ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์
ไฟล์:ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางเจติยา เลี้ยงผ่องพันธุ์[1]

นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ (เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 8 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายฮังคี และ นางทิม เลี้ยงผ่องพันธุ์[2] สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ด้านครอบครัว ได้สมรสกับนางเจติยา เลี้ยงผ่องพันธุ์

งานการเมือง[แก้]

ปณวัตร มีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอคูเมือง บ้านเกิด ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคมวลชน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2550 รวม 8 สมัย ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ [3]

ปณวัตร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[4]

พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[5]

หลังพ้นโทษจำคุกแล้ว ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นายปณวัตร ได้ให้การสนับสนุน พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคมวลชน → พรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย

คดีความ[แก้]

พ.ศ. 2558 ปณวัตร ถูกศาลฎีกาตัดสินให้จำคุก 4 ปี และปรับเป็นจำนวน 22 ล้านบาท ในคดีบุกรุกที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จำคุก 4ปี "ปณวัตร" อดีตส.ส.บุรีรัมย์ 7 สมัย, เดลินิวส์, 27 มกราคม พ.ศ. 2558
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
  5. [https://web.archive.org/web/20160304213520/http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1227980971&grpid=04&catid=01 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "ศิลปอาชา"สูญพันธุ์ หลังยุบชาติไทย เปิด109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ"ถูกเพิกสิทธิเลือกตั้ง จากมติชน]
  6. ผู้สมัครส.ส.บุรีรัมย์เขต3พท.ควง'ปณวัตร'หาเสียง โวกระแสตอบรับดี-ชูปลูกเมล่อนแก้จน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