ชาวไทยเชื้อสายเขมร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวเขมรเหนือ
ជនជាតិខ្មែរខាងជើង
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ภาคอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดศรีสะเกษ
ภาคตะวันออก จังหวัดตราด, จังหวัดจันทบุรี
ภาษา
เขมรเหนือ, ไทย, ไทยถิ่นอีสาน
ศาสนา
พุทธเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวมอญ, ชาวว้า และกลุ่มชนมอญ–เขมรอื่น ๆ

ชาวไทยเชื้อสายเขมร หรือ ชาวเขมรเหนือ (เขมร: ជនជាតិខ្មែរខាងជើង)[1] เป็นคำที่ใช้สื่อถึงผู้มีเชื้อชาติเขมรในภาคอีสานของประเทศไทย[2][3]

ประวัติ[แก้]

ชาวเขมรเริ่มปรากฏตัวในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมร[4] หลังอังกอร์ล่มสลาย ชาวเขมรในภาคอีสานต้องรับอิทธิพลจากไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรไทยได้ผนวกจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดในอดีตของประเทศกัมพูชา ผู้อยู่อาศัยชาวเขมรกลายเป็นประชาชน โดยพฤตินัย ของพระมหากษัตริย์ไทย และเริ่มการกลืนกลายทางวัฒนธรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานานขึ้น

ในบันทึกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำแนกชาวเขมรไว้เป็น 4 พวก คือ จำพวกที่ 1 เขมรที่เป็นชาวสยามแท้ เรียกในราชการว่า เขมรป่าดง เป็นราษฎรเมืองสุรินทร์ สังฆะ ขุขันธ์ จำพวกที่ 2 เขมรเก่า เป็นคนเขมรที่อพยพมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินบ้าง รัชกาลที่ 1 บ้าง พวกนี้อยู่ที่มณฑลราชบุรีโดยมาก จำพวกที่ 3 เขมรกลาง คือ เขมรที่อพยพมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พวกนี้อยู่ในมณฑลกรุงเทพและมณฑลปราจีนบุรี โดยมาก จำพวกที่ 4 เขมรใหม่ คือ เขมรที่อพยพตั้งแต่ ค.ศ. 1858 มีมากในมณฑลบูรพา หรือเมืองพระตะบองเป็นต้น[5]

ประชากร[แก้]

ร้อยละของประชากรในจังหวัดของประเทศไทย
จังหวัด ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2533 ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2543
สุรินทร์[6] 63.4% 47.2%
บุรีรัมย์[7] 0.3% 27.6%
ศรีสะเกษ[8] 30.2% 26.2%
ตราด[9] 0.4% 2.1%
สระแก้ว[10] ไม่มี 1.9%
จันทบุรี[11] 0.6% 1.6%
ร้อยเอ็ด[12] 0.4% 0.5%
อุบลราชธานี[13] 0.8% 0.3%
มหาสารคาม[14] 0.2% 0.3%

ภาษา[แก้]

ชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นจะมีภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา โดยภาษาเขมรที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ จะเรียกว่า ภาษาเขมรถิ่นไทย หรือเขมรบน โดยมีความต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชาในเรื่องของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ โดยผู้ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยจะสามารถเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง ส่วนผู้ใช้สำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ นอกจากภาษาเขมรถิ่นไทยแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาเขมรได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา อย่างเช่นแถบจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด

แต่ขณะเดียวกันชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในหลายจังหวัดแถบภาคกลางของประเทศที่ตกอยู่ในวงล้อมที่รอบล้อมไปด้วยภาษาไทยกลาง ทำให้ภาษาเขมรในถิ่นนั้นได้รับอิทธิพลของภาษาไทย โดยชุมชนเชื้อสายเขมรหลายชุมชนเลิกการใช้ภาษาเขมร โดยสงวนไว้เฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ไม่เผยแพร่ต่อลูกหลาน อย่างเช่นในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดราชบุรี ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ) ก็ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนเขมรจากเมืองโพธิสัตว์ เสียมราฐและพระตะบองมาไว้ที่ราชบุรี เขมรเหล่านี้ไม่ใช่เขมรลาวเดิมเพราะมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน เขมรกลุ่มนี้ใช้ภาษาพูดเช่นเดียวกับเขมรในประเทศกัมพูชา โดยตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอเมืองราชบุรี, อำเภอโพธาราม และอำเภอปากท่อ[15] จากการศึกษาใน พ.ศ. 2546 พบผู้พูดภาษาเขมรประมาณ 8-10 คน มีอายุระหว่าง 70-80 ปี แต่ไม่ได้ใช้ภาษาเขมรสื่อสารกับลูกหลาน เพียงแต่นึกศัพท์ได้เป็นคำ ๆ หรือพูดคุยกับคนรุ่นเดียวกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น[16] เช่นเดียวกันกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดนครปฐมซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ปากคลองเจดีย์บูชาสะพานรถไฟเสาวภา วัดแค ไปจนถึงวัดสัมปทวน เรียงรายไปตลอดริมแม่น้ำท่าจีน ประมาณ 1 กิโลเมตรประมาณ 30 ครอบครัว แต่มีผู้ใช้ภาษาเขมรเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น[17] ขณะที่ตำบลบ้านโพธิ์และตำบลตลิ่งชัน จังหวัดสุพรรณบุรี มีหมู่บ้านที่ใช้ภาษาเขมรร่วมกับภาษาไทย 7 หมู่บ้าน[18]

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม[แก้]

นอกจากการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างคนภายในชุมชนเดียวกันแต่ต่างชาติพันธุ์กัน อย่างเช่น ชุมชนบ้านโซง ซึ่งเดิมเป็นชุมชนของชาวเขมร แต่ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่ภายในชุมชนด้วย โดยหากมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันระหว่างกลุ่ม ก็จะนิยมจัดงานแต่งงานแบบเขมร และชาวไทยเชื้อสายเขมรในชุมชนนี้จะมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาลาว

ศาสนา[แก้]

ชาวไทยเชื้อสายเขมรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณีกันซง ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และจะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้นชาวไทยเชื้อสายเขมรยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้[17]

นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรบางส่วนก็นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเช่นในชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ ในซอยมิตตคาม ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ได้กวาดต้อนชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์มาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยได้ทำการกวาดต้อนมาประมาณ 500 คน โดยเป็นชาวโปรตุเกส 450 คน และชาวเขมรอีก 100 คน[19] โดยกลุ่มชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ได้นำรูปสลักพระแม่มารี หรือ พระแม่ขนมจีน หรือ พระแม่ตุ้งติ้ง มาด้วย ภายหลังมีการอัญเชิญรูปสลักนี้กลับกัมพูชา แต่ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ทำให้ไปต่อไม่ได้ จึงนำกลับมาประดิษฐาน ณ วัดคอนเซ็ปชัญตามเดิม ด้วยเหตุที่มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในชุมชน จึงทำให้วัดคอนเซ็ปชัญมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดเขมร[19] โดยอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรในวัดคอนเซ็ปชัญคือ หมูหัน

วัฒนธรรม[แก้]

แม้ว่าในปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขมรเหนือยังคงรักษาเอกลักษณ์เขมรบางส่วน เช่น นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบเขมร และพูดภาษาเขมรเหนือ มีชาวเขมรเหนือไม่กี่คนสามารถอ่านหรือเขียนภาษาแม่ของตนเองได้[20] เพราะว่าในโรงเรียนรัฐมีการสอนเป็นภาษาไทยเท่านั้น

การเรียนการสอนภาษาไทยนี้ ทำให้คนรุ่นหลังหลายคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการสื่อสารได้สะดวกกว่า ใน ค.ศ. 1998 Smalley รายงานถึงการเริ่นต้นความสนใจภาษาและวัฒนธรรมเขมรใหม่ ทำให้มีผู้พูดภาษาเขมรเหนือเพิ่มขึ้นสองเท่ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1958[21] อย่างไรก็ตาม การใช้เขมรลดลงในเวลาต่อมา[22]

ในสองทศวรรษที่แล้ว มีการฟื้นฟูวัฒนธรรม 'ท้องถิ่น' ในประเทศไทยโดยรัฐ เช่น วัฒนธรรมเขมร ซึ่งถูกท้าทายจากการนำเรื่องเล่าของรัฐมาใช้และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับชาวเขมรเหนือได้อย่างเพียงพอ[23]

ประเพณี[แก้]

ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร เช่น

  • ประเพณีไหว้พระแข เป็นประเพณีชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลบ้านโพธิ์ และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่อพยพตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยพิธีนี้เป็นพิธีบวงสรวงและไหว้พระจันทร์เพื่อเสี่ยงทางฝนฟ้าประจำปี จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 และในวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะเผาข้าวหลาม มาทำบุญเลี้ยงพระ ปัจจุบันมีการจัดตามวัด
  • เทศกาลแซนโฎนตาแคเบ็น ซึ่งคำว่า แซนโฎนตา หรือ แซนโดนตา แปลว่า เซ่นปู่ตา หมายถึง การเซ่นผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นประเพณีที่ชาวเขมรถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ จะจัดกันในช่วง แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถึง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ในเดือน แคเบ็น หรือตรงกับเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับสารทไทย แต่ที่แปลกพิสดารคือมีการจัดเซ่นที่เป็นเอกลักษณ์ตามธรรมเนียมประเพณีแบบเขมร โดยก่อนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 สี่ถึงห้าวัน[24]

ข้อขัดแย้ง[แก้]

ถึงแม้ว่าชาวเขมรกรมในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ประเทศเวียดนาม ไม่ได้อยู่ใกล้ระดับการประท้วงเลย ชาวเขมรเหนือบางส่วนในภาคอีสานต้องการสิทธิมากกว่าเดิมและต่อต้านการแผลงเป็นไทย และการสู้รบเป็นครั้งคราวระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาในบางครั้งยากลำบาก[25][26]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cuam and the Beliefs of the Thai-Khmer". Khmerling.blogspot.com. 25 October 2005. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
  2. International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  3. แผนแม่บท การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(พ.ศ. 2558-2560) [Master Plan for the Development of Ethnic Groups in Thailand 2015-2017] (PDF). Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. 2015. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  4. "Thailand's World : Khmer People". Thailandsworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
  5. "รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
  6. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  10. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  11. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-07.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  12. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  13. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  14. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  15. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (21 สิงหาคม 2563). เขมรลาวเดิม และร่องรอยคนลาวในสังกัดขุนนางเขมรที่วัดเกาะศาลพระ. สยามเทศะ. p. 3.
  16. สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (24 มกราคม พ.ศ. 2546). "แผนที่ภาษาศาสตร์". ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. 17.0 17.1 ความนำ : ชุมชนเขมร เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
  18. ฤทัยวรรณ ปานซา (มกราคม–มิถุนายน 2563). ระบบคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: วารสารมังรายสาร (8:1). p. 67.
  19. 19.0 19.1 ประวัติวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (คอนเซ็ปชัญ)[ลิงก์เสีย] เล่าเรื่องชุมชนและวัดคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
  20. "VOA Khmer News, Radio, TV". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
  21. Smalley, William A. (1988). "Multilingualism in the Northern Khmer Population of Thailand". Language Sciences. 10 (2): 395–408. doi:10.1016/0388-0001(88)90023-X.
  22. Vail, Peter (2013). "The Politics of Scripts: Language Rights, Heritage, and the Choice of Orthography for Khmer Vernaculars in Thailand". ใน Barry, Coeli (บ.ก.). Rights to culture : heritage, language, and community in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books. pp. 135–162. ISBN 978-616-215-062-3. OCLC 837138803.
  23. Denes, Alexandra (2013), "The Revitalisation of Khmer Ethnic Identity in Thailand", Routledge Handbook of Heritage in Asia, Routledge, doi:10.4324/9780203156001.ch11, ISBN 978-0-203-15600-1
  24. "เทศกาลแซนโดนตาแคเบ็นประเพณีของชาวไทยเขมรกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
  25. Chachavalpongpun, Pavin (2012). "Embedding Embittered History: Unending Conflicts in Thai-Cambodian Relations". Asian Affairs. 43 (1): 81–102. doi:10.1080/03068374.2012.643593. ISSN 0306-8374. S2CID 145309277.
  26. Thị Trà Mi, Hoàng (2016). "The Preah Vihear temple dispute on the Thai-Cambodian border and ASEAN's role in conflict resolution". Journal of Science, Social Science. 61 (10): 170–174. doi:10.18173/2354-1067.2016-0100. ISSN 2354-1067.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]