สมคิด นวลเปียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมคิด นวลเปียน
ไฟล์:สมคิด นวลเปียน.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2531 - 2544)
คู่สมรสฤทัย นวลเปียน

นายสมคิด นวลเปียน (เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 3 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายสมคิด นวลเปียน เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายสง และ นางขวัญ นวลเปียน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมรสกับฤทัย นวลเปียน (สกุลเดิม:จินดาพล) พี่สาวของเรวุฒิ จินดาพล มีธิดา 3 คน

ปัจจุบัน สมคิด ใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่าย ณ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง บ้านเกิด[1]

การทำงาน[แก้]

เริ่มเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านไร่เหนือ เมื่อ พ.ศ. 2512 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2515 – 2517 และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในปี พ.ศ. 2527 จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดเขาวงก์ อำเภอกงหรา ก่อนที่จะลาออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2531[2]

งานการเขียน[แก้]

นอกจากรับราชการครูแล้ว สมคิดยังมีผลงานการเขียนเรื่องสั้นและบทกวีออกพิมพ์เผยแพร่อยู่เสมอ ทั้งนี้ในปี 2528 สมคิด ได้ส่งบทกวีชื่อ "พระเจ้าของต้อยติ่ง" ไปประกวดบทกวีขนาดยาวในปีเยาวชนสากลของสำนักงานส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้รับรางวัลดีเด่น อีกด้วย

งานการเมือง[แก้]

สมคิด ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงครั้งแรก ใน พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2539 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สมคิด นวลเปียน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนทางแห่ง ต้นไม้ วิถี และ กวีบำบัด (คำบอกเล่าของอดีต ส.ส.พัทลุง)
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