ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพบกไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Royal Thai Army)
กองทัพบกไทย
ตราจักรพร้อมพระมหาพิชัยมงกุฎ
ตราราชการกองทัพบก
ประจำการ8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417
(150 ปี 198 วัน)
ประเทศไทย
ขึ้นต่อกองบัญชาการกองทัพไทย
รูปแบบทหาร
บทบาทสงครามภาคพื้นดิน
กำลังรบ245,000 นาย[1]
ขึ้นกับกองบัญชาการกองทัพไทย
กระทรวงกลาโหม
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สมญากองทัพบก
คำขวัญเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
สีหน่วยแดงและเหลือง
เพลงหน่วยมาร์ชกองทัพบก
วันสถาปนา18 มกราคม
(วันกองทัพไทย)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารบกพลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์
รองผู้บัญชาการทหารบกพลเอก ณัฐวุฒิ นาคะนคร
ผบ. สำคัญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
แปลก พิบูลสงคราม
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ประภาส จารุเสถียร
ผิน ชุณหะวัณ
กฤษณ์ สีวะรา
เปรม ติณสูลานนท์
เสริม ณ นคร
อาทิตย์ กำลังเอก
เชษฐา ฐานะจาโร
ชวลิต ยงใจยุทธ
ประยุทธ จารุมณี
สุจินดา คราประยูร
อิสระพงศ์ หนุนภักดี
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สนธิ บุญยรัตกลิน
ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เฉลิมชัย สิทธิสาท
อุดมเดช สีตบุตร
ธีรชัย นาควานิช
ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
อภิรัชต์ คงสมพงษ์
เจริญชัย หินเธาว์
เครื่องหมายสังกัด
ธงชาติไทย ธงศึกของกองทัพบกไทย
ธงชัยเฉลิมพล
ธงกองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; อังกฤษ: Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย โดยถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 18 มกราคม และก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417 เหตุผลส่วนหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเป็นสมัยใหม่คือเพื่อรับมือกับการคุกคามรูปแบบใหม่จากอังกฤษ ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง[2]

ประวัติ

[แก้]

สมัยสุโขทัย

[แก้]

จากหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 พบว่าในสมัยนั้น ไทยรู้จักวิธีการรบบนหลังช้างเรียกว่า ยุทธหัตถี นอกเหนือไปจากการใช้ทหารราบและทหารม้า พระมหากษัตริย์ หรือ "พ่อขุน" ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาทหารโดยตรง ทรงนำกองทัพเข้าสงครามด้วยพระองค์เองในฐานะจอมทัพ การพ่ายแพ้ หรือได้รับชัยชนะ ขึ้นอยู่กับพ่อขุน หรือจอมทัพเป็นสำคัญ

การบังคับบัญชาทหารในสมัยสุโขทัย พ่อขุนทรงบัญชาทัพโดยตรง มีเสนาบดีและขุนนางชั้นผู้ใหญ่อื่น ๆ เป็นแม่ทัพรองลงมา หรือเป็นผู้บังคับหน่วยในกองทัพหลวง ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร ทุกคนจะเป็นทั้งพลเมืองและทหารในกองทัพหลวง ตามกรมกองที่ตนสังกัด [3]

โดยในยามปกติ ก็จะดำเนินชีวิตไปตามวิธีของแต่ละคน แต่เมื่อถึงภาวะสงคราม ชายทุกคนก็จะต้องทำหน้าที่เป็นทหาร ชายชาวสุโขทัยทุกคนเริ่มเป็นทหารเมื่ออายุ 18 ปี และปลดจากการเป็นทหารเมื่ออายุ 60 ปี เกณฑ์นี้ได้ถือปฏิบัติต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา[3] โดยมีระบบรองรับที่เริ่มจากระดับล่างสุด คือครอบครัว มีหัวหน้าครอบครัวที่เรียกว่า หัวหน้าสกุล หรือ เจ้าหมู่ ทำหน้าที่ควบคุมทหารในสกุลของตน จัดว่าเป็นหน่วยทหารที่เล็กที่สุดในระบบการจัด ในหมู่บ้านขนาดใหญ่อาจมีหลายหมู่ [3]

การฝึกหัดทหารในสมัยนั้น จะใช้หัวหน้าสกุลในแต่ละหมู่บ้าน เป็นผู้ควบคุมฝึกสอนวิชาการต่อสู้และการใช้อาวุธแก่ทหารในสกุลของตนในยามปกติ เมื่อเกิดศึกสงครามทหารทุกคนจะมีอาวุธคู่มือที่ตนได้ฝึกซ้อมไว้อย่างดีแล้ว ส่วนเสบียงอาหารก็จะเตรียมไว้เฉพาะตนในขั้นต้น มีความสมบูรณ์ในตนเอง พร้อมที่จะออกศึกได้ทันที[3]

ในยามสงคราม

[แก้]

ในยามสงคราม พ่อขุนทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ (จอมทัพ) ยกทัพหลวงไปรบด้วยพระองค์เอง หรือโปรดให้ขุนนางผู้ใหญ่เป็นแม่ทัพไปรบแทนแล้วทรงมอบอาญาสิทธิ์ให้ มีการเรียกเกณฑ์ชายฉกรรจ์ในเขตหัวเมืองชั้นในเข้าประจำการเมื่ออยู่ในสภาวะสงคราม นอกจากนี้หัวเมืองต่างๆยังมีหน้าที่ในการศึกสงครามด้วย กล่าวคือ[4]

  • หัวเมืองชั้นนอก มีหน้าที่สกัดกั้นข้าศึกในทิศทางของตน หรืออาจจะได้รับคำสั่งให้เข้าสมทบกับทัพหลวงก็ได้
  • เมืองลูกหลวง มีหน้าที่เตรียมกำลังทหารไว้ป้องกันพื้นที่ของตนและราชธานี หรือรวมกำลังเข้าสมทบกับกองทัพหลวง
  • หัวเมืองประเทศราช หากราชธานีต้องทำสงครามใหญ่ขึ้น อาจมีพระบรมราชโองการให้หัวเมืองประเทศราชยกทัพไปช่วยด้วยก็ได้

การจัดเหล่าทหาร

[แก้]

การจัดเหล่าทหารนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ที่พบในมังรายศาสตร์ มีการจัดเหล่าทหารไว้เป็นสามเหล่าคือ[3]

  • ชั้นสูง ได้แก่ เหล่าพลช้าง เรียกว่า นายช้าง
  • ชั้นกลาง ได้แก่ เหล่าพลม้า เรียกว่า นายม้า
  • ชั้นต่ำ ได้แก่ เหล่าพลราบ เรียกว่า นายตีน

การจัดหน่วยทหาร

[แก้]

ตามมังรายศาสตร์ ได้กล่าวถึงการจัดหน่วยทหาร ตั้งแต่เล็กไปใหญ่ ตามหลักจำนวนไพร่พลที่มีอยู่ในหน่วยนั้น ๆ เริ่มต้นจากหน่วยเล็กที่สุดคือ[3]

  1. ไพร่สิบคน  ให้มีนายสิบผู้หนี่ง ข่มกว้านผู้หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อ (เทียบเท่าผู้บังคับหมู่ในปัจจุบัน)
  2. นายสิบห้าคน ให้มีนายห้าสิบผู้หนึ่ง มีปากขวาและปากซ้ายเป็นผู้ช่วย (เทียบเท่าผู้บังคับหมวดในปัจจุบัน)
  3. นายห้าสิบสองคน ให้มีนายร้อยผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บังคับกองร้อยในปัจจุบัน)
  4. นายร้อยสิบคนให้มีเจ้าพันผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บังคับกองพันในปัจจุบัน)
  5. เจ้าพันสิบคน ให้มีเจ้าหมื่นผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับผู้บัญชาการกองพลในปัจจุบัน)
  6. เจ้าหมื่นสิบคน ให้มีเจ้าแสนผู้หนึ่ง (เทียบเท่ากับแม่ทัพในปัจจุบัน)

อาวุธยุทโธปกรณ์

[แก้]

อาวุธที่ใช้ในสมัยนั้น จะเป็นอาวุธประจำกายของแต่ละบุคคลทั้งสิ้นตามความถนัดของแต่ละคน เช่น ทวน หอก ดาบ (มีทั้งดาบคู่และดาบดั้ง) มีดเหน็บ มีดปลายตัด แหลน หลาว โตมร เกาทัณฑ์ หน้าไม้ ของ้าว ง้าว ตะบอง ขวาน เป็นต้น อาวุธดังกล่าวนี้ทุกคนจะมีอยู่ประจำตัวและมีการฝึกซ้อมใช้อาวุธนั้น ๆ อย่างช่ำชองดีแล้วตั้งแต่ในยามปกติ เมื่อเกิดศึกสงครามก็จะใช้อาวุธคู่มือนี้เข้าทำการรบ[3]

เสบียงอาหารจะมีการนำติดตัวไปจำนวนหนึ่งไว้ใช้เมื่อจำเป็นในขั้นแรก เมื่ออาหารหมดก็จะแสวงหาอาหารในท้องถิ่นเป็นเสบียง หรืออาศัยเสบียงอาหารสำหรับกองทัพ ที่ราชธานีและหัวเมืองใหญ่ส่งมาให้ อีกวิธีหนึ่งคือให้ผู้ปกครองท้องถิ่นเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า แล้วคอยจ่ายให้เมื่อกองทัพเดินทางมาถึง[3] อนึ่ง เมื่อทำการรบได้ชัยชนะแล้ว ก็จะอาศัยเสบียงอาหารจากเมืองที่ยึดได้เป็นสำคัญ[4]

ด้านยานพาหนะอันประกอบด้วย ช้าง ม้า วัว และเกวียน ใช้เป็นส่วนกำลังรบ และส่วนสนับสนุน การรบ กล่าวคือ[3]

  • ช้าง ใช้เป็นพาหนะของแม่ทัพ เข้าต่อสู้กับแม่ทัพฝ่ายข้าศึก ที่เรียกว่าทำยุทธหัตถี ใช้เป็นกำลังเข้าบุกตลุยข้าศึกในสนามรบ หรือใช้ในการลำเลียงในถิ่นทุรกันดารที่เป็นพื้นที่ป่าเขา
  • ม้า ใช้เป็นพาหนะของผู้บังคับบัญชาทหารในระดับรองลงมา ใช้เป็นพาหนะของหน่วยทหารม้าที่ต้องการเคลื่อนที่เร็ว ทำหน้าที่โอบทางปีก ป้องกันรักษาปีกของทหารราบ ใช้ในการลาดตระเวณหาข่าว การติดต่อสื่อสาร หรือใช้ขนส่งสินค้าข้าวของระหว่างเมือง[4]
  • วัว ใช้เทียมเกวียนบรรทุกสัมภาระต่าง ๆ ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสบียงอาหาร หรือใช้เป็นอาหารสำรองในยามขัดสน[4]

ยุทธศาสตร์ในด้านการป้องกันเมือง

[แก้]

การสร้างค่าย คู ประตู หอรบนั้น จะมีอยู่ทั้งที่ตั้งปกติ  คือเมืองซึ่งจะมีการสร้างอย่างถาวร สมบูรณ์แข็งแรงตามขนาด และความสำคัญของเมืองนั้น ๆ และจะสร้างอย่างชั่วคราว เมื่อยกทัพไปทำศึกและต้องหยุดทัพตั้งมั่น ดังจะเห็นได้จากเมืองโบราณทุกแห่ง สำหรับกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองหลวง จะมีการสร้างคันดินคูน้ำเป็นกำแพงเมือง และมีคูเมืองล้อมรอบอยู่สามชั้นเรียกว่า ตรีบูร มีป้อมประจำประตูเมืองทั้งสี่ทิศ [3]

สมัยกรุงศรีอยุธยา

[แก้]

โดยภาพรวม ตลอดยุคสมัยนั้น แบ่งกำลังพลออกเป็น ๔ เหล่า ที่เรียกว่า จตุรงคเสนา” ได้แก่ พลเท้า พลม้า พลช้าง และพลรถ[4]

  1. พลเท้า คือ ทหารเดินเท้า เป็นเหล่าหลักในการจัดและการรบของกองทัพ คัดเลือกมาจากชายฉกรรจ์ที่มีร่างกายสมบูรณ์ เป็นเหล่าที่มีจำนวนมากกว่าเหล่าอื่น มีหน้าที่ต้องรบประชิดเข้าตะลุมบอน อาวุธที่ใช้มักใช้ตามถนัดของแต่ละบุคคล เมื่อเรียกระดมไพร่พล มักแบ่งทหารออกเป็นเหล่าตามอาวุธที่ถือ อาวุธเหล่านี้ทางบ้านเมืองมิได้เตรียมไว้ให้ ผู้ที่ถูกเกณฑ์เข้ามาจะต้องนำอาวุธของตนเข้ามาทุกคน เช่น ดาบหอก ทวน โล่ เขน ดั้ง แหลน
  2. พลม้า คือ ทหารม้า มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันรักษาปีกของทหารราบ ทำการตีโอบ และโฉบฉวยเพื่อรบกวนข้าศึก รวมทั้งทำหน้าที่รักษาด่าน ลาดตระเวน และหาข่าว อาวุธทหารม้าใช้กันตามถนัด ดังเช่น หอก ทวน ดาบ ปืน
  3. พลช้าง คือ ทหารที่ใช้ช้างเป็นพาหนะ มีหน้าที่บุกแนวพลเดินเท้า และพลม้าของข้าศึกให้ระส่ำระสาย โดยช้างศึกเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนให้เข้าทำการรบแบบประชิดบุกทำลายข้าศึก นอกจากนี้ยังมีการนำปืนใหญ่ติดบนหลังช้าง ซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญมากในการรบ และกองทัพยังได้ใช้ช้างในการบรรทุกเสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์
  4. พลรถ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ และยุทธวิธีทั้งของไทยและของบ้านเมืองใกล้เคียง ไม่อำนวยให้ใช้รถรบเข้าทำการยุทธ์ ดังนั้น พลรถจึงทำหน้าที่ในเรื่องการส่งกำลังบำรุง เช่น ลำเลียงขนส่งเสบียงอาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ การเคลื่อนย้ายกำลังพลด้วยพาหนะเกวียน หรือระแทะ

ด้านการส่งกำลังบำรุง มีการจัดหา และเก็บรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์ พาหนะ ตลอดจนเสบียงอาหารในยามปกติ ในสมัยอยุธยาการส่งกำลังบำรุงยังขาดประสิทธิภาพ เห็นได้จากศึกสงครามหลายครั้งที่กองทัพต้องอ่อนแอ และเสียโอกาส เนื่องจากขาดเสบียงอาหารเป็นสำคัญ [4] สำหรับกองทหารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง แบ่งออกเป็น ๒ กอง คือ “เกียกกาย” ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องเสบียงอาหาร ส่วนอีกกองเรียกว่า “ยุกรบัตร” หรือ “ยกกระบัตร” มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ เมื่อเกิดการรบกันขึ้นถึงขั้นประชิดตัว ทั้งฝ่าย “เกียกกาย” และ “ยุกรบัตร” ต้องเข้าร่วมรบด้วย

ส่วนใหญ่เป็นอาวุธที่ไพร่พลจัดหามาเอง จำแนกประเภทของอาวุธเป็น[4]

  • อาวุธประเภทถือไว้ประจำมือสำหรับฟันแทง เช่น มีด ดาบ หอก ง้าว ขอ ง้าว ทวน
  • อาวุธประเภทที่ใช้พุ่งซัดไป เช่น แหลน หลาว หอก อาวุธประเภทที่ใช้สำหรับยิงเช่น ธนู หน้าไม้ ปืน
  • อาวุธประเภทที่ใช้ตี เช่น พลอง ตะบอง

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องป้องกันอาวุธ หรือเครื่องกำบังสำหรับปิดป้องกันอาวุธ นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรบเพื่อป้องกันข้าศึกมิให้ฟันแทงได้ เครื่องป้องกันอาวุธที่ใช้กัน ได้แก่ ดั้ง โล่ เขน สำหรับอาวุธปืนไฟที่ใช้ในกองทัพ นำเข้ามาโดยชาวโปรตุเกสภายหลังได้สมัครเป็นทหารอาสา ต่อมาไทยได้สร้างอาวุธปืนไฟขึ้นใช้เองในราชการทหาร[4]

การฝึกทหารในสมัยอยุธยายุคแรกนั้นมีน้อย ส่วนใหญ่มักเป็นการฝึกอย่างเร่งด่วนในระยะสั้นเมื่อมีการเรียกระดมพลเพื่อเตรียมทำสงคราม ในส่วนของกำลังพลของกองทัพนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ ไพร่สม และ ไพร่หลวง

  • ไพร่สม คือชายไทยที่มีอายุครบ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนทหารชั้นต้น อยู่ในกรมกองที่บิดาของตนสังกัดอยู่ และจะต้องได้รับการสักท้องมือว่าเป็นคนในสังกัดกรมใด เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วให้มูลนาย เพื่อฝึกหัดการเป็นทหารไปก่อนยังไม่ต้องรับราชการ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงให้ขึ้นทะเบียนพลเป็น “ไพร่หลวง”
  • ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่สม เมื่ออายุครบ 20 ปี ให้ขึ้นทะเบียนพลเป็น “ไพร่หลวง” โดยเข้ามารายงานตัวในราชธานีแล้วเข้ารับราชการตามกรมกองที่สังกัดไว้ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า “เข้าเวร” มีกำหนดปีละ ๖ เดือน เรียกว่า “เข้าเดือนออกเดือน” คือ เข้ารับราชการ 1 เดือน ได้พัก 1 เดือน แล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่อีกสลับกันไป

สำหรับไพร่หลวงที่อยู่ในหัวเมืองชั้นกลาง ให้เข้ารับราชการที่เมืองนั้น ปีละ 1 เดือน เพื่อให้มีเวลาไปประกอบอาชีพของตน สำหรับผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ใช้วิธีเกณฑ์ให้หาสิ่งของที่ทางราชการต้องการใช้ มาให้แก่ทางราชการทดแทน การเข้ารับราชการ เรียกว่า ส่วย ไพร่หลวงจะต้องเป็นทหารไปจนกว่าจะมีอายุครบ 60 ปี หรือถ้ามีบุตรชายมาเข้าเป็นทหารถึง 3 คนแล้ว จึงมีสิทธิ์พ้นราชการทหารได้ก่อนกำหนด สำหรับผู้ที่เป็นทาสต้องรับใช้ผู้เป็นนายอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นไทแก่ตนเอง จึงไม่ต้องเป็นทหาร[5]

ในส่วนของราชธานีนั้น ได้มีการจัดหน่วยของกรมทหารประจำการเอาไว้ 3 ประเภท ได้แก่ กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารสำหรับราชการสามัญ และ กรมทหารอาสาต่างชาติ

กรมทหารรักษาพระองค์
[แก้]

เป็นกรมที่ขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดินแต่เพียงผู้เดียว มิได้ขึ้นต่อผู้อื่นผู้ใด[6] มีทั้งหมด 9 กรมใหญ่ดังต่อไปนี้

  1. กรมรักษาพระองค์ มีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดินอย่างใกล้ชิดที่สุด ตามเสด็จประจำรักษาพระเจ้าแผ่นดินเวลาเสด็จพระราชดำเนิน เป็นข้าราชการฝ่ายทหารที่ถวายงานใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินที่สุด จะเป็นรองเพียงชาวที่ซึ่งเป็นฝ่ายพลเรือนเท่านั้น
  2. กรมพระตำรวจหลวง มีหน้าที่ถวายอารักขาพระเจ้าแผ่นดินอย่างใกล้ชิด รองลงมาจากกรมรักษาพระองค์ ตามเสด็จอารักขาเวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค เป็นเจ้าหน้าที่ล้อมวงถวายความปลอดภัย เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินในท้องพระโรงเป็นกลุ่มเดียวโดยพกอาวุธได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ชำระความตามรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นผู้ลงพระราชอาญาผู้หนึ่งผู้ใดตามพระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดิน แบ่งออกเป็นกรมย่อย 6 กรม คือ[7]
    • กรมพระตำรวจในขวา และ กรมพระตำรวจในซ้าย มีหน้าที่ถวายอารักขาใกล้ชิดที่สุด ดูแลป้องกันอารักขาพระราชวัง คอยกำกับบุคคลที่เข้ามานอนประจำซองในพระราชวัง กรณีพระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดจะทำหน้าที่อัญเชิญตรารับสั่งไปราชการนั้นๆ หรือทำหน้าที่สืบข่าวให้พระเจ้าแผ่นดิน[8]
    • กรมพระตำรวจใหญ่ขวา และ กรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย มีหน้าที่เหมือนกรมพระตำรวจใน
    • กรมพระตำรวจนอกขวา และ กรมพระตำรวจนอกซ้าย มีหน้าที่คล้ายกรมพระตำรวจในและกรมพระตำรวจใหญ่ เพียงแต่อารักขาชั้นนอกออกมาอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อารักขาพื้นที่ของฝ่ายในร่วมกับกรมสนมทหารอีกด้วย
  3. กรมพระตำรวจวังหน้า มีหน้าที่ถวายอารักขาพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีการแบ่งย่อยออกเป็น 6 กรม เหมือนกรมพระตำรวจหลวงทุกประการ[7]
  4. กรมสนมทหาร เป็นข้าราชการที่ชาย น่าจะรับผิดชอบอารักขาดูแลความเรียบร้อยของพระราชฐานฝ่ายในไปพร้อมกับ “โขลน” ซึ่งเป็นข้าราชการหญิง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดินกรณีที่มีข้าราชการฝ่ายในตามเสด็จอีกด้วย[7] แบ่งย่อยออกเป็น 2 กรม คือ กรมสนมทหารขวา และ กรมสนมทหารซ้าย
  5. กรมพลพัน มีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดินเหมือนกรมพระตำรวจหลวง และต้องประจำเวรอยู่ชั้นนอกออกไปเสมอกับกรมพระตำรวจ แต่มิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชำระความรับสั่งเหมือนตำรวจหลวง[9] แบ่งย่อยออกเป็น 2 กรม คือ กรมพลพันขวา และ กรมพลพันซ้าย
  6. กรมทหารใน ทำหน้าที่ในการช่างต่าง ๆ เปรียบเสมือนทหารช่าง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รักษาการอารักขาพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนทหารหน่วยอื่นๆ[9]
  7. กรมเรือคู่ชัก เป็นกรมของทหารรักษาพระองค์ที่นำหน้าที่เป็นฝีพายเรือที่เรียกว่า “เรือดั้งคู่ชัก” มีหน้าที่พายเรือนำหน้ากระบวนเรือพระที่นั่งเพื่อป้องกันอันตรายทั้งปวง เรือคู่ชักทั้ง 2 ลำ มีชื่อว่า เรือทองแขวนฟ้าบ้านใหม่ และ เรือทองแขวนฟ้าโพเรียง โดยแบ่งออกเป็นกรมย่อย 2 กรม ตามชื่อเรือคู่ชัก คือ กรมทองแขวนฟ้าบ้านใหม่ และ กรมโพเรียงบ้าบิ่น[9]
  8. กรมทนายเลือก คัดเลือกจากนักมวยฝีมือดี มาทำหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน และทำหน้าที่ตามเสด็จโดยไม่มีอาวุธ เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จปลอมแปลงไปในที่แห่งใด โดยไม่ให้ประชาชนรู้ แต่ในยามปกติเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนแห่ หรือเวลาที่ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อาวุธที่ทนายเลือกใช้คือ "หอก" โดยแบ่งกรมย่อยเป็น 2 กรม คือ กรมทนายเลือกหอกขวา และ กรมทนายเลือกหอกซ้าย [9] นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่า ทนายเลือกใช้อาวุธประเภทยิงอย่างปืนหรือธนูด้วย[10]
  9. กรมล้อมพระราชวัง ทำหน้าที่รักษาป้อมกำแพงพระราชวัง ตั้งกองซุ่มระวังเหตุและรักษาพระนครเวลาพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ประทับอยู่ เป็นกรมสำคัญที่ต้องบัญชีคนในกรมเป็นความลับ ห้ามไม่ให้คนนอกกรมรู้จำนวนโดยเด็ดขาด[11] จุดเด่นคือไพร่หลวงเหล่านี้จะสักที่แขน จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า “แขนลาย” [12]แบ่งเป็น 2 กรมย่อย คือ กรมเขื่อนเพชรล้อมพระราชวังขวา และ กรมเขื่อนเพชรล้อมพระราชวังซ้าย
กรมทหารสำหรับราชการสามัญ
[แก้]

