรมัน
- เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค – นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน
- เกออร์ค มิชชาเอลิส – นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน
- เกออร์ค ฟ็อน แฮร์ทลิง – นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน
- เจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน – นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน
- ก็อตต์ลีบ ฟ็อน ยาโกว์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจักรวรรดิเยอรมัน
- พลเอกอาวุโส เฮ็ลมูท ฟ็อน ม็อลท์เคอ – หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน
- พลเอก เอริช ฟ็อน ฟัลเคินไฮน์ – หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน
- จอมพล เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค – หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน
- พลเอก เอริช ลูเดินดอร์ฟ – เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์จักรวรรดิเยอรมัน
- เลโอพ็อลท์แห่งบาวาเรีย – ผู้บัญชาการทหารกลุ่มทัพบกเจ้าชายเลโอพ็อลท์แห่งบาวาเรีย
- มกุฎราชกุมารวิลเฮ็ล์ม – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 5 และ กลุ่มทัพบกมกุฎราชกุมารเยอรมัน
- รูพเพร็คท์แห่งบาวาเรีย – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 6 และ กลุ่มทัพบกรูพเพร็คท์แห่งบาวาเรีย
- อัลเบร็คท์ ฟ็อน เวือร์ทเทิมแบร์ค – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 4 และ กลุ่มทัพบกดยุกอัลเบร็คท์
- จอมพลเรือ อัลเฟรท ฟ็อน เทียร์พิทซ์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือจักรวรรดิเยอรมัน
- พลเอก แอนสท์ ฟ็อน ฮอปป์เนอร์ – ผู้บัญชาการทหารอากาศจักรวรรดิเยอรมัน
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
[แก้]- จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 – ไคเซอร์แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 – ไคเซอร์แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- คาร์ล ฟ็อน ชเตือร์ค – มุขมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออสเตรีย
- เออร์เนสต์ ฟ็อน เคอร์เบอร์ – มุขมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออสเตรีย
- ไฮน์ริช แคลม-มาร์ตินิค – มุขมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออสเตรีย
- แอ็นสท์ ไซด์เลอร์ ฟ็อน ฟอยค์ทเทนแนค – มุขมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออสเตรีย
- มัคส์ ฮุสซาร์เรค ฟ็อน ไฮน์ไลน์ – มุขมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออสเตรีย
- อิชต์วาน ติซอ – นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรฮังการี
- ซานดอร์ เวแคร์เล – นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรฮังการี
- อาร์ชดยุกฟรีดริช – ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- ฟรันทซ์ คอนราด ฟ็อน เฮิทเซนดอร์ฟ – หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- อาเทอร์ อาร์ซ ฟ็อน สเตราเซนเบิร์ก – หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- สเวโตซาร์ โบรูเอวิช – จอมพลแห่งออสเตรีย-ฮังการี และ ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 3, กองทัพบกที่ 5
- อันทวน เฮาส์ – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- เอมิล อูเซลัก – ผู้บัญชาการทหารอากาศของกองกำลังทางอากาศจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิออตโตมัน
[แก้]- สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 5 – สุลต่านจักรวรรดิออตโตมัน
- สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6 – สุลต่านจักรวรรดิออตโตมัน
- เซด ฮาลิม พาชา – มหาเสนาบดี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออตโตมัน
- ทาลาต พาชา – มหาเสนาบดี (หัวหน้ารัฐบาล) จักรวรรดิออตโตมัน และ หนึ่งในสามพาชา
- แอนแวร์ พาชา – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกจักรวรรดิออตโตมัน และ หนึ่งในสามพาชา
- เจมัล พาชา – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 4 ในซีเรีย และ หนึ่งในสามพาชา
- มุสทาฟา เคมัล พาชา − ผู้บัญชาการทหารที่มีชื่อเสียงจากการมีส่วนร่วมในการทัพกัลลิโพลี
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
[แก้]- พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 – พระมหากษัตริย์บัลแกเรีย
- วาซิล ราโดสลาวอฟ – นายกรัฐมนตรีบัลแกเรีย
- อเล็กซานดาร์ มาลินอฟ – นายกรัฐมนตรีบัลแกเรีย
- นิโคลา เซคอฟ – หัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกบัลแกเรีย
- แกออร์กี โทโดรอฟ – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 2, กองทัพบกที่ 3 ในการทัพโรมาเนีย และ รองหัวหน้าผู้บัญชาการทหารของกองทัพบกบัลแกเรีย
- คลิเมนต์ โบยาดจีฟ – ผู้บัญชาการทหารกองทัพบกที่ 1 ในการทัพเซอร์เบีย
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]จักรวรรดิเยอรมันเริ่มผูกมิตรกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ พ.ศ. 2422 โดยการก่อตั้งไตรพันธมิตรและดำเนินนโยบายทางการเมืองในทางตรงข้ามกับประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียที่รวมตัวเป็นกลุ่มไตรภาคี (ซึ่งเป็นเสาหลักของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1)
การประกาศสงครามโลกเริ่มจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อเซอร์เบียเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมาร อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ แต่ทางการเซอร์เบียกลับปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าช่วยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ส่วนรัสเซียอยู่ข้างเดียวกับเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับฝรั่งเศสของเยอรมนีและบุกฝรั่งเศสโดยผ่านเบลเยียมทำให้อังกฤษต้องเข้าร่วมสงครามโดยการประกาศสงครามกับเยอรมนี ทำให้สงครามนั้นขยายตัวจนกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด
นอกจากเยอรมนีกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแล้ว มีชาติอื่นเข้าร่วมมือกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอีก 2 ชาติคือ จักรวรรดิออตโตมัน (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และ ราชอาณาจักรบัลแกเรีย ส่วนชาติอื่น ๆ ประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจทั้งหมด รวมถึงสยาม
อิตาลี
[แก้]การเข้าร่วมของจักรวรรดิออตโตมัน
[แก้]จักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจักรวรรดิเยอรมันมาตั้งแต่ก่อนสงครามเริ่มต้น ผู้นำชาตินิยมของตุรกีมีความทะเยอทะยานในการได้ดินแดนของศัตรูเก่า คือรัสเซีย และตุรกีโกรธแค้นที่อังกฤษยึดเรือที่ตนสั่งต่อในอังกฤษ จึงนับว่าเพียงพอแล้วที่จะเข้าร่วมสงคราม จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914
การเข้าร่วมของบัลแกเรีย
[แก้]ขบวนการอื่น
[แก้]การยอมแพ้
[แก้]บัลแกเรียเป็นชาติแรกที่ยอมแพ้เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 หลังจากถูกบุกโดยอังกฤษ ฝรั่งเศสและเซอร์เบียพร้อมกัน และเยอรมนีไม่อาจช่วยเหลือได้ ตุรกียอมแพ้เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ออสเตรียฯ ยอมแพ้เมื่อ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เยอรมนียอมแพ้เป็นชาติสุดท้ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
|
|
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ S.N. Broadberry, Mark Harrison. The Economics of World War I[ลิงก์เสีย]. illustrated ed. Cambridge University Press, 2005, pp. 9-10.
- ↑ Spencer Tucker. The European powers in the First World War: an encyclopedia. Taylor & Francis, 1996, pg. 173.
- ปรีชา ศรีวาลัย. สงครามโลกครั้งที่ 1. โอเดียนสโตร์. 2542
- สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับราชบัณทิตยสถาน เล่ม C-D
- ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
- สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับเยอรมนี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิออตโตมัน
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
- จักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จักรวรรดิออตโตมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- บัลแกเรียในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง