อำเภอสนม
![]() | บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
อำเภอสนม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sanom |
คำขวัญ: ศาลปู่ตาคู่บ้าน ดอกจานงามตา ล้ำค่าผ้าพื้นเมือง ลือเลื่องประเพณี มากมีภูมิปัญญา ชาวประชามีน้ำใจ | |
![]() แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอสนม | |
พิกัด: 15°11′56″N 103°45′42″E / 15.19889°N 103.76167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 354.49 ตร.กม. (136.87 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 43,542 คน |
• ความหนาแน่น | 122.83 คน/ตร.กม. (318.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3208 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสนม หมู่ที่ 2 ถนนศรีสนม ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160 |
![]() |
สนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ เจ้าเมืองคนแรกคือ พระภักดีพัฒยากร (ท้าวอุทา) บุตรพระศรีณครชัย เจ้าเมืองรัตนบุรี มีประวัติศาสตร์และประเพณียาวนานกว่า 1,200 ปี โดยตั้งแต่สมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยมีปราสาทเก่าอยู่ที่วัดธาตุบ้านสนม ปัจจุบันถูกรื้อถอนเพื่อสร้างพระอุโบสถ แต่ก็ยังได้ขึ้นทะเบียนในกรมศิลปากรอยู่ มีชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวอีสาน และ ส่วย โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนสนมวิทยาคาร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอสนมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าตูมและอำเภอรัตนบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอรัตนบุรีและอำเภอโนนนารายณ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอจอมพระ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าตูม
ประวัติ[แก้]
- ในสมัยอาณาจักรเขมร มีพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงปกครองอาณาจักรและแผ่ขยายอาณาเขต โดยการสร้างปราสาท โดยที่อำเภอสนมก็อีกแห่งหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าอาจเคยเมืองหรือหมู่บ้านขนาดใหญ่มาก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1,200 ปี ปราสาทก็ถูกทิ้งร้าง
จนเมื่อในปีพ.ศ. 2425 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(2411 – 2453) ฝ่ายเมืองรัตนบุรี(ขณะนั้นขึ้นต่อเมืองพิมาย)ได้เกิดวิวาทกัน หลวงจินดานุรักษ์(ท้าวอุทา หรือท้าวอุดทา หลวงจินดารักษ์)) บุตรพระศรีนครชัย เจ้าเมืองรัตนบุรีคนเก่า ได้นำบัญชีหางว่าว กรมการขุนหมื่นตัวเลขของพระศรีนครชัย ผู้เป็นบิดา รวม 500 คนเศษ ซึ่งเป็นราษฎรจากบ้านหวาย (รัตนบุรี) บ้านผือ บ้านไผ่ บ้านช่อง บ้าน นาวอง บ้านแก บ้านจ้อ บ้านทับ บ้านโพธิ์ ไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองสนม แขวงเมืองรัตนบุรี ได้ไปร้องทุกข์ ณ ศาลาว่าการลูกขุน กล่าวหาว่า พระศรีนครชัยเจ้าเมืองรัตนบุรีคนเก่ากดขี่ข่มเหงได้รับความเดือดร้อน จะขอสมัครไปขึ้นกับเมืองสุรินทร์
จึงมีตราโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์(ม่วง) รับหลวงจินดานุรักษ์และขุนหมื่นตัวเลขให้ทำราชการขึ้นกับเมืองสุรินทร์ ตามใจสมัคร พระยาสุรินทร์ (ม่วง) จึงตั้งให้หลวงจินดานุรักษ์เป็นที่พระภักดีพัฒนากร ควบคุมสำมะโนครัวตัวเลขเสียส่วยขึ้นกับเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองสนม และต่อมาเมืองสุรินทร์ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านหนองสนมเป็นเมืองสนม