เป็นกรมที่มีหน้าที่ในราชการทั้วไป ทั้งในยามสงบและในยามสงคราม มี 4 กรมสำคัญ ได้แก่

  1. กรมอาสาหกเหล่า เป็นกรมทหารจำนวน ๖ กรม เป็นกองทหารประจำการที่เป็นกำลังหลักในราชการสงคราม มีหน้าที่รักษาพระนครกับพระราชอาณาเขต และเป็นกองทัพที่จะออกไปทำสงครามปราบปราบข้าศึกศัตรูในทุกทิศ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดินเวลาเสด็จพระราชดำเนินด้วย โดยทำหน้าที่จุกช่องล้อมวงรายทางเพื่อถวายอารักขาโดยไม่ต้องแห่ตามเสด็จในกระบวน แบ่งเป็น 6 กรมย่อย[13]
    • กรมอาสาขวา และ กรมอาสาซ้าย ใช้ดาบ หรือ ตรี เป็นอาวุธ
    • กรมเขนทองขวา และ กรมเขนทองซ้าย ใช้อาวุธประเภทดาบคู่กับเขน (โล่กลม) และมีการใช้ปืนด้วย
    • กรมทวนทองขวา และ กรมทวนทองซ้าย ใช้ทวนเป็นอาวุธ
  2. กรมพระคชบาล หรือ "กรมช้าง" ทำหน้าที่เสาะหาช้างป่ามาฝึกหัด ดูแลรักษา เลี้ยงไว้ใช้ในราชการทั้งในยามปกติและยามสงคราม ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงยกทัพไปตีกรุงกัมพูชาได้ในปี พ.ศ. 1974 ได้ยึดตำราคชศาสตร์และพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวิชาช้างมาเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการจัดตั้งกรมนี้ขึ้น โดยมีกรมย่อยในสังกัด 9 กรม ดังนี้[14]
    • กรมโขลงขวา และ กรมโขลงซ้าย ทำหน้าที่ดูแลรักษาช้างโขลงหลวง
    • กรมเชือกขวา และ กรมเชือกซ้าย ทำหน้าที่ฝึกหัดช้าง จัดทำและดูแลรักษาเชือกบาศหรือเชือกปะกำที่ใช้ในการจับช้าง และทำพระราชพิธีทอดเชือกตามเชือกปีละ 2 ครั้ง
    • กรมหมอขวา และ กรมหมอซ้าย ทำหน้าที่ประกอบยาเพื่อรักษาช้างที่เจ็บป่วย
    • กรมพัดตโนดขวา และ กรมพัดตโนดซ้าย มีหน้าที่เช่นเดียวกับกรมหมอ
    • กรมช้างปืนใหญ่ มีหน้าที่เกี่ยวกับช้างที่ติดปืนใหญ่ไว้บนหลัง เป็นกำลังที่สำคัญมากในการรบ ในพงศาวดารพม่าได้เขียนถึงช้างรบของฝ่ายอยุธยาว่า ช้างนั้นคลุมเกราะเหล็กถึงหน้าอก และแต่ละตัวยังมีปืนใหญ่[4]
  3. กรมพระอัศวราช หรือ "กรมม้า" เป็นกรมที่มีหน้าที่มีหน้าที่จัดหา ฝึกและรวบรวมกองกำลังทหารม้าให้กับราชสำนักสยาม ดูแลเกี่ยวกับม้าที่ใช้ในยามปกติและในยามสงคราม ตลอดจนม้าที่เป็นพระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น 4 กรมย่อย คือ[15]
    • กรมม้า ทำหน้าที่เป็นเหมือนเสนาธิการและจเรควบคุมดูแลกรมในสังกัด รวมทั้งมี 'พันหมอ' คอยดูแลรักษาม้า ประหนึ่งหน่วยสัตวแพทย์ประจำกรม
    • กรมม้าแซงใน และ กรมม้าแซงนอก ทำหน้าที่เป็นกองทหารร่วมในการถวายอารักขาพระมหากษัตริย์ทั้งในยามศึกและยามเสด็จพระราชดำเนินปกติ
    • กรมม้าเกราะทอง เป็นกรมที่ทหารม้าสวมชุดเกราะสีทอง มีหน้าที่ตามเสด็จเช่นเดียวกัน
  4. กรมช่างทหาร มีหน้าที่เกี่ยวกับการช่างทั้งปวง
กรมทหารอาสาต่างประเทศ
[แก้]

เป็นชาวต่างประเทศที่อาสาเข้ามาเป็นทหาร เพื่อป้องกันรักษาพระนครในยามศึกสงคราม สังกัดอยู่ฝ่ายทหารแต่ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสมุหพระกลาโหม ส่วนใหญ่ผูกพันกับเบี้ยหวัดพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน จากหลักฐานพบว่ามีการจัดตั้งระดับกรมใหญ่ๆ อยู่ 5 กรมใหญ่ดังต่อไปนี้

