คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat School of Engineering | |
![]() | |
สถาปนา | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 |
---|---|
คณบดี | ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา มิตรเอม[1] |
ที่อยู่ | ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ศูนย์พัทยา เลขที่ 39/4 หมู่ 5 ถนนชลบุรี–ระยอง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 |
สี | สีเลือดหมู |
มาสคอต | เกียร์ |
เว็บไซต์ | www.engr.tu.ac.th |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat School of Engineering; TSE) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัย และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แรกของประเทศไทยที่มีจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด, หลักสูตรปริญญาตรีสองสถาบัน และหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท คณะมีชื่อเสียงในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศอังกฤษ สหภาพยุโรป และผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องด้านไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคม เครื่องกล โยธา เคมี อุตสาหการ
โดยในปี ค.ศ. 2024 ได้รับการจัดอันดับจาก EduRank ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงด้านการจัดอันดับ ประเมินมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยประเมินจากผลงานวิชาการวิจัย การตีพิมพ์บทความระดับนานาชาติ ในด้านวิศวกรรมอุตสาหการอยู่ในลำดับที่ 2 ของประเทศไทย(อันดับ 1 คือ Asian Institute of Technology) อันดับ 114 ของเอเชียและ อันดับ 442 ของโลก [2]
โดยคณาจารย์ผู้สอนล้วนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ประวัติการศึกษา วิจัยจากมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำของโลกรวมถึง ระบบVisiting Professor อาจารย์พิเศษรับเชิญที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์จริงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวหน้าในสาขานั้น ๆ ทำให้คณะได้รับความนิยมอย่างสูงจากการจัดอันดับในการประสงค์เข้าศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ ในกลุ่ม The Most Popular University in Thailand[3]
โดยปรัชญาด้านเสรีภาพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำให้นักศึกษาที่นี่ มีอิสระด้านความคิด และ มีปรัชญาด้านการรับใช้สังคม และ เพื่อนมนุษย์โดยโครงงานวิศวกรรมของที่นี่ จะโดดเด่นด้านการนำความรู้ด้านวิศวกรรมประยุกต์เพื่อออกแบบ สร้างหุ่นยนต์ อุปกรณ์เครื่องกล การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านไมโครเวฟสร้างพลังงาน ยานพาหนะเพื่อคนพิการ วัสดุชนิดใหม่ทางเคมี วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงาน การสร้างโมเดลระบบปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการด้าน วิทยาศาสตร์เข้ากับ ศิลปศาสตร์ อย่างสมบูรณ์เนื่องด้วยพื้นฐานมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น ด้านการเมือง การปกครอง นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี รัฐศาสตร์
ทำเลที่ตั้งนับว่าเป็นจุดที่โดดเด่น และเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่ง เพราะอยู่ในอาณาบริเวณ แคมปัสขนาดใหญ่ที่รายล้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยวัสดุ และโลหะแห่งชาติ MTEC ศูนย์วิจัยอิเลคทรอนิคส์นิคส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ BIOTEC และ ศูนย์วิจัยด้านพลังงานและแบตเตอรี่ PTEC ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี NanoTec ซึ่งล้วนเป็นศูนย์รวมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่มี นักวิจัยระดับชั้นนำมีความเชี่ยวชาญ ด้านโลหะ วัสดุ โพลิเมอร์ ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่ อิเลคทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี รวมถึง ด้านซิงโครตรอน และ โฟโตนิคส์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ ArtificialIntelligence จึงเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาที่นี่ สามารถร่วมทำวิจัย ฝึกงาน ดูงาน และมีโอกาสใช้งานเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในระดับนานาชาติ อาทิ SuperComputer ระบบเลเซอร์ และพลาสมา เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องมือทดสอบระบบมอเตอร์ไฟฟ้าและหน่วยกักเก็บพลังงาน อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีความร่วมมือ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย AIT ที่อยู่ในวิทยาเขตเดียวกัน ซึ่งที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับนานาชาติ ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์
ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตศูนย์รังสิต ทำเลที่ตั้งยังใกล้กับ เขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรม ต่าง อาทิ นวนคร โรจนะ ไฮเทค รวมถึง ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตศูนย์พัทยา ที่ล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้าน ภาคตะวันออก อาทิ นิคมอีสเทอร์นซีบอร์ด นิคมอมตะซิตี้ นิคมมาบตาพุดทำให้สะดวกต่อการฝึกงาน และการรวมถึงแลกเปลี่ยนดูงาน การทำความร่วมมือต่าง ๆ
ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ นักการเมือง ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองแนวใหม่ นักวิชาการ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชื่อดัง ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบุคคลในวงการบันเทิง
ประวัติคณะ
[แก้]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีดำริที่จะจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ดังมีหลักฐานปรากฏในข้อเสนอแผนดำเนินการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนาคม พ.ศ. 2521 ความว่า "25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 สภาการศึกษามีหนังสือ ที่ สร.0411 (1) แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปยังมูลนิธิฟอร์ดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอความช่วยเหลือในการจัดสอนทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปริญญาตรี และช่วยในการวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่รังสิตและวังหน้า" หลังจากปี พ.ศ. 2511 ก็ได้มีการพัฒนาที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตมาโดยลำดับ และได้มีการจัดส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มหาวิทยาลัยประสบภาวะวิกฤตการณ์ทางด้านการเมือง จึงทำให้โครงการต่าง ๆ ต้องชงักงันไป
ในปี พ.ศ. 2531 สมัยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 โดยผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และจัดส่งให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2531 ขณะเดียวกันได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 พิจารณาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ยกฐานะวิทยาลัยในหลายจังหวัดขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยและได้มีมติ "ให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับไปพิจารณาเสนอจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน"
