กรมช่างโยธาทหารเรือ
กรมช่างโยธาทหารเรือ | |
---|---|
![]() กรมช่างโยธาทหารเรือ | |
ประเทศ | ![]() |
บทบาท | ซ่อม/สร้าง/ดัดแปลง/บำรุงรักษา:[1] ● อาคาร[1] ● สิ่งก่อสร้าง[1] ● อุปกรณ์สายช่างโยธา[1] การส่งกำลังพัสดุสายช่างโยธา[1] |
กองบัญชาการ | ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร[2] |
วันสถาปนา | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2532[3] |
ปฏิบัติการสำคัญ | การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย[4] |
ผู้บังคับบัญชา | |
เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ | พลเรือตรี ภานุมาศ ธนะพานิช[5] |
ผบ. สำคัญ | พลเรือเอก โสภณ วัฒนมงคล[6] พลเรือตรี นภดล สำราญ[7] พลเรือตรี อภินันท์ เพ็งศรีทอง[8][9][10] พลเรือตรี พิชัย ล้อชูสกุล[11][12][13] |
กรมช่างโยธาทหารเรือ (อังกฤษ: Naval Public Works Department; อักษรย่อ: ชย.ทร.) เป็นส่วนราชการของกองทัพเรือไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีบทบาทด้านการซ่อม, สร้าง, ดัดแปลง และบำรุงรักษาอาคาร, สิ่งก่อสร้าง ตลอดจนเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์สายช่างโยธา[1] โดยมีเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือคนปัจจุบันคือ พลเรือตรี ภานุมาศ ธนะพานิช[14] รองเจ้ากรมได้แก่ น.อ.พรชัย จ้อยจำรูญ และ น.อ.สมหมาย แสวงกิจ
ประวัติ[แก้]
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ทางกองทัพเรือไทยได้อนุมัติให้กรมช่างโยธา กรมอู่ทหารเรือ แยกส่วนราชการออกจากกรมอู่ทหารเรือ มาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ ครั้นต่อมา ได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ซึ่งลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 106 ตอนที่ 136 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2532 กรมช่างโยธาทหารเรือจึงได้เสนอขออนุมัติให้วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรม[3]
ผลงานและบทบาท[แก้]
กรมช่างโยธาทหารเรือมีผลงานเขียนแบบก่อสร้างเสาธงราชนาวีไทย ขนาดความสูง 11 เมตร[15] รวมถึงเป็นผู้ดำเนินการเขียนแบบและคำนวณการก่อสร้างซุ้มประตูทางเข้าหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เพื่อรองรับการจราจรและปริมาณรถที่เพิ่มขึ้น[16][17][18][19]
และเมื่อ พ.ศ. 2563 กรมช่างโยธาทหารเรือได้ลงนามข้อตกลงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา[20][21][22]
การศึกษาดูงาน[แก้]
อาทิ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 คณะผู้เยี่ยมชมจากกรมช่างโยธาทหารเรือได้เข้าดูงานกิจการจัดการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงาน[23] และวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 คณะศึกษาดูงานจากกรมช่างโยธาทหารเรือได้เข้าศึกษาดูงานกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงขีดความสามารถการปฏิบัติงานของกรมช่างโยธาทหารเรือให้สูงขึ้น[24][25]
พนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ[แก้]
จากการศึกษาความรู้และทัศนคติด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ โดยผู้ศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พบว่าอายุและตำแหน่งมีผลต่อความรู้ด้านความปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[26]
ใน พ.ศ. 2563 ได้เกิดเหตุพนักงานราชการในสังกัดกรมช่างโยธาทหารเรือเสียชีวิต หลังจากการช่วยคนพลัดตกน้ำ[27] ซึ่งทางกองทัพเรือไทยได้จัดพิธียกย่องพนักงานดังกล่าว[28]
กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]
ใน พ.ศ. 2564 กรมช่างโยธาทหารเรือได้มีส่วนร่วมในการจัดพื้นที่โรงพยาบาลสนาม เมื่อช่วงวิกฤตของการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย[29]
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
- พ.ศ. 2563 : รางวัลชมเชยผลงานด้านหลักการ – จากบูรณาการระบบงานกรมช่างโยธาทหารเรือด้วยสารสนเทศ ในพิธียกย่องเกียรติคุณนักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563[30][31]
