จักรพันธ์ แก้วพรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพันธ์ แก้วพรม
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จักรพันธ์ แก้วพรม
วันเกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 (35 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.69 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลาง, แบ็คขวา
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ราชบุรี
หมายเลข 10
สโมสรเยาวชน
โรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2550–2552 บีอีซี เทโรศาสน 54 (7)
2553–2554 เมืองทอง ยูไนเต็ด 35 (4)
2554–2565 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 193 (18)
2565– ราชบุรี 25 (2)
ทีมชาติ
2551–2561 ไทย 21 (2)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

จักรพันธ์ แก้วพรม (ชื่อเล่น โน้ต; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – ) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันลงเล่นตำแหน่งกองกลาง / แบ็กขวาให้กับราชบุรี เขาเป็นนักเตะที่สามารถคว้าแชมป์ไทยลีกสูงที่สุด รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยเป็นการคว้าแชมป์ร่วมกับเมืองทอง ยูไนเต็ด 1 ครั้ง และอีก 7 ครั้งกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

สโมสร[แก้]

บีอีซี เทโรศาสน[แก้]

จักรพันธ์เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับบีอีซี เทโรศาสน โดยเขาถูกจับไปเล่นในตำแหน่งแบ็กขวาและกองกลางฝั่งขวา เพราะในตอนนั้น สโมสรมีผู้เล่นในตำแหน่งกองกลางตัวกลางมากพอแล้ว

เมืองทอง ยูไนเต็ด[แก้]

ใน พ.ศ. 2553 จักรพันธ์ย้ายไปเมืองทอง ยูไนเต็ด เขาทำผลงานได้ดีและมีส่วนช่วยให้สโมสรชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2553 นอกจากนี้ เขายังได้รับการโหวตให้เป็นนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยมของสโมสรในฤดูกาลนั้นด้วย

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ปล่อยตัว จักรพันธ์ แก้วพรม ให้กับ บุรีรัมย์ พีอีเอ[1]

ฤดูกาล 2557[แก้]

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จักรพันธ์ทำประตูแรกในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2557 ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะ แบงค็อก ยูไนเต็ด ไปได้ 3–0 ต่อมาในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 จักรพันธ์ทำประตูที่ 2 ในลีก ในนัดที่ บุรีรัมย์ บุกไปเอาชนะ ราชบุรี มิตรผล 2–0 ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 จักรพันธ์ทำประตูที่ 3 ในลีก ในนัดที่ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเสมอกับต้นสังกัดเก่าของเขา บีอีซี เทโรศาสน 1–1[2]

ฤดูกาล 2558[แก้]

ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 จักรพันธ์ทำประตูแรกในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 ช่วยให้ บุรีรัมย์ บุกไปเอาชนะ กัลฟ์ สระบุรี 2–1[3] ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ช้าง เอฟเอคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย จักรพันธ์ทำหนึ่งประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ บุกไปเอาชนะ บางกอกกล๊าส ที่ลีโอสเตเดียม 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[4] ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 โตโยต้า ลีกคัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดที่สอง จักรพันธ์ทำหนึ่งประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเอาชนะ ลำพูน วอร์ริเออร์ 7–1 ผลประตูรวม 7–1 ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ[5] ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 โตโยต้า ลีกคัพ รอบรองชนะเลิศ นัดแรก จักรพันธ์ทำหนึ่งประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเอาชนะ อาร์มี่ ยูไนเต็ด ไปได้ 3–2 และในนัดที่สอง บุรีรัมย์ก็บุกไปเสมอ 2–2 ผลประตูรวม 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[6] ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ช้าง เอฟเอคัพ นัดชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์ เจอกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่สนามศุภชลาศัยในกรุงเทพมหานคร จักรพันธ์ทำหนึ่งประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ เอาชนะ เอสซีจี เมืองทอง ไปได้ 3–1 ทำให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ ช้าง เอฟเอคัพ สมัยที่ 4 และคว้าแชมป์รายการที่ 5 ของฤดูกาล ได้สำเร็จ[7]

ฤดูกาล 2559[แก้]

ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก บุรีรัมย์ เจอกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่สนามศุภชลาศัยในกรุงเทพมหานคร จักรพันธ์ทำหนึ่งประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ เอาชนะ เอสซีจี เมืองทอง ไปได้ 3–1 ทำให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก สมัยที่ 4 ได้สำเร็จ[8] ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จักรพันธ์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2559 ในนัดที่ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเสมอกับ บีอีซี เทโรศาสน 3–3[9] ต่อมาในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จักรพันธ์ยิง 2 ประตูในลีก ในนัดที่ บุรีรัมย์ บุกไปเสมอกับ ศรีสะเกษ ที่สนามศรีนครลำดวน 2–2[10]

ฤดูกาล 2560[แก้]

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จักรพันธ์ ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2560 ช่วยให้ บุรีรัมย์ บุกไปเอาชนะ ราชนาวี ที่สนามกองทัพเรือ (สัตหีบ) 2–1[11] ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 จักรพันธ์ ทำประตูที่ 2 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะ แบงค็อก ยูไนเต็ด ไปได้ 2–1[12] ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 จักรพันธ์ทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะ นครราชสีมา ที่สนามเฉลิมพระเกียรติฯ 2–0 นับเป็นการบุกไปเอาชนะ นครราชสีมา ถึงถิ่น เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร[13][14] ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560 จักรพันธ์ทำประตูที่ 4 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะ ราชบุรี ที่สนามมิตรผล 2–0[15] จบฤดูกาล จักรพันธ์ยิงประตูในลีกทั้งหมด 4 ประตู มีส่วนช่วยให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 5 ได้สำเร็จ โดยเขาได้รับรางวัล "นักฟุตบอลยอดเยี่ยม โตโยต้า ไทยลีก" จากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในงาน FA Thailand Awards and New Year Celebrations เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560[16]

ฤดูกาล 2561[แก้]

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ไทยลีกนัดเปิดฤดูกาล 2561 จักรพันธ์ยิงประตูแรกในลีก ช่วยให้ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเอาชนะ ราชบุรี มิตรผล ไปได้ 2–1[17] โดยประตูของเขา ถือเป็นประตูแรกที่เกิดขึ้นในไทยลีกฤดูกาลนี้[18] ต่อมาในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จักรพันธ์ทำประตูที่ 2 ในลีก ในนัดที่ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเอาชนะ แอร์ฟอร์ซ ไปได้ 5–0 ทำให้บุรีรัมย์จบเลกแรกด้วยการเป็นจ่าฝูงได้สำเร็จ[19] ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ช้าง เอฟเอคัพ รอบ 32 ทีมสุดท้าย จักรพันธ์ยิง 2 ประตู ช่วยให้ บุรีรัมย์ เปิดบ้านเอาชนะ ลำปาง จากไทยลีก 2 ไปได้ 6–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[20] ต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จักรพันธ์ทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะ ชลบุรี 2–0[21]

ฤดูกาล 2562[แก้]

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ นัดชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2561 เจอกับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ช้าง เอฟเอคัพ 2561 ที่สนามกีฬากองทัพบกในกรุงเทพมหานคร จักรพันธ์ลงเล่นเป็นตัวสำรองในนัดนั้น สุดท้าย บุรีรัมย์ แซงเอาชนะ สิงห์ เชียงราย 3–1 ช่วยให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ สมัยแรก ได้สำเร็จ[22]

จบฤดูกาล 2562 จักรพันธ์ลงเล่นในลีกไปทั้งสิ้น 9 นัด และไม่สามารถยิงประตูในลีกได้เลย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จักรพันธ์ได้รับการจัดอันดับโดยเว็บไซต์ Transfermarkt ให้เป็นผู้เล่นชาวไทยที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงที่สุดของสโมสร โดยอยู่ที่ 350,000 ยูโร หรือประมาณ 11 ล้านบาท[23]

ฤดูกาล 2563–64[แก้]

ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 รอบ 32 ทีมสุดท้าย จักรพันธ์ทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 4–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[24] ต่อมาในวันที่ 12 ธันวาคม เขาทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 ช่วยให้บุรีรัมย์บุกเอาชนะแบงค็อก ยูไนเต็ดที่ทรูสเตเดียม 2–1[25] ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม เขาทำประตูที่ 2 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกเอาชนะชลบุรีที่ชลบุรีสเตเดียม 2–0[26]

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 เขาทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะสุโขทัย 3–0[27] ต่อมาในวันที่ 18 มีนาคม เขาทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด 2–0[28]

ทีมชาติ[แก้]

จักรพันธ์ ถูก ปีเตอร์ รีด เรียกตัวติดทีมชาติไทยชุดใหญ่เบื้องต้น 30 คน ในการแข่งขันเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก จักรพันธ์ทำประตูแรกในนามทีมชาติ ช่วยให้ไทยเอาชนะปาเลสไตน์ไปได้ 1-0 ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก นัดที่ไทยพบกับออสเตรเลีย จักรพันธ์เล่นในตำแหน่งแบ็กขวา และจ่ายบอลให้ ธีรศิลป์ แดงดา ทำประตูได้สำเร็จ

ใน พ.ศ. 2556 จักรพันธ์ ถูก สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ เรียกตัวติดทีมชาติในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 เขาได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกเปลี่ยนตัวออกในนัดอุ่นเครื่องที่พบกับบาห์เรน

สถิติอาชีพ[แก้]

สโมสร[แก้]

ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเชีย อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2563–64 ไทยลีก 27 4 3 1 2 0 32 5
2564–65 ไทยลีก 5 0 3 0 3 0 11 0

ทีมชาติ[แก้]

ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561[29]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
ไทย 2554 9 1
2555 4 0
2556 2 0
2557 1 0
2559 1 0
2560 1 0
2561 3 1
ทั้งหมด 21 2

การทำประตูในนามทีมชาติ[แก้]

อันดับ วันที่ สถานที่ คู่แข่ง แต้มประตู ผล การแข่งขัน
1. 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สนามไอ-โมบาย บุรีรัมย์ ไทย ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 1–0 1–0 ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
2. 25 มีนาคม พ.ศ. 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร ไทย ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย 1–2 2–3 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 46

เกียรติประวัติ[แก้]

สโมสร[แก้]

เมืองทอง ยูไนเต็ด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

รางวัลส่วนตัว[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "กิเลนตัดใจปล่อยจักรพันธ์ซบปราสาทสายฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""มังกรไฟ"ยังไร้พ่าย เสมอบุรีรัมย์ 1-1 ขึ้นนำฝูง". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "บุรีรัมย์บุกเฉือนขุนศึก 2-1 รั้งฝูงต่อ". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""จักรพันธ์" ซัดใบไม้ร่วง! "บุรีรัมย์" ถล่ม บีจี 3-1". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""บุรีรัมย์" ยำลำพูน 7-1". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "′บุรีรัมย์′ เฮหวิวเฉือน ′อาร์มี่′ 3-2 ลีกคัพนัดแรก". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "'บุรีรัมย์' ถลุง 'เมืองทอง' 3-1 ซิวแชมป์เอฟเอคัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุรีรัมย์ถล่มเมืองทอง3-1ซิวแชมป์ถ้วย ก." สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "บุรีรัมย์นำ 3 หนไม่ชนะ! เจ๊าเทโรฯสุดมัน 3-3 ศึกโตโยต้าไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ศรีสะเกษฮึดเปิดบ้านตามตีเจ๊าบุรีรัมย์ฯ2-2". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกเอาชนะ ราชนาวี 2-1 ไทยลีก เกมที่ 2". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ดับซ่า แบงค็อก ยูไนเต็ด 2-1 ทะยานขึ้นจ่าฝูงไทยลีกปิดเลกแรก". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกชนะ นครราชสีมา ท่ามกลางสายฝน". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ชัยชนะที่บ้านแมวสวาทเป็นครั้งแรก หลังบุกชนะ 2-0". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "บุรีรัมย์ บุกอัดราชบุรี 2–0 นำฝูงต่อ ช่องว่าง 6 แต้ม". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "จักรพันธ์แข้งแห่งปีไทยลีก งาน FA Thailand Awards and New Year Celebrations". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดบ้านชนะ ราชบุรี 2-1 ประเดิมไทยลีก 2018". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "เปิดสถิตินักเตะทำประตู ประเดิมไทยลีก ฤดูกาล 2018". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ""บุรีรัมย์"ฟอร์มโหดถล่มแอร์ฟอร์ซเละปิดเลกแรก". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถล่มลำปาง 6-0 ตีตั๋วเข้ารอบ 16 ทีมเอฟเอคัพ". สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "บุรีรัมย์คมกว่าบุกดับซ่าชลบุรีสุดมันส์ 2-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-05. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "บุรีรัมย์พลิกแซงเชียงราย 3-1 คว้าแชมป์ ออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนคัพ". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "นักเตะไทยที่มีมูลค่าสูงสุดของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด". สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "ปราสาทสายฟ้า ดุจัด เปิดบ้านชนะ มังกรโล่เงิน 4-0 ฉลุยสู่รอบ 16 ทีม ลูกหนัง ช้าง เอฟเอ คัพ 2020". สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.
  25. "แข้งเซราะกราว บุกเชือด แข้งเทพ 1-2 ลูกหนังไทยลีก 2020". สืบค้นเมื่อ December 12, 2020.
  26. "ปราสาทสายฟ้า บุกเชือด ฉลามชล 0-2 เปิดฉาก ไทยลีก 2020 เลกที่ 2". สืบค้นเมื่อ December 26, 2020.
  27. "จ่อซิวตั๋ว ACL! บุรีรัมย์ถล่มสุโขทัย 3-0". สืบค้นเมื่อ March 10, 2021.
  28. "บุรีรัมย์เปิดบ้านเช็กบิลแบงค็อก 2-0". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
  29. "Jakkaphan Kaewprom". National-Football-Teams.com. National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
  30. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒ [วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ รวมทั้งสิ้น ๕,๘๙๔ ราย]