ครั้นพ.ศ. 2435 เมืองรัตนบุรีกล่าวโทษเมืองสุรินทร์ว่าแย่งชิงดินแดน มีท้องตราโปรดเกล้าฯ ว่าเมื่อปี พ.ศ. 2425 หลวงจินดานุรักษ์บุตรพระศรีนครชัยเจ้าเมือง รัตนบุรีคนเก่า กับขุนหมื่นตัวไพร่ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านหนองหนองสนม แขวงเมืองรัตนบุรีร่วม 500 คนเศษ ร้องสมัครไปขึ้นต่อเมืองสุรินทร์ และเมืองสุรินทร์ได้ร้องขอหักโอนคนเหล่านั้น ตามท้องตราประกาศเดิม ซึ่งอนุญาตให้ได้อยู่ตามใจสมัครนั้น และต่อมาเมืองสุรินทร์ไปขอตั้งบ้านหนองสนมเป็นเมืองสนม ขึ้น ต่อมาเมืองสุรินทร์ได้มีใบบอก ถึงพระยามหาอำมาตย์ฯ ( หรุ่น ศรีเพ็ญ ) ซึ่งเป็นข้าหลวงลาวกาวข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์(ต่อมาเรียกว่ามณฑลอีสาน)อยู่ในเวลานั้นให้ไต่สวนแล้ว พระยามหาอำมาตย์ ( หรุ่น ศรีเพ็ญ ) จะได้ไต่สวนหรือประการใด ก็หาได้บอกมากรุงเทพฯไม่ การก็ติดอยู่เพียงนั้น และบ้านหนองสนมก็ยังมิได้โปรดฯให้ยกขึ้นเมืองสุรินทร์ แล้วจึงให้ข้าหลวงปักปันเขตแดนสุรินทร์กับรัตนบุรี ต่อไป ส่วนคนที่อยู่ในเขตบ้านหนองสนมเท่าใด ก็ให้เป็นคนสังกัดเมืองรัตนบุรีตามเดิม จึงเป็นอันว่าบ้านหนองสนม ยังคงอยู่ในอาณาเขตของเมืองรัตนบุรีต่อไป (หลักศิลาปักเขตแดนระหว่างเมืองสุรินทร์กับเมืองรัตนบุรียังปรากฏอยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลโพนโก และที่วัดแท่นศิลา บ้านแท่น ตำบลนานวน ในปัจจุบัน)
แม้จะไม่ได้ขึ้นต่อเมืองสุรินทร์ แต่พระภักดีพัฒนากร ก็ไม่ยอมขึ้นต่อเมืองรัตนบุรี จึงได้ขอไปทำราชการกับเจ้าเมืองสุรินทร์ อยู่จนถึงแก่กรรม ลูกหลานซึ่งประกอบไปด้วย แม่เขียน แม่จูม แม่เปี่ยม และลูกเขยคือนายเพ็ชร์ สวยสะอาด ได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ ณ วัดบึง บ้านสนม ตำบลสนม เมื่อปี 2480โดยจารึกว่า “ นายเพชร สวยสะอาด พร้อม บุตร ภรรยา ร่วบริจาคเงินรวม52บาท สร้างเจย์ดีกวม ธาตุ ยาพ่อพระภักดีพัฒยากรณ์ เจ้าเมืองนครสนม ”
ระหว่างปี พ.ศ. 2425-2435 พระภักดีพัฒนากร ได้ทำราชการขึ้นต่อเมืองสุรินทร์ โดยมีที่ทำการอยู่ทางทิศตะวันตกวัดธาตุ (ปัจจุบันเป็นที่ดินบ้านแม่วิไลวรรณ กำลังกล้า) เป็นอาคารชั้นเดียวมุงหญ้าคาซึ่งเป็นที่ดินของของหลวงเมืองในสมัยนั้น และ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศฐาบันดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาภักดีพัฒยากรณ์ พร้อมด้วยอีก 3 ชื่อ
นอกจาก พระยาภักดีพัฒนากร หรือพระยาพิพัตรภักดี หรือพระยาพิพัฒน์ภักดีพัฒยากรณ์ เจ้าเมือง แล้วยังแต่งตั้งคณะกรรมการเมือง อีกมากเป็นต้นว่า หลวงเมือง (นายคำมี) หลวงจำเริญ (นายสา) หลวงยกกะบัตร( นายเหลา) หลวงปรีชา หลวงวัง หลวงพรหม ขุนเสมอใจ ขุนจำนงค์ ขุนอักขระ มหาราช บุตรราช เสหราช ขุนอาสา ขุนระวัง ขุนพิทักษ์ ขุนไชย ขุนวรราช ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือตระกูลของชาวสนม ในเวลาต่อมาเป็นต้น
บรรดาท่าน ขุน หลวงทั้งหลาย มีหน้าที่คอยรับคำร้องทุกข์ของชาวบ้าน นำชาวบ้านสร้างทำนบหรือฝายเก็บกักน้ำใว้ใช้ในฤดูแล้ง เป็นต้น เวลาที่เหลือก็ทำอาชีพของตน เช่น สานแห สานครุ สานตะกร้า สานลอบ ไซ คนโบราณจึงเรียกว่า ” ลงสาน ” หมายถึง การลงจักสาน เช่น สุ่ม แห เป็นต้น.....
โดยมีหลักศิลาปักเขตแดนระหว่างเมืองสุรินทร์กับเมืองรัตนบุรี ที่บ้านหนองคู ต.โพนโก และบ้านหนองหลัก ต.หัวงัว ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ตามรูปแบบปัจจุบัน มีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับ อ.รัตนบุรี ซึ่งระยะห่างจากอ.รัตนบุรี ประมาณ 18 กิโลเมตร การเดินทางติดต่อกับ อ.รัตนบุรี ได้รับความยากลำบาก ประกอบกับ อ.รัตนบุรี มีตำบลในปกครองถึง 18 ตำบลทำให้การดูแลทุกข์สุขประชาชนไม่ทั่วถึง จึงได้พิจารณาว่า ต.สนม เป็นจุด ศูนย์กลางของตำบลใกล้เคียง ได้แก่ ต.โพนโก ต.แคน ต.นานวน ต.หนองระฆัง และ ต.สนม รวม 5 ตำบล มีความเหมาะสมที่จะขอแยกการปกครองยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และได้รับประกาศยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2514 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฏีกา ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสนม ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2520 เป็นต้นมา อำเภอสนม มีปราสาทอยู่หลังหนึ่ง ที่วัดธาตุสนม แต่ทางวัดได้รื้อออกไปหมดแล้ว แล้วสร้างพระอุโปสถทับ และได้ขุกเจอ เทวรูป ศิลปะลพบุรี แบบนครวัด รูปร่าง ไม่มีเศียร แขน ขา มีแต่ตัว ขณะนี้อยูที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
รายนามเจ้าเมืองสนม[แก้]
- พระภักดีพัฒยากรณ์
- พระภักดีศรีสนม
- หลวงจินดา
- พระศรีสนม
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ[แก้]
- นายสิงห์ ไชยโยชน์ ( 3 พ.ค. 2520 - 16 มิ.ย. 2520 )
- ร.ต.สมทัศน์ บุญยอุปพันธ์ ( 17 มิ.ย. 2520 - 17 ก.พ. 2521 )
- นายปริญญา ศุกระเศรณี ( 17 ส.ค. 2521 - 31 ส.ค. 2523 )
- นายเผด็จ โสมจะบก ( 1 ก.ย. 2523 - 25 ต.ค. 2525 )
- นายประไพ สุขบท ( 26 ต.ค. 2525 - 26 พ.ค. 2528 )
- นายสมพงษ์ นิยมตรง ( 27 พ.ค. 2528 - 15 เม.ย. 2531 )
- นายประเทศ อุตตมะบูรณ ( 16 เม.ย. 2531 - 23 ต.ค. 2532 )
- นายทองทวี พิมเสน ( 24 ต.ค. 2532 - 19 ส.ค. 2533 )
- นายถาวร พรหมมีชัย ( 20 ส.ค. 2533 - 10 พ.ย. 2534 )
- นายสุชีพ แข่งขัน ( 11 พ.ย. 2534 - 11 ต.ค. 2535 )
- นายเสถียร ทิวทอง ( 12 ต.ค. 2535 - 10 พ.ย. 2540 )
- นายกฤษดา พานิชเจริญ ( 10 พ.ย. 2540 - 21 พ.ย. 2542 )
- นายยุทธยง สัตยาลัย ( 22 พ.ย. 2542 - 10 ธ.ค. 2544 )
- นายอำนวย ปัทมวงศ์จริยา ( 11 ธ.ค. 2544 - 11 พ.ย. 2550 )
- นายประถม ประเมินดี ( 12 พ.ย. 2550 - 23 พ.ย. 2551 )
- นายวัลลพ เรืองพรเจริญ ( 24 พ.ย. 2551 - 23 ส.ค. 2552 )
- นายพิจิตร บุญทัน ( 24 ส.ค. 2552 - 21 ก.พ. 2553 )
- นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ( 22 ก.พ. 2553 - 17 พ.ค. 2554 )
- นายเสรี หอมเกษร ( 18 พ.ค. 2553 - 12 ธ.ค. 2554 )
- นายวัชรินทร์ รัตนบรรณกิจ ( 13 ธ.ค. 2554 - 17 ม.ค. 2557 )
21. นายชูศักดิ์ จำเรียงฤทธิ์ (๑๓ม.ค.๕๗-๓๐ก.ย.๕๗)
22.นายเมตต์ แสงจันทร์ (๙ ก.พ.๕๘ - ๑๕ พ.ย.๕๘)
23. นายกิตติ สัตย์ซื่อ (๑๖ พ.ย.๕๘-๑๔ส.ค.๕๙)
24.นายสุริยา บุตรจินดา (๗ พ.ย.๕๙-๗พ.ค.๖๐)
25.นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ (๘ พ.ค.๖๐ -
26.นายวีรศักดิ์ บัวศรี