  1. กรมอาสามอญ เป็นกองกำลังชาวมอญที่อาสามาร่วมกับกรุงศรีอยุธยารบกับพม่า เนื่องจากทนต่อการปกครองอย่างเข้มงวด และเอารัดเอาเปรียบของพม่าไม่ได้ อีกทั้งชนชาติมอญกับพม่าก็เป็นศัตรูกันมาอย่างช้านาน กรมอาสามอญนี้มีกำลังพลเป็นจำนวนมาก จนสามารถจัดตั้งกรมย่อยได้อีก 5 กรม[13] คือ
    • กรมดั้งทองขวา และ กรมดั้งทองซ้าย ใช้ดาบเป็นอาวุธและมีดั้งเป็นเครื่องป้องกันตัวระยะประชิด
    • กรมดาบสองมือกลาง ใช้ดาบ 2 มือเป็นอาวุธ
    • กรมอาทมาตขวา และ กรมอาทมาตซ้าย เป็นหน่วยรบตระเวนอยู่ตามหัวเมืองหน้าด่าน มีความเชี่ยวชาญในเพลงดาบและแข็งแกร่งในการต่อสู้รบ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็ว ทำหน้าที่ลาดตระเวณและซุ่มโจมตีฝั่งพม่า เชี่ยวชาญในการรบบนหลังม้าและพิชัยสงคราม มีวิชาอาคม เป็นหน่วยนำหน้ากองทัพ นอกจากนี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นสายลับในการหาข่าวในฝั่งพม่าได้ เนื่องจากชาวมอญมีความรู้ภาษาพม่าเป็นอย่างดี
  2. กรมอาสาจาม เป็นแขกจามที่อพยพมาจากเวียดนามตอนกลาง เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและอาสาร่วมรบกับกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 2 กรมย่อย คือ กรมอาสาจามขวา และ กรมอาสาจามซ้าย[13][13]
  3. กรมฝรั่งแม่นปืน เป็นชาวโปรตุเกสที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ปืนไฟ[13]
  4. กรมอาสาญี่ปุ่น มีจำนวน 500 นาย รับหน้าที่เป็นหน่วยทะลวงฟัน เมื่อคราวสงครามยุทธหัตถี[13]
  5. กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง ทำหน้าที่ฝึกทหารไทยให้มีความเชี่ยวชาญการใช้ปืนไฟ[13]

นอกจากนี้ยังมีหน่วยทหารอาสาของชาติอิ่น ๆ อื่น ๆ ที่มีจำนวนไม่มาก ส่วนมากมักทำหน้าที่เป็นกองทหารรักษาพระองค์ขนาดเล็ก หรือจัดตั้งขึ้นชั่วคราวเมื่อมีศึกสงคราม[13]

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการด้านการทหารในแต่ละสมัยของกรุงศรีอยุธยา พอสรุปได้ดังนี้

รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

[แก้]

 การทหารของไทย ได้รับการปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองและสังคม ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาได้รับอิทธิพลจากขอม รูปแบบการปกครองและการทหารของกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นลูกผสมระหว่างสุโขทัยและขอม โดยอยุธยาได้เลือกสรรเอาข้อดีของทั้งขอมและไทยมาผสมกัน ทั้งในด้านการปรับปรุงวิธีการควบคุมกำลังไพร่พล และยุทธวิธี การควบคุมบังคับบัญชาทหาร ในยามสงครามมีเจ้าหมู่มูลนายทำหน้าที่ระดมพลภายใต้การควบคุมเข้าประจำกองทัพ กษัตริย์เป็นจอมทัพ เจ้านายและขุนนางเป็นแม่ทัพนายกอง

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏในพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง กิจการทหารกับพลเรือนได้แยกจากกัน คือ ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบกิจการทหารทั้งปวง กำหนดตำแหน่งและอำนาจหน้าที่สายการบังคับบัญชาของฝ่ายทหารตั้งแต่ยามปกติ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเรียกระดมพลเมื่อเกิดสงคราม และฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า รับผิดชอบกิจการฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ การแยกกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน มีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพของกิจการทหารไทยสมัยอยุธยาให้สูงขึ้น ทั้งในด้านการจัดหน่วยเข้าเป็นกองทัพ และการควบคุมบังคับบัญชา[4]

รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

[แก้]

ได้มีการปรับปรุงกิจการทหารอีกหลายประการ คือ[5]

  • การจัดทำตำราพิชัยสงคราม เนื้อความแบ่งเป็น 3 ตอน คือ สาเหตุของสงคราม อุบายสงครามกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธี มีการดูนิมิตรฤกษ์ยามและการทำเลขยันต์ แต่งเป็นคำกลอน เพื่อให้จำง่าย เน้นความสำคัญในเรื่องการจัดทัพ การตั้งทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การจัดกระบวนทัพ
  • การจัดทำทะเบียนไพร่พล หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมพระสุรัสวดี มีหน้าที่จัดทำทำทะเบียนไพร่พล โดยมีส่งเจ้าหน้าที่ในกรมพระสุรัสวดี ออกไปประจำตามหัวเมืองต่าง ๆ คอยดูแลและทำบัญชีพล การบรรจุกำลังพลเข้าประจำหน่วย แล้วส่งสำเนาการบรรจุกำลังพลดังกล่าว มาให้กลาโหมถือไว้ตั้งแต่ยามปกติ เมื่อเกิดศึกสงคราม ก็เร่งรัดให้กรมการเมืองเรียกพลเข้าประจำหน่วยรบทันที ถ้าได้พลเข้าประจำหน่วยไม่ครบก็ต้องส่งคนออกติดตาม
  • การชำระตำราช้างขึ้นใหม่ สืบเนื่องจากมีตำราช้างที่ถูกยึดมาจากกัมพูชาเป็นจำนวนมากตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้มีการนำตำราที่ได้มาจากเมืองเขมร มาสอบประกอบตำราที่ได้มาจากอินเดียแต่เดิม แล้วตรวจชำระตั้งตำราคชกรรมขึ้นใหม่สำหรับเมืองไทย[16]

รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

[แก้]

ในสมัยนั้น มีทหารต่างชาติชาวโปรตุเกส เข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชานกรุงศรีอยุธยา จึงมีการจัดตั้งเป็นกองอาสาช่วยไทยรบกับพม่า ในปี พ.ศ. 2077 โดยทหารอาสาชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟ (ปืนเล็กยาว) มาใช้ในการสู้รบ ซึ่งปืนไฟนับว่าเป็นอาวุธใหม่ มีอำนาจร้ายแรงกว่าอาวุธที่ใช้กันอยู่เดิมในสมัยนั้น ทำให้ไทยได้รับชัยชนะโดยง่าย หลังจากนั้นฝ่ายไทยจึงขอให้ช่วยจัดหาปืนไฟ มาใช้ในกองทัพ และช่วยฝึกทหารให้ด้วย ทำให้ยุทธวิธีที่เคยใช้กันมาแต่เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่น รูปขบวนรบ การใช้ที่กำบัง และการเข้าตะลุมบอน เป็นต้น และทำให้เกิดหน่วยทหารอาสาชาวต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้[5]

รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

[แก้]

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าบรรดาป้อมปราการของเมืองพระยามหานครที่มีอยู่นั้นเปรียบเหมือนดาบสองคม ในยามศึกสงคราม ถ้าสามารถรักษาไว้ได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา แต่ถ้าไม่สามารถรักษาไว้ได้และถูกข้าศึกยึดไป ก็จะกลายเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายข้าศึก ดังนั้นจึงทรงดำเนินการดังนี้

  • ให้รื้อป้อมปราการเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนพม่าและอยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงคราม ทางกรุงยกไม่สามารถยกกำลังไปช่วยได้ทัน
  • มีการเสริมสร้างป้อมปราการให้แข็งแรงขึ้น ทางด้านเหนือคือเมืองพิษณุโลกและเมืองกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนพม่า และฝ่ายไทยสามารถยกกำลังไปป้องกันได้ทัน
  • ในส่วนของตัวกรุงศรีอยุธยานั้น แต่เดิมกำแพงเมืองของกรุงศรีอยุธยาเป็นกำแพงดิน ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน เพื่อให้สามารถป้องกันปืนใหญ่ได้ มีการสร้างป้อมเพิ่มขึ้นและทันสมัยขึ้น โดยใช้ช่างชาวยุโรป
  • โปรดเกล้าขยายคูเมืองรอบพระนครให้กว้าง และลึกยิ่งขึ้น

ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้กรุงศรีอยุธยาแข็งแรงขึ้นทั้งโดยธรรมชาติและที่สร้างเสริมขึ้นใหม่ สามารถใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นสำคัญในการทำศึกที่ยกมารุกราน โดยปล่อยให้ข้าศึกยกเข้ามาล้อมกรุงแล้วคอยเวลาให้ถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจากตอนเหนือไหลลงมาท่วมพื้นที่โดยรอบกรุง ฝ่ายข้าศึกก็จะไม่สามารถตั้งทัพอยู่ได้ ต้องถอยกลับไปเอง

