พระวชิรกิตติบัณฑิต (ทองขาว กิตฺติธโร)
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน (ธันวาคม 2565) |
พระวชิรกิตติบัณฑิต (ทองขาว กิตฺติธโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณทองขาว |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก, ป.ธ.4, พธ.บ., M.A., Ph.D. |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดนายาว จังหวัดบุรีรัมย์ |
ตำแหน่ง | รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์, เจ้าอาวาสวัดวัดนายาว, อาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
รองศาสตราจารย์ ดร.พระวชิรกิตติบัณฑิต[1] นามเดิม ทองขาว ฉายา กิตฺติธโร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ[2] รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์[3] เจ้าอาวาสวัดนายาว ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วุฒิการศึกษา
[แก้]- นักธรรมชั้นเอก สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (9 มกราคม พ.ศ. 2530)
- ปริญญาโท Master of Arts Program in Sociology (M.A.)
- ปริญญาเอก Doctor of Philosophy Program in Social Science (Ph.D.)
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 เป็นเจ้าอาวาสวัดนายาว ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2561 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (20 กันยายน พ.ศ. 2561)[4]
- พ.ศ. 2567 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ฝ่ายมหานิกาย (ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่3/2567 ลงวันที่30 มกราคม พ.ศ. 2567)
ศาสนกิจด้านการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2551-2566 เป็นกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (จากผู้แทนมหาวิทยาลัยในตำแหน่งคณบดีคณะสังคมศาสตร์)
- พ.ศ. 2559 เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2561-2566 เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (จากผู้แทนมหาวิทยาลัยในตำแหน่งคณบดีคณะสังคมศาสตร์)[5]
- พ.ศ. 2553-2566 เป็นคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (3 สมัย) รวมระยะเวลา 12 ปี
- อาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2562 ได้รับ"รางวัลบุคคลต้นแบบทำความดี” ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สังคม และประเทศชาติ จากรายการอาสาตามหาคนดี MCUTV มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[6](29 สิงหาคม พ.ศ.2562)
- พ.ศ. 2563 ได้รับประทาน"รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น" ประจำปี พ.ศ.2563 จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ[7] สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงพอพระทัย ได้ประทานพัดพัฒนาไว้เชิดชูเกียรติคุณ
- พ.ศ. 2564 ได้รับประทาน"รางวัลเสาอโศกผู้นำศีลธรรม" ประจำปี ๒๕๖๔[8] เพื่อเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลต้นแบบทางพระพุทธศาสนา โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้แทนพระองค์ มอบรางวัล ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับรางวัลเสาอโศกผู้นำศีลธรรมนี้ เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มีผลงานดีเด่นในด้านการส่งเสริม เผยแผ่ อุปถัมภ์ คุ้มครอง และปกป้องพระพุทธศาสนาเป็นที่ประจักษ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีของชาวพุทธ ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
สมณศักดิ์,พัดยศ
[แก้]- สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ที่ พระครูปริยัติกิตติธำรง[9]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระวชิรกิตติบัณฑิต[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.mcu.ac.th/news/detail/40153
- ↑ หุตะแพทย์, ชนิดา (2023-02-02). "ภารกิจคณะองคมนตรี ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566". หน่วยราชการในพระองค์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 2023-03-20.
- ↑ chanhena, Bandit. "มส.ยก "พระเทพสุวรรณมุนี" ขึ้นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 2 พร้อมแต่งตั้งรองจังหวัดหลายรูป". เดลินิวส์.
- ↑ "พระครูปริยัติกิตติธำรง,รศ.ดร. รับตราตั้งฯ". mcubr.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
- ↑ http://www.uco.mcu.ac.th/?p=1223
- ↑ https://soc.mcu.ac.th/?p=3367
- ↑ "พระครูปริยัติกิตติธำรง ได้รับรางวัล - ค้นหาด้วย Google". www.google.com.
- ↑ https://soc.mcu.ac.th/?p=9550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม 125, ตอนที่ 3ข, 14 มกราคม 2551,หน้า 22 .ลำดับที่ 350.พระมหาทองขาว 4 ประโยค วัดนายาว จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น พระครูปริยัติกิตติธำรง
- ↑ https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7367289
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ, ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๙, ตอนที่ ๔๘ ข, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๙