สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ตราประจำสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 14 เมษายน พ.ศ. 2503 |
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10300 |
บุคลากร | 662 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 979,754,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | สำนักนายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี |
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2503 เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งเป็นการโอนงานของกรมตรวจราชการแผ่นดินมาเป็นงานของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวงของสำนักนายกรัฐมนตรี ในระยะเริ่มแรกผู้บริหารของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคือ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมือง และได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508
ต่อมาได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้มีการใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน
อำนาจหน้าที่
[แก้]สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นราชการของส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
โครงสร้าง
[แก้]นอกจากนี้ ยังมีตําเเหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 11 เดิม โดยในปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งนี้ 2 คน คือ
- ภูมินทร ปลั่งสมบัติ (ย้ายมาจากรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)[3]
- นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม (ย้ายมาจากรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี )[4]
ที่ตั้ง
[แก้]ตึกสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตึกสูง 3 ชั้น แบบสากลนิยม สร้างอยู่ในแนวเดียวกันกับตึกสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี สร้างในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (องค์การซีอาโต้) ซึ่งมีการประชุมในปี พ.ศ. 2500 โดยใช้เงินขององค์การซีอาโต้ ตึกหลังนี้มีชื่อว่า "ตึกพัฒนา" และหลังจากที่สำนักงานองค์การซีอาโต้ได้ย้ายออกไปแล้ว จึงได้ใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจนถึงปัจจุบัน[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ [สำนักนายกรัฐมนตรี : นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 170 ง): 5. 20 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ [สำนักนายกรัฐมนตรี : นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 141 (พิเศษ 154 ง): 12. 6 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ รัฐบาลไทย, ตึกสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]