27.นางสาววัญเพ็ญ หาญเสมอ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภสนมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล และ 78 หมู่บ้าน ตำบลในอำเภอสนมมีทั้งหมด 7 ตำบล ดังนี้
ที่ | ตำบล | หมู่บ้าน | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
1 | สนม (Sanom) | 12 | 59.45 | 22,272 | 374.63 |
2 | โพนโก (Phon Ko) | 12 | 46.35 | 7,190 | 155.12 |
3 | แคน (Khaen) | 14 | 56.35 | 9,063 | 160.83 |
4 | หัวงัว (Hua Ngua) | 8 | 42.33 | 4,365 | 103.11 |
5 | หนองระฆัง (Nong Rakhang) | 8 | 54.33 | 4,489 | 82.62 |
6 | หนองอียอ (Nong I Yo) | 11 | 50.23 | 4,749 | 94.54 |
7 | นานวน (Na Nuan) | 13 | 45.45 | 5,989 | 131.77 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอสนมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสนม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสนม
- เทศบาลตำบลแคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสนม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสนม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนโกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระฆัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองระฆังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนานวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนานวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวงัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอียอทั้งตำบล
รางวัลประจำอำเภอ[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2553
- รางวัลรองชนะเลิศ ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2540
ชมรมที่ได้รับคือ ชมรมผู้สูงอายุบานไม่รู้โรย อำเภอสนม
- รางวัลเทศบาลดีเด่น ระดับจังหวัด
ปี 2555 หมู่บ้าน อพป. รองชนะเลิศอันดับ ๑ ระดับภาค (บ้านพลับ ม.๔ ต.สนม)
ปี ๒๕๕๗ ชนะเลิศศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนดีเด่น (ศอช.ต.) หัวงัว
ปี ๒๕๕๘ ชนะเลิศบ้านสวยเมืองสุขระดับจังหวัดบ้านสองห้อง ม.๕ ต.หัวงัว
ปี ๒๕๕๙ ชนะเลิศผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น
ประเภท หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” บ้านพลับ ม.๔ ต.สนม
ประเภท กลุ่มองค์กร (กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านพลับ) บ้านพลับ ม.๔ ต.สนม
ประเภท ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (นางบุญลอง ตรองจิตร) ผู้นำ อช.ตำบลสนม
สภาพเศรษฐกิจ[แก้]
สภาพเศรษฐกิจ ขณะนี้ถือว่ากำลังเริ่มต้นที่จะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง[ต้องการอ้างอิง]มีร้านอาหารใหญ่ๆ 5 ร้าน มีร้านสะดวกซื้อ 5 ร้าน สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกสัญญานเข้าไปถึง สัญญานโทรศัพย์บ้านเข้าไปถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าไปถึง และมีธนาคารเพียงแห่งเดียว คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
เทศกาลและงานประเพณี[แก้]
- เทศกาลสนมเมืองดอกจาน ประสานใจใหว้ปู่ตา จัดช่วงที่ดอกจานบาน (ฤดูร้อน) ของทุกปี
- ประเพณีบุญผะเหวด (พระเวศ)เทศน์มหาชาติ
- ประเพณีบุญบั้งไฟ
- ประเพณีลอยกระทง
- เทศกาลอาหารปลอดภัย
- รำวงกงก้า เป็นรำวงพื้นเมืองสนม มีแห่งเดียวในประเทศไทย
- ประเพณีรำบวงสรวงพระยาภักดีพัฒยากร (ท้าวอุทา) เจ้าเมืองสนมคนแรก
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดธาตุ ชมพระอุโบสถที่วางทับปราสาทเมืองสนม ไหว้รูปเหมือน พระครูบูญสิริโสภน ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสนมรูปแรก)
- วัดบึง ไหว้รูปเหมือนพระครูไพโรจน์พัฒนกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอสนม รูปแรก ขอพรจากพระครูศรีปริยัติคณานุรักษ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสนมและไหว้อัฐิพระภักดีพัฒยากร เจ้าเมืองสนม
- วัดศรีสว่างโคกสะอาด
- วัดป่าอตุโลบูญลักษม์ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และรูปเหมือนพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)
- หนองสนม รับบรรยากาศเหมือนทะเล ใหว้ศาล ปู่ ตา หนองสนม
- นมัสการหลวงพ่อรวยทันใจ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธสถานประทานพร บ้านอาเลา หัวเสือ ตำบลหนองอียอ
วัดในอำเภอสนม[แก้]
วัดราษฏร์มหานิกาย[แก้]
- วัดแจ้งหนองหว้า ตำบลแคน
- วัดสระโพธิ์แคนใหญ่ ตำบลแคน
- วัดสร้างแก้วสองห้อง (สระแก้วสองห้อง) ตำบลแคน
- วัดสว่างนายม (นายม) ตำบลแคน
- วัดหนองแคนน้อย ตำบลแคน
- วัดอิสาณ ตำบลแคน
- วัดอุดรโนนจาน ตำบลแคน
- วัดคูณนิวาส ตำบลนานวน
- วัดแจ้งนานวน ตำบลนานวน
- วัดแจ้งหัวนา ตำบลนานวน
- วัดแท่นศิลา ตำบลนานวน
- วัดบูรพาวนาราม ตำบลนานวน
- วัดอ้อมแก้ว ตำบลนานวน
- วัดจำปา ตำบลโพนโก
- วัดแจ้งบัวแดง ตำบลโพนโก
- วัดโพธิ์เย็น ตำบลโพนโก
- วัดสว่างเป้า ตำบลโพนโก
- วัดสิลาโนนเปือย ตำบลโพนโก
- วัดโสภณ ตำบลโพนโก
- วัดธรรมโสกแดง ตำบลสนม
- วัดธาตุ ตำบลสนม
- วัดบึง ตำบลสนม
- วัดศรีสว่างโคกสะอาด ตำบลสนม
- วัดสว่างนาศรีสุข ตำบลสนม
- วัดหนองพลับ ตำบลสนม
- วัดแก้วกุญชร ตำบลหนองระฆัง
- วัดอิสาณนาดี ตำบลหนองระฆัง
- วัดไตรประชาสามัคคี ตำบลหนองอียอ
- วัดบ้านบุผาง ตำบลหนองอียอ
- วัดราษฎร์สามัคคี ตำบลหนองอียอ
- วัดสว่างหนองอียอ ตำบลหนองอียอ
- วัดอารีราษฎร์วราราม ตำบลหนองอียอ
- วัดกาพระคุณาราม ตำบลหัวงัว
- วัดศรีอุดมหนองคู ตำบลหัวงัว
- วัดศิริหนองครก ตำบลหัวงัว
- วัดสระแก้ว ตำบลหัวงัว
- วัดสุทธิวงศา ตำบลหัวงัว
วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย[แก้]
- วัดทัพไทย ตำบลสนม
- วัดป่าอตุโลบุญญลักษณ์ ตำบลสนม
สำนักปฏิบัติธรรม[แก้]
- สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสถานประทานพร(หลวงพ่อทันใจ) ตำบลหนองอียอ
โรงเรียนในอำเภอสนม[แก้]
- โรงเรียนสนมวิทยาคาร(มัธยมศึกษาขนาดกลาง)
- โรงเรียนหนองขุนศรีวิทยา
- โรงเรียนบ้านแคน"คุรุราษฎร์ส่งเสริม"
- โรงเรียนบ้านนาดี
- โรงเรียนหนองอียอวิทยา
- โรงเรียนสนมศึกษาคาร
- โรงเรียนผาแดงวิทยา
- โรงเรียนบ้านหัวงัว
- โรงเรียนบ้านนาศรีสุข
- โรงเรียนบ้านหัวนา
- โรงเรียนบ้านนายม
- โรงเรียนบ้านโนนเปือย
- โรงเรียนบ้านเป้า
- โรงเรียนบ้านโพนโก
- โรงเรียนบ้านโพนดวน
- โรงเรียนบ้านสำโรง
- โรงเรียบ้านหนองอียอ
- โรงเรียนบ้านหนองระฆัง
- โรงเรียนบ้านอาเลา (โรงเรียนประชาบาลตำบลสนม 8)
สถานศึกษาขนาดใหญ่[แก้]
- โรงเรียนสนมวิทยาคาร (มัธยมศึกษาขนาดกลาง)