เมื่อข้อเสนอโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 ของทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 แล้ว ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปยังสำนักงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่าง ๆ โดยต้องให้สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. พิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2532 และได้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะฯ ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา จากนั้นสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้ส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการเพื่อโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงถือว่าวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เป็นวันจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2533–2534 (2 ปีสุดท้ายของแผน) เพื่อให้มีส่วนในการผลิตวิศวกรสาขาต่าง ๆ ออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ อันเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงกำหนดให้วันนี้เป็นวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเป็น คณะที่ 10 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งที่ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐโดยเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา
ปีการศึกษา | การดำเนินงาน |
---|---|
2533 | เปิดรับนักศึกษา 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
2534 | เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
2536 | เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี |
2538 | เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
2539 | เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮมประเทศอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
2540 | เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
2545 | เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาเคมี เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และเปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
2549 | เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
2551 | เปิดหลักสูตรปริญญาตรี–โท วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (Engineering and Business Management) และหลักสูตรปริญญาโท–เอก วิศวกรรมทางการแพทย์ (Medical Engineering) |
2554 | เปิดหลักสูตรควบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (Integrated Program of Bachelor and Master of Engineering in Industrial Electrical Engineering) |
2556 | เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (Automotive Engineering Program) |
2557 | เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Bachelor of Engineering Program in Software Engineering) |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้ขยายการเรียนการสอน และให้บริการศูนย์ฝึกอบรม สัมมนาในภูมิภาค มีนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์การศึกษาภูมิภาคอย่างจริงจัง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และนำความเป็นเลิศทางวิชาการ วิธีคิดและวิถีของความเป็นธรรมศาสตร์ไปสู่ชุมชนภาคภาคตะวันออกอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2557 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท สยามกลการ จำกัด ในการสร้างอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ เป็นจำนวนเงิน 68 ล้านบาท และอาคารสนับสนุนการเรียนการสอน (หอพัก) เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทสยามกลการยังได้บริจาคเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ที่มีผลการเรียนดี
หน่วยงานและหลักสูตร
[แก้]ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งภาคปกติ และโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[4]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |||
---|---|---|---|
หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
บัณฑิตศึกษา | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
| |
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน และโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEP–TEPE) | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
||
โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU–PINE) | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
รายนามคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย | 15 มกราคม พ.ศ. 2533 – 14 มกราคม พ.ศ. 2536 |
รองศาสตราจารย์ สถาพร เกตกินทะ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (รักษาการ) |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ประภารธนาธร | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537 |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.จิรศิริพงศ์ เจริญภัณฑารักษ์ |
สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543 |
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ | 2 กันยายน พ.ศ. 2545 – 2 กันยายน พ.ศ. 2548 |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล | สมัยที่ 1 2 กันยายน พ.ศ. 2548 – 2 กันยายน พ.ศ. 2551 2 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2551 (รักษาการ) สมัยที่ 2 29 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2554 |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ วังศกาญจน์ | สมัยที่ 1 29 กันยายน พ.ศ. 2554 – 29 กันยายน พ.ศ. 2557 สมัยที่ 2 29 กันยายน พ.ศ. 2557 – 29 กันยายน พ.ศ. 2560 29 กันยายน พ.ศ. 2560 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (รักษาการ) |
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล | สมัยที่ 1 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สมัยที่ 2 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
8. ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา มิตรเอม | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายนามผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.
- ↑ "Thailand's best Industrial Engineering universities [Rankings]". EduRank.org - Discover university rankings by location (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-11.
- ↑ TAEMPHIMAI, AMONWIWAT (2024-06-24). "10 อันดับ "คณะวิศวะ" ยอดนิยม ที่ นักเรียน อยากสอบเข้าเรียนต่อมากที่สุด". www.komchadluek.net.
- ↑ "หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.