- พ.ศ. 2564 : รางวัลดีเด่นผลงานด้านหลักการ – จากระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะ (NPD Smart Alert บน NPD Platform) ในงานนาวีวิจัย 2021[32]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "พระราชกฤษฎีกา ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. - Thai Law" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
- ↑ จส.100
- ↑ 3.0 3.1 ประวัติกรมช่างโยธาทหารเรือ
- ↑ ส่องภารกิจ "กองทัพ" รับมือ "โควิด" นำทหารกู้วิกฤติสู้ "ภัยคุกคามใหม่"
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 36 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ พล.ร.อ.โสภณ วัฒนมงคล ประธานบอร์ดการท่าเรือฯ
- ↑ โปรดเกล้าฯโผทหาร 260 ตำแหน่ง 'วงศ์เทวัญ' ขยับขึ้นคุมกำลัง
- ↑ กองทัพเรือ ชี้แจงกรณีการสร้างบ้านพักรับรองผู้บัญชาการทหารเรือหลังใหม่มูลค่า 112 ล้านบาท
- ↑ กองทัพเรือแจง! บ้านผบ.สุดหรู 112 ล้าน ริมน้ำเจ้าพระยา ไม่แพง แค่ใช้ไว้รับแขก
- ↑ "กองทัพเรือแจง สร้างบ้านพักรับรอง 112 ล้าน เพราะหลังเดิมทรุดโทรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
- ↑ ไขรหัสลับ "บิ๊กอุ้ย" ฝ่าคลื่นลม ดัน "บิ๊กโต้ง" ผงาด "ผบ.ทร." - ไทยรัฐ
- ↑ ตั้ง “ผบ.ทร.-ผบ.ทอ.” “อำนาจ 3 ป.” สั่นคลอน
- ↑ ผบ.ทร.มอบของที่ระลึกผู้ให้การสนับสนุนกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 47
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 36 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ แบบก่อสร้าง เสาธงราชนาวี ขนาดความสูง 11 เมตร โดยกรมช่างโยธาทหารเรือ
- ↑ ผู้บัญชาการทหารเรือเปิดซุ้มประตูทางเข้าหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- ↑ ซุ้มประตูทางเข้าหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มูลค่า 20 ล้านบาท เปิดทางการแล้ว
- ↑ กองทัพเรือแจงยิบปมสร้างซุ้มประตูทางเข้านย.
- ↑ 20 ล้าน! ผบ.ทร.เปิดซุ้มประตูค่ายกรมหลวงชุมพร ด่านแรกแสดงความเข้มแข็งนาวิกโยธิน
- ↑ กองทัพเรือ ลงนามข้อตกลง คุณธรรม ป้องกันการทุจริต งานก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา
- ↑ ITD คว้างาน “กรมช่างโยธาทหารเรือ” มูลค่า 338 ลบ. ลุยก่อสร้างปรับถมดิน “อู่ตะเภา”
- ↑ การบินไทย หารือกองทัพเรือเดินหน้าโครงการศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา
- ↑ "มทร.รัตนโกสินทร์ร่วมต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมจากกรมช่างโยธาทหารเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
- ↑ "กรมโยธาธิการและผังเมืองให้การต้อนรับกรมช่างโยธาทหารเรือ นำโดย น.อ. (พิเศษ) พรชัย จ้อยจำรูญ รองเจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ พร้อมด้วยคณะศึกษาดูงาน จำนวน 57 นาย เข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติภารกิจและการจัดการความรู้ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการให้การปฏิบัติงานของกรมช่างโยธาทหารเรือให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
- ↑ วันที่ (6 กันยายน 2562) เวลา 09.30 น. นายสมชาย เมธวัฒน์ธรากุล รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้การต้อนรับกรมช่างโยธาทหารเรือ นำโดย น.อ. (พิเศษ) พรช
- ↑ ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ กรณีศึกษา : สายงานฝ่ายผลิต
- ↑ กองทัพเรือสดุดีผู้กล้าเสียชีวิตหลังช่วยคนตกน้ำ
- ↑ ทร.จัดพิธียกย่อง พนักงานราชการสังกัดกรมช่างฯ เสียชีวิตหลังช่วยคนพลัดตกน้ำ
- ↑ ยิปมั่นเทค ผุดไอเดียนำแผ่นยิปซัม สร้างแผงกั้นเตียงผู้ป่วยโควิด-19
- ↑ 'บิ๊กลือ' มอบประกาศเกียรติคุณนักวิจัยของ ทร. ประจำปี 2563 - มติชนออนไลน์
- ↑ "บิ๊กลือ" ยกย่องนักวิจัยทหารเรือ 11 ผลงาน ช่วยกองทัพพึ่งพาตนเอง
- ↑ ผบ.ทร. มอบรางวัลคุณภาพกองทัพเรือและนาวีวิจัยให้กำลังพล