พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประเภทอนุสาวรีย์
วัสดุโลหะสัมฤทธิ์
ความยาว8.80 เมตร
ความสูง10 เมตร
เริ่มก่อสร้าง7 เมษายน พ.ศ. 2538
สร้างเสร็จพ.ศ. 2541
การเปิด6 กันยายน พ.ศ. 2542
อุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทางแยก ทางแยก
ชื่ออักษรไทยพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ชื่ออักษรโรมันThe Monument of King Rama I
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศทางการจราจร
ถนนวงแหวนรอบเมืองบุรีรัมย์
» แยกโรงแรมแสงรุ้ง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219
» แยกภัทรบพิตร
ถนนวงแหวนรอบเมืองบุรีรัมย์
» แยกเสนศิริอนุสรณ์
ถนนเสด็จนิวัติ
» แยกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ถนนเสด็จนิวัติ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก

จดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยานางรองซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองบุรีรัมย์

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2538 และทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการเสริมไฟฉัตร 360 ต้น บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

  1. "สง่างามสมพระเกียรติ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างฉัตร 9 ชั้น ถวายพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๑". mgronline.com. 2021-04-04.