เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา)
มหาอำมาตย์ตรี มหาเสวกโท เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย นามเดิม พร เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก อุปราชมณฑลพายัพ องคมนตรี และได้รับพระราชทานนามสกุลจารุจินดา[1]
ประวัติ[แก้]
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย มีนามเดิมว่าพร เป็นบุตรพระยาเพชรพิไชย (ทองจีน) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (สกุลเดิม:เกตุทัต) เกิดเมื่อวันพุธ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน ตรงกับวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2406[2]
เมื่ออายุ 11 ปี ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนพระบรมมหาราชวังและที่โรงเรียนสวนนันทอุทยาน[3] เมื่อจบการศึกษาแล้วจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นลำดับ คือ เป็นนายรองฉัน ถือศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันพุธ เดือนสิบเอ็ด แรมห้าค่ำ ปีระกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2428[4]แล้วเป็นจ่าห้าวยุทธการ ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันเสาร์ เดือนสิบเอ็ด แรมสี่ค่ำ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2429[5]แล้วเลื่อนเป็นพระศิริไอสวรรย์ ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2434[6]จนวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 116 จึงได้เลื่อนเป็นพระยาอุไทยมนตรี ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรี ถือศักดินา 3,000[7]
วันที่ 15 กรกฎาคม ร.ศ. 131 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย อภัยพิริยพาหะ ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลพิศณุโลก ถือศักดินา 10,000[8]
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี[9][10]
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย พายัพไผทนรพิทักษ์ จงรักษ์รามนฤนาถ ประศาสนนัยนิติธารี ศรีจารุจินดากุลวงศ์ ธำรงสัตย์มัทวสมาจาร ตรัยรัตนวิศาลสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[11]
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2498[12] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ณ วัดเทพศิรินทราวาส
ตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์[แก้]
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2428 - นายรองฉัน
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2429 - จ่าห้าวยุทธการ
- 5 มกราคม พ.ศ. 2434 - พระศิริไอสวรรย์
- 2 มกราคม พ.ศ. 2440 - พระยาอุไทยมนตรี ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรี
- - ข้าหลวงประจำเมืองนครน่าน (เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัด)
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 - ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก[13]
ครอบครัว[แก้]
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย มีภรรยา 4 คน[3] ได้แก่
- คุณแฉ่ง มีธิดา 2 คน
- คุณหญิงบุญรอด (สกุลเดิม:วัชราภัย) มีบุตร 3 คน
- คุณหญิงเพิ่ม (สกุลเดิม:จารุจินดา) มีบุตรธิดา 2 คน
- คุณหญิงชอุ่ม (สกุลเดิม:คุปตารักษ์) มีบุตรธิดา 6 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2465 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2468 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[16]
- พ.ศ. 2457 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๑๔ กันยายน ๒๔๕๖, หน้า ๑๒๔๘
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 235
- ↑ 3.0 3.1 "เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย (พร จารุจินดา)". ชมรมสายสกุลจารุจินดา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-29. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำเนาสัญญาบัตร
- ↑ ข่าวราชการ (หน้า ๒๕๓)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานหิรัญบัตรและสัญญาบัตร, เล่ม ๑๔, ตอน ๔๑, ๙ มกราคม ร.ศ. ๑๑๖, หน้า ๗๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม ๒๙, ตอน ง, ๒๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๑, หน้า ๙๐๔
- ↑ "พระราชพิธีตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (ง): 114. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธี รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้ง เป็นองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (ง): 117. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘, หน้า ๒๒๕-๘
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 239
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (ง): 2772. 7 มกราคม 2465. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2551. 22 พฤศจิกายน 2468. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๓๘๐)
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 235-9. ISBN 974-417-534-6
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2406
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2498
- บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกกองเสือป่า
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์