นอกจากนี้ ในห้วงเวลาดังกล่าว ไทยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการใช้อาวุธปืนใหญ่และปืนเล็กยาวจากทหาร เมื่ออาวุธทันสมัยขึ้น ทำให้การใช้รูปขบวนในการรบ และยุทธวิธีในป้อมค่ายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่มีแต่อาวุธสั้นเป็นอาวุธประจำกาย และไม่มีอาวุธหนักเป็นอาวุธประจำหน่วย และใช้สนับสนุนทั่วไป เช่น ปืนใหญ่ ในครั้งนั้นเรือสินค้าโปรตุเกสติดตั้งปืนใหญ้ไว้ในเรือ  สามารถยิงจากเรือไปยังที่หมายที่ต้องการได้ จึงได้เริ่มใช้เรือสินค้าโปรตุเกส แล่นไปยิงค่ายพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาอย่างได้ผล จึงได้มีพระราชดำริให้ดัดแปลง เรือแซ คือเสริมกราบเรือ ทำแท่นที่ตั้งปืนใหญ่ไว้ยิงข้าศึก และบรรดาเรือรูปสัตว์ เช่น เรือครุฑ และเรือกระบี่จะมีปืนใหญ่ไว้ที่หัวเรือทุกลำ นับว่าเรือรบไทยเกิดมีขึ้นในครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ปรากฏเป็นหลักฐาน[5]

รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

[แก้]

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเริ่มปรับปรุงกิจการทหารมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ คือตั้งแต่ พ.ศ. 2112  ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งการกอบกู้เอกราช ได้ทรงนำวิธีการรบใหม่ ๆ มาใช้หลายประการอย่างได้ผล เช่น[17]

  • การขยายคูพระนครด้านตะวันออก (คลองขื่อหน้า) ซึ่งเดิมเป็นที่แคบ ข้าศึกสามารถเข้าถึงกำแพงพระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น ทรงขยายกำแพงด้านนี้ออกไป จนจดริ่มแม่น้ำเหมือนด้านอื่น
  • ทรงสร้างป้อมปราการรอบพระนคร ได้แก่ ป้อมมหาชัย ซึ่งเป็นป้อมสำคัญทางด้านแม่น้ำป่าสัก ป้อมเพชร อยู่ตรงข้ามกับคลองบางกระจะ และ ป้อมซัดกบ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
  • การตั้งหน่วยเตรียมเสบียงอาหาร ในรัชสมัยมีการยกทัพไปทำการรบในต่างแดนหลายครั้ง มักเกิดปัญหาการขาดแคลนเสบียงอาหาร เนื่องจากเสบียงอาหารในท้องถิ่นมีไม่พอ และการลำเลียงทำไม่ทัน เนื่องจากระยะทางไกลและทุรกันดาร พระองค์ทรงแก้ไขด้วยการตั้งหน่วยเสบียงขึ้นต่างหาก มีกำลังทั้งทางบกและทางเรือ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กำกับการโดยเฉพาะ
  • ตั้งหน่วยรบพิเศษ เพื่อปฏิบัติการเฉพาะกิจ ตามสถานการณ์ในการรบ เช่นหน่วยทหารราบพิเศษ ของพระราชมนู หน่วยทหารม้าพิเศษ ของพระชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์ ในการรบกับกองทัพกัมพูชาที่ดงพญากลางเมื่อปี พ.ศ. 2137 เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเตรียมพล เนื่องจากในรัชสมัยได้มีการทำสงครามหลายครั้ง สิ้นเปลืองกำลังพลที่เกณฑ์เข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงประสบปัญหาขาดแคลนกำลังพล เพราะไม่สามารถเกณฑ์กำลังพลเข้ามาเป็นทหารทดแทนได้ทัน จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการเตรียมพลไปจากเดิมบ้าง คือ

  • โอนการปกครองหัวเมืองชั้นนอกให้มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาโดยตรง ทั้งที่เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองพระยามหานครทั้งหมด เพื่อรวบรวมกำลังพลได้มากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
  • ทรงขยายหัวเมืองชั้นในให้กว้างออกไป เพื่อเกณฑ์คนมาเป็นทหารในกองทัพหลวงให้มากขึ้น

  ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทหาร คือ มีการรับชาวต่างประเทศมาเป็นทหาร โดยตั้งเป็นหน่วยทหารอาสาต่างชาติ เรียกว่ากรมทหารอาสา เช่น กรมทหารอาสาญี่ปุ่น กรมทหารอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (ชาวโปรตุเกสเดิม) หน่วยทหารเหล่านี้มีหน้าที่รักษาพระองค์และรักษาพระนคร[17]

รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

[แก้]

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเล็งเห็นภัยคุกคามจากฮอลันดาที่เป็นคู่แข่งทางการค้ากับไทย ซึ่งฮอลันดาได้ส่งกองเรือมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อบีบบังคับให้ไทยทำสัญญาการค้าที่ฝ่ายไทยเสียเปรียบ ซึ่งไทยก็ต้องจำยอม เนื่องจากไทยไม่มีกำลังทางเรือเพื่อป้องกันประเทศ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นถึงภัยคุกคามดังกล่าว จึงได้ทรงพึ่งพาประเทศอื่นในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส ตามคำแนะนำของพระยาวิชเยนทร์ และคณะบาดหลวงชาวฝรั่งเศส  จึงได้มีทหารฝรั่งเศสเข้ามาประจำการในราชอาณาจักรไทย โดยประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก และมีบางส่วนไปประจำอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมืองมะริด และเมืองลพบุรี เพื่อสร้างป้อมปราการต่าง ๆ ให้ทันสมัย

นอกจากนี้ในรัชสมัย ได้มีการฝึกทหารตามแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก โดย เชอวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง ชาวฝรั่งเศส ผู้บังคับป้อมบางกอก ให้ฝึกหัดและจัดกองทหารไทยตามแบบฝรั่งเศสโดยการช่วยเหลือจากพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งภายหลังฟอร์บังผู้นี้ได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการทหารบก โดยฟอร์บังได้จัดหน่วยทหารเป็นกอง กองละ 50 คน แต่ละกองมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับคือ นายร้อยเอก 1 นาย นายร้อยโท 2 นาย นายร้อยตรี 1 นาย นายสิบเอก 2 นาย นายสิบโท 4 นาย และนายสิบตรี 1 นาย การฝึกครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทหารชาวโปรตุเกสที่รู้ภาษาไทย การฝึกทหารแบบยุโรปในครั้งนั้น เป็นการฝึกหัดเบื้องต้นในเรื่องระเบียบวินัย และการเข้าแถว การแปรแถว ไม่ได้เรียนรู้ถึงยุทธวิธีและยุทธศาสตร์แต่ประการใด

นอกจากนี้ ได้เกิดประเพณีในการจัดการทางทหารขึ้นมาอีกรูปหนึ่งคือ การทรงกรม กล่าวคือ เมื่อเจ้านายองค์ใด มีความดีความชอบและมีกำลังทรัพย์สิน เพียงพอให้ผู้คนพึ่งพาอาศัยได้มาก ก็จะทรงตั้งเป็น"กรม" ขึ้น ให้เจ้านายองค์นั้น บังคับบัญชาเลี้ยงดูไพร่พลของตนเอง เรียกว่า ทรงกรม เมื่อเกิดศึกสงครามกรมเหล่านั้นจะต้องจัดกำลังของตนไปร่วมรบ ประเพณีนี้มีสืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ยกเลิกไป[17]

รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา

[แก้]

เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ มีหัวเมืองใหญ่ชั้นเมืองพระยามหานคร คิดแข็งเมือง คือ เมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้พระองค์ต้องทรงแก้ไขการปกครองดินแดนทางภาคเหนือและภาคใต้ โดยให้ภาคเหนือขึ้นอยู่กับสมุหนายก และภาคใต้ขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหม การปกครองลักษณะดังกล่าวนี้ได้ใช้สืบต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ยกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2437 นอกจากนี้ยังได้เพิ่มกำลังพลให้แก่วังหน้า ตามที่ได้รับการร้องขอจากวังหน้า แสดงให้เห็นถึงอำนาจการควบคุมบังคับบัญชาทหาร ที่แบ่งแยกกันไปตามส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

สำหรับกองกำลังต่างชาติ สมเด็จพระเพทราชาได้นำกำลังทหารไทย เข้าขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกไปจากประเทศไทย ดังนั้นการฝึกทหารไทยตามแบบยุโรป จึงขาดตอนไปนับแต่นั้น และได้มาเริ่มใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[17]

รัชสมัยต่อมาจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา

[แก้]

กิจการทหารของกรุงศรีอยุธยาเสื่อมลงเป็นลำดับ เนื่องจากวังหน้าได้เพิ่มอำนาจทางทหารของตนมากขึ้น จนถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างวังหน้ากับวังหลวง และระหว่างเจ้านายที่ทรงกรมต่าง ๆ หลายครั้ง ความอ่อนแอทางทหารมีมากในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จนถึงกับพวกจีนได้คุมกำลังกัน เข้าปล้นวังหลวงได้อย่างง่ายดาย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิฐานว่า เพราะเหตุที่กิจการทหารเสื่อมลงมากจนไม่มีใครอยากเป็นทหาร จึงเกิดวิธีการที่ทางราชการยอมให้คนเสียเงินค่าจ้างแทนการเข้าเวรได้[17]

สมัยกรุงธนบุรี

[แก้]

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงที่แผ่นดินตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา ประเทศแตกก๊กออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อทรงกอบกู้เอกราชได้แล้ว ต้องทรงยกทัพออกไปปราบชุมนุมต่างๆ เพื่อรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งข้าศึกก็ยังยกทัพเข้ามาในขอบขัณฑสีมาอยู่เนื่อง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการต่าง ๆ ในด้านการทหารที่เข้มงวด เพื่อความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พอสรุปได้ดังนี้[18]

  • ทรงรวบรวมผู้ที่มีความสามารถในการรบ มาร่วมกันกอบกู้สถานการณ์ในสมัยนั้น โดยทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาจักรี เป็นอัครมหาเสนาบดีที่สมุหนายก และเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบปรามอริราชศัตรู ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
  • การจัดการกำลังพล คงยึดถือแบบแผนเดิม คือ ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหาร และเข้ารับราชการทหารตามระยะเวลาที่กำหนด  การสำรวจกำลังพล มีการใช้มาตรการที่ได้ผลและสะดวกแก่การตรวจสอบ โดยการสักพวกไพร่และทาสทุกคนที่ข้อมือเพื่อให้ทราบเมืองที่สังกัด และชื่อผู้ที่เป็นนาย  ทำให้ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน และสะดวกต่อการควบคุมบังคับบัญชา นอกจากนี้ มีการกำหนดโทษรุนแรงแก่ไพร่พลและ นายทัพนายกองที่ทำการรบไม่จริงจัง หรือหลบหนี
  • ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้มีการแสวงหาอาวุธที่มีอานุภาพสูงมาใช้ในกองทัพเป็นจำนวนมาก ได้รับอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ จากต่างประเทศ ได้แก่ ปืนคาบศิลา ปืนนกสับ และปืนใหญ่ สำหรับปืนใหญ่นอกจากที่ได้รับจากต่างประเทศแล้ว ยังได้หล่อขึ้นใช้เอง สำหรับป้องกันพระนครอีกด้วย
  • ด้านยุทธศาสตร์ทหาร มีการกำหนดเขตสงคราม ออกเป็นเขตหน้าและเขตหลัง เพื่อประโยชน์ในการส่งกำลังบำรุง และใช้วิธียกกำลังไปสกัดยับยั้งข้าศึกที่มารุกราน ที่บริเวณชายแดน เพื่อป้องกันดินแดนในราชอาณาจักรไม่ให้เสียหายจากภัยสงคราม และไม่เป็นอันตรายต่อราชธานี อันเป็นหัวใจของราชอาณาจักร มีการใช้ปืนใหญ่เพื่อเพิ่มอำนาจกำลังรบอย่างได้ผล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

[แก้]

กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คงดำเนินตามแบบอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการรวบรวมตำราพิชัยสงคราม ที่หลงเหลือจากการถูกทำลายจากพม่า มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบแผน ซึ่งก็ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระเบียบแบบแผนในการแบ่งเหล่า และการจัดหน่วยทหาร การเตรียมกำลังพล การเกณฑ์ทหาร และกิจการด้านทหารอื่น ๆ คงดำเนินการตามแบบแผนของกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ มีการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย เช่น ให้รับราชการทหารเพียงปีละ 4 เดือน โดยหมุนเวียนเป็นวงรอบ 4 รอบ ๆ ละ 1 เดือน ดังที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง เมื่อปี พ.ศ. 2327 [19]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การทหารยังคงดำเนินตามแบบอย่างเดิม ในรัชสมัยของพระองค์มีการสงครามไม่มากนัก จึงได้มีการลดหย่อนการเข้ารับราชการทหารลง โดยลดลงเหลือปีละ 3 เดือน จากเดิม 4 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2353 นอกจากนี้ยังได้มีการจัดหาอาวุธปืนใหญ่และปืนเล็กมาใช้ในกองทัพ โดยจัดหาจากต่างประเทศ[19]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงการทหารให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการจัดหน่วยทหารราบและทหารปืนใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยประจำการ มีการนำชาวรามัญ จากเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) และเมืองปทุมธานี มาฝึกหัดเป็นทหารซีปอย ที่ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมีการจัดพวกญวนมาฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่ โดยให้แต่งการแบบทหารซีปอย นอกจากนี้ เพื่อป้องกันข้าศึกที่ยกมาทางบก ณ บริเวณพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ทางด้านตะวันออกติดกับกัมพูชา ทางด้านใต้ติดกับมะลายู และทางด้านตะวันตกติดกับพม่า จึงได้มีการสร้างป้อมปราการขึ้นใน 3 ทิศ ดังนี้[20]

  • สร้างป้อมปราการที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี เพื่อป้องกันด้านตะวันตก คือพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2377
  • สร้างป้อมไพรีพินาศ และป้อมพิฆาตศัตรู ที่กาญจนบุรี เพื่อป้องกันด้านตะวันออก คือญวณ เมื่อ พ.ศ. 2377
  • สร้างป้อมปราการที่ตำบลบ่อยาง เมืองสงขลา เพื่อป้องกันด้านภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2379

สมัยปฏิรูปการทหารครั้งใหญ่

[แก้]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยมหาราช และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยามได้เผชิญกับการคุกคามจากชาติตะวันตก มีการบีบบังคับให้เซ็นสนธิสัญญาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม มีการส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มีการสู้รบและเกิดการปิดล้อมกรุงเทพ ประเทศสยามต้องสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และดินแดนส่วนอื่น ๆ ให้กับชาติตะวันตก ดังนั้นในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองรัชกาลนี้ ได้มีการปฏิรูปการทหารครั้งใหญ่ให้ทันสมัย และเป็นแบบอย่างตะวันตก การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้ เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา อยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ

การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยนี้ แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก

โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการจัดในกรมทหารรักษาพระองค์ใหม่ โดยให้ข้าหลวงเดิมในพระองค์ประมาณ ๘๐๐ คน เข้ามาเป็นทหารรักษาพระองค์ ตั้งเป็นกรมขึ้นอีกกรมหนึ่ง เรียกว่า กรมทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม ซึ่งภายหลังเมื่อได้รับการฝึกจากครูฝรั่งเป็นอย่างดีแล้วตั้งเป็นกองรักษาพระองค์อย่างยุโรป[4]

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองปืนใหญ่อาสาญวน ซึ่งจัดจากพวกญวนที่นับถือศาสนาพุทธแต่เดิมอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี และมีพระบรมราชานญุตให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมแล้วจัดพวกอาสาเหล่านี้มาเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหลวง[4]

นอกจากนี้ในปีเดียวกัน โปรดเกล้าให้จัดตั้ง กองทหารหน้า68 ซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวบรวมลูกหมู่กองมอญ มาฝึกขึ้นอยู่ในกรมพระกลาโหมโดยได้รับการฝึกแบบใหม่และมีอาวุธปืนทันสมัยประจำการ อีกทั้งมีกำลังพลมากกว่ากองทหารอื่นๆ[4]

พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เป็นนายทหารนอกราชการของกองทัพอังกฤษประจำอินเดีย  เดินทางเข้ามาในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2394 ให้มาเป็นครูฝึกหัดทหารบก ฝึกทหารในกรมทหารอาสาลาวและเขมร ที่เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์หัดแบบตะวันตกในวังหน้า และวังหลวง คนทั่วไปเรียกทหารหน่วยนี้ว่า ทหารอย่างยุโรป หรือ ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง หน่วยดังกล่าวนี้มีการจัดเป็น กองร้อย หมวด และหมู่ มีนายร้อย นายสิบ ควบคุมตามแบบฝรั่ง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้

  1. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
  2. กองทหารหน้า
  3. กองปืนใหญ่อาสาญวน

กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่น ๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ. 2395 และ พ.ศ. 2396 การศึกทั้ง 2 ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า "กองทหารหน้า" นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้

กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ

  1. กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
  2. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
  3. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
  4. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)

ต่อมาเมื่อนายทหารอังกฤษทั้ง 2 นาย ได้ลาออกจากราชการ ก็ได้จ้างนายทหารชาวฝรั่งเศสชื่อ ลามาช (Lamache) มาฝึกแทน และได้รับราชทินนามเป็น หลวงอุปเทศทวยหาญ รับราชการอยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปจำนวนทหารที่ได้รับการฝึกแบบยุโรป เมื่อเทียบกับกำลังทั้งหมดแล้ว ก็นับว่ามีจำนวนไม่มาก และส่วนใหญ่เป็นการฝึกเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติราชการในยามปกติ[21]

นอกจากนี้ในสมัยนั้น ปืนใหญ่สำหรับใช้รักษาพระนครยังมีอยู่น้อย  มีปืนใหญ่ขนาด 10 นิ้ว ที่สั่งเข้ามาเพียง 200 กระบอก จึงได้มีการจัดหาปืนใหญ่ขนาด 8 นิ้ว และขนาด 12 นิ้ว มาใช้งานเพิ่ม นอกจากนั้นยังจัดหาปืนอาร์มสตรอง ปืนทองเหลือง ปืนหลังช้าง ปืนคาบศิลา และปืนไรเฟิลฉนวนทองแดง เข้ามาใช้ในการรักษาพระนครอีกเป็นจำนวนมาก[21]นอกจากจะจัดหาจากต่างประเทศแล้ว ยังให้สร้างขึ้นใช้เองอีกส่วนหนึ่ง เช่น "ปืนพระสุบินบรรดาล" ซึ่งเป็นปืนใหญ่ขนาดเล็ก บรรจุดินปืนแล้วสามารถยิงติดต่อกันได้ในเวลารวดเร็ว มีล้อ ๔ ล้อ พระองค์ยังทรงพระราชดำริให้สร้างปืนกลชนิดลูกโม่ซึ่งใช้นกสับซึ่งทำเป็นรูปปลา ตัวกระบอกเป็นเหล็กมีลูกโม่บรรจุดินปืนสามารถยิงติดต่อกันในเวลารวดเร็ว[4]

นอกจากนี้ ยังมีการการปรับปรุงป้อมปราการต่าง ๆ เนื่องจาก กำแพงพระนครเดิมแคบ และคูพระนครด้านตะวันออกเป็นเพียงลำคลอง นอกจากนั้นภูเขาทองวัดสระเกศที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ถ้าข้าศึกยึดได้แล้วเอาปืนไปตั้งบนภูเขาทอง ก็จะระดมยิงเข้ามาในพระนครได้ จึงให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูเมืองชั้นนอก เมื่อปี พ.ศ. 2395 และให้สร้างป้อมเรียงรายเป็นระยะ ตามฝั่งคลองส่วนในพระนคร ตั้งแต่ปากคลองด้านเหนือไปถึงปากคลองด้านใต้ 5 ป้อม คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจานึก ป้อมผลาญศัตรู ป้อมปราบศัตรูพ่าย และป้อมทำลายปรปักษ์ เมื่อสงครามลามมาถึงพระนคร ให้ใช้ไม้แก่นหรือไม้ลำปักเป็นค่ายระเนียด บรรจบกันเป็นเขื่อน เพื่อจะได้ต่อสู้กับข้าศึกได้ถนัด

นอกจากป้อมทั้ง 5 ป้อมดังกล่าวแล้ว ยังมีป้อมที่สร้างในรัชสมัยของพระองค์อีก 3 ป้อมคือ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ป้อมหักกำลังดัสกร และป้อมมหานคร[21]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น 2 ประการ คือ

  1. การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
  2. การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ

การจัดการทหารในช่วงแรกนั้น ได้มีหลายประการด้วยกัน ดังนี้[21]

  • การจัดตั้งหน่วยทหารมหาดเล็ก เริ่มต้นจากเมื่อ ปี พ.ศ. 2404 ได้มีการทดลองฝึกบุตรข้าราชการ ตามแบบยุทธวิธีแบบใหม่ แบบทหารหน้า เรียกกันว่า มหาดเล็กไล่กา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2411 ก็ตั้งเป็นหน่วยทหารหน่วยหนึ่ง เรียกกันว่า ทหารสองโหล ต่อมาเมื่อมีกำลังพลเพิ่มขึ้น หน่วยนี้ได้วิวัฒนาการขึ้นเป็น กองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2414 ได้มีการจัดระเบียบของหน่วยนี้ให้มั่นคงขึ้น และให้ชื่อว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ทรงจัดตั้งกองทหารม้า กองทหารช่าง และกองทหารแตรวง ขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กฯ ตามลำดับ
  • การปรับปรุงกรมทหารหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2414 ได้โอนทหารรักษาพระองค์ กองทหารล้อมวัง และกองฝีพาย ซึ่งเป็นหน่วยทหารแบบเก่า เข้าสมทบกับกรมทหารหน้า กรมทหารหน้าได้รับการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ มาโดยลำดับ  มีหน่วยกองทหารม้า กองทหารดับเพลิง และกองทหารข่าวในสังกัด นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารหน้ารับเลขไพร่หลวง และบุตรหมู่ใด กรมใด ที่สมัครเข้ามาเป็นทหารเป็นเวลา 5 ปี จะได้ปลดพ้นหน้าที่ประจำการ ทำให้มีผู้มาสมัครเข้ารับราชการในกรมทหารหน้าเป็นอันมาก นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปลดปล่อยไพร่ทั้งหลายให้ไปสู่ความเป็นไท
  • การจัดกองทัพ