ข้ามไปเนื้อหา

นริศ ขำนุรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นริศ ขำนุรักษ์
นริศ ใน พ.ศ. 2553
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 335 วัน)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 275 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ทรงศักดิ์ ทองศรี
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการอนุพงษ์ เผ่าจินดา
ก่อนหน้านิพนธ์ บุญญามณี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(22 ปี 73 วัน)
ถัดไปร่มธรรม ขำนุรักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2533–2536)
ประชาธิปัตย์ (2536–ปัจจุบัน)
บุตร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2566
ยศ นายกองเอก[1]
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน

นริศ ขำนุรักษ์ (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

นริศ ขำนุรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่บ้านพูด ตําบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของนายเหม กับนางกอสิเหยาะ (นามสกุลเดิม ยีหวังกอง) [2]

ในวัยเด็กนริศและครอบครัวอาศัยอยู่ที่บ้านพูด ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีเครือญาติฝั่งบิดาและมารดาเป็นชาวมุสลิมในอำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากพะยูนจำนวนมาก

นริศจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชั้นอนุปริญญา สาขาวิชาการป่าไม้ จากโรงเรียนการป่าไม้ จังหวัดแพร่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[3] และระดับปริญญาเอก Doctor of Public Administration (DPA) จาก Southwestern University ประเทศฟิลิปปินส์[4]

การทำงาน

[แก้]

นายนริศ ขำนุรักษ์ เคยรับราชการกรมป่าไม้ สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในนามพรรคความหวังใหม่ โดยลงสมัครในทีมเดียวกันกับโอภาส รองเงิน และสานันท์ สุพรรณชนะบุรี ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงที่ย้ายมาจากพรรคประชาชนที่มีวีระ มุสิกพงศ์ เป็นแกนนำ โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวพรรคความหวังใหม่ได้รับเลือกคนเดียวคือสานันท์ นอกจากนั้น ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์คือนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตประธานสภาจังหวัด และสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตครูพลศึกษา โรงเรียนพัทลุง[5]

หลังจากไม่ได้รับเลือกตั้ง นริศได้กลับเข้ารับราชการในกรมป่าไม้ต่อ และลงสมัครอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แทนสมคิด นวลเปียนที่มีปัญหาสุขภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว [6] และได้รับเลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562

นายนริศ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 (ตรงกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)

ในปี 2564 เขาเป็นหนึ่งในผู้ถูกเสนอชื่อต่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อชิงตำแหน่งรัฐมนตรีในโควต้าทดแทนนายถาวร เสนเนียม[7] แต่เขาไม่ได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 เขาได้รับคัดเลือกจากพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งให้ถูกเสนอชื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนิพนธ์ บุญญามณี [8] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[9]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ บุตรชายได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง เขต 3

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นริศ ขำนุรักษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๒, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  3. นริศ ขำนุรักษ์ มีเวลา 6 เดือน บนเก้าอี้ มท.3
  4. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14.
  5. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  6. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  7. เปิด 4 ชื่อดีกรี ส.ส. 5 สมัยลุ้นนั่งรัฐมนตรี 'ปชป.' ครั้งแรก
  8. รู้จัก "นริศ ขำนุรักษ์" ส.ส.5 สมัย คว้าเก้าอี้ มท.2 แทน "นิพนธ์ บุญญามณี"
  9. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "ธนกร-สุนทร-นริศ" เป็นรัฐมนตรี
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