พิมพิชยา ก๊กรัมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิมพิชยา ก๊กรัมย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มพิมพิชยา ก๊กรัมย์
ชื่อเล่นบีม
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (25 ปี)
อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
ส่วนสูง1.78 m (5 ft 10 in)[1]
น้ำหนัก62 kg (137 lb)
กระโดดตบ3.10 เมตร (122 นิ้ว) (10.2 ft)[1]
บล็อก3.03 เมตร (119 นิ้ว) (9.9 ft)[1]
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตบตรงข้ามหัวเสา (Opposite spiker)
สโมสรปัจจุบันญี่ปุ่น คูโรเบะ อควาแฟรีส์
หมายเลข16 (ทีมชาติ) 26 (สโมสร)
ทีมชาติ
พ.ศ. 2558 – ปัจจุบันไทย ทีมชาติไทย

พิมพิชยา ก๊กรัมย์ ชื่อเล่น บีม เกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งตัวตบตรงข้ามหัวเสา ให้แก่สโมสรคูโรเบะ อควาแฟรีส์ ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ[แก้]

พิมพิชยา ก๊กรัมย์ เป็นนักวอลเลย์บอลตำแหน่งบีหลัง จากโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 โดยเธอได้รับการฝึกสอนจากโค้ชเอ็ม ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต อินเลี้ยง

พ.ศ. 2557[แก้]

พิมพิชยาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2014 ที่ไต้หวัน ซึ่งทีมของเธอได้อันดับ 4 และในเดือนตุลาคม เธอได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย ซึ่งทีมของเธอเป็นฝ่ายชนะทีมทีมชาติเกาหลีใต้ในรอบรองชนะเลิศด้วยคะแนน 3–2 เช็ต[2] ส่วนในรอบชิงชนะเลิศ ทีมของเธอเป็นฝ่ายพ่ายทีมทีมชาติญี่ปุ่นด้วยคะแนน 3–1 เช็ต[3][4] จึงทำทีมของเธอได้อันดับ 2[5] นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลตัวตบตรงข้ามตัวเซ็ตยอดเยี่ยม[6]

พ.ศ. 2558[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 พิมพิชยาถูกเรียกเข้าเก็บตัวกับทีมชาติชุดปัจจุบันเพื่อฝึกและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันวอลเลย์บอลรายการต่างๆ [7][8]

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 เธอได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมสโมสรวอลเลย์บอลนครนนท์ 3BB ในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2015 ซึ่งเธอได้มีส่วนช่วยให้ทีมเป็นฝ่ายชนะทีมสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าสที่ 3-2 เซต[9][10] และวันที่ 30 มีนาคม เธอได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพาทีมนครนนทบุรี 3BB เข้ารับตำแหน่งรองชนะเลิศ[11]

และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พิมพิชยาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2015 ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งทีมของเธอเป็นฝ่ายชนะทีมทีมชาติญี่ปุ่น ในรอบรองชนะเลิศด้วยคะแนน 3–2 เช็ต[12] ส่วนในรอบชิงชนะเลิศ ทีมของเธอเป็นฝ่ายพ่ายทีมทีมชาติจีนด้วยคะแนน 3–1 เช็ต[13]

สโมสร[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

รางวัลส่วนบุคคล[แก้]

ทีมสโมสร[แก้]

ทีมชาติ[แก้]

ชุดใหญ่[แก้]

ชุดอายุไม่เกิน 23 ปี[แก้]

ชุดเยาวชน[แก้]

ชุดยุวชน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติ "พิมพิชยา ก๊กรัมย์ " วอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย". pptvhd36.com. 2022-08-19. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. หัวใจจะวาย! สาวไทยเฉือนโสมขาว เข้าชิงครั้งแรกตบยุวชนเอเชีย[ลิงก์เสีย]
  3. วอลเลย์ฯ สาวไทยพ่ายญี่ปุ่น 3-1 ได้รองแชมป์ยุวชนเอเชีย[ลิงก์เสีย]
  4. "ไทย 1-3 ญี่ปุ่น 19 ต.ค.57 U17 รอบชิงชนะเลิศ ศึกวอลเลย์บอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชียอายุไม่เกิน17ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
  5. "ตบสาวไทยรุ่นจิ๋วพ่ายญี่ปุ่น 1-3 เซต ศึกชิงแชมป์ยุวชนเอเชีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  6. ลูกยางสาวดาวรุ่ง ได้ใจ-ได้อนาคต
  7. ตบสาวทีมชาติ เข้ารายงานตัว 18 คน เริ่มฝึกซ้อม 13 ม.ค.นี้[ลิงก์เสีย]
  8. เผยชื่อ 22 นักตบลูกยาง ที่ทีมชาติเรียกรายงานตัว[ลิงก์เสีย]
  9. แพ้นนท์ไม่ซีเรียส โค้ชโจ้เผย เปิดทางสำรองหาประสบการณ์[ลิงก์เสีย]
  10. "แพ้แต่แชมป์! บีจีบุกพ่ายนครนนท์ 3-2 ปิดฉากตบไทยลีก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
  11. บีจีสุดแกร่ง ทุบนครนนท์คว่ำ เถลิงแชมป์ซูเปอร์ลีก[ลิงก์เสีย]
  12. มันกว่านี้มีอีกไหม! สาวไทย ฮึดพลิกดับ ยุ่น สะใจ 3-2 ตบยู23[ลิงก์เสีย]
  13. สู้สุดใจ! ทีมสาวไทย พ่าย จีน 1-3 เซต ชวดแชมป์ ยู23[ลิงก์เสีย]
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๕ ข หน้า ๒๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