- วิทยาลัยการอาชีพสนม (กำลังพิจารณาก่อตั้ง)
รายนามผู้มีชื่อเสียงชาวสนม[แก้]
พระภิกษุสงฆ์
- พระครูไพโรจน์พัฒนกิจ (สูนย์ ฐานิสฺสโร) อดีตเจ้าคณะอำเภอสนม อดีตเจ้าอาวาสวัดบึง อำเภอสนม
- พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร)อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง
- พระครูศรีปริยัติคณานุรักษ์ (เสาร์ รกฺขิตธมฺโม),ป.ธ.6 ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสนม เจ้าอาวาสวัดบึง ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
- พระครูสุวรรณโสภณ (คำ อโสโก),ป.ธ.3 อดีตเจ้าคณะตำบลน้ำเขียว-โพนโก อำเภอรัตนบุรี และอดีตเจ้าอาวาสวัดโสภณ บ้านโพนโก อำเภอสนม
- พระครูสุภัทรโพธิคุณ (เผือก สุภทฺโท) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอท่าตูม และอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย บ้านหมากมี่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- พระครูสุทธปริยัตยาภรณ์ (ล้วน ผาสุกโก) อดีตเจ้าคณะอำเภอรัตนบุรี และอดีตรองเจ้าอาวาสวัดเหนือ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ข้าราชการ,นักการเมือง
- นายนุรุทธิ์ เจริญพันธุ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
- พ.ต.อ.ยศวัจน์ งามสง่า รอง ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ https://th-th.facebook.com/yossawat.ngamsanga
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลวัฒน์ ชุมสุข หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://web.facebook.com/448424995229474/photos/a.448450785226895.102894.448424995229474/781162798622357/?type=3&theater%3C%2Fref%3E&_rdc=1&_rdr
นักปราชญ์,นักอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม
- นายประเสริฐ วงศ์ฉลาด กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสุรินทร์ http://www.ggc.opm.go.th/upload/._61129380df702.pdf
ศิลปิน,นักแสดง,นักร้อง
- มาตุภูมิ ขุมทรัพย์(ต้อม) ศิลปินเพลงเพื่อชีวีต ของอำเภอสนม ประจำร้านอาหาร เดือนอ้าย ปลายปี เกิดที่บ้านสนม
การเดินทาง[แก้]
- เวลาเดินรถ สุรินทร์ - สนม
- 06.30 - 07.30 (สองแถว)
- 08.30 - 09.30 (รถตู้)
- 09.30 - 10.30 (รถตู้)
- 10.30 - 11.30 (รถตู้)
- 11.30 - 12.30 (รถตู้)
- 12.30 - 13.30 (สองแถว)
- 14.30 - 15.30 (รถตู้)
- 16.00 - 17.00 (รถตู้)
- 17.00 - 18.00 (รถตู้)
- 18.00 - 19.00 (รถตู้)
- รอบเช้า
- 07.19 น. (รถบัสปรับอากาศ ป2. หมายเลขรถ 944)
- รอบเย็น
- 18.30 น. (รถบัสปรับอากาศ ป2. หมายเลขรถ 944)
- 19.30 น. (รถบัสปรับอากาศ ป2. หมายเลขรถ 99/944)
- 20.00 น. (รถบัสปรับอากาศ ป1. หมายเลขรถ 999)
- 20.19 น. (รถบัสปรับอากาศ ป2. หมายเลขรถ 99)
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บสนม-จังหวัดสุรินทร์
- เว็บสนม-ชุมชนออนไลน์สนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
- เว็บไซต์เทศบาลตำบลสนม
- เว็บไซต์เทศบาลตำบลแคน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระฆัง
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว เก็บถาวร 2010-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ[ลิงก์เสีย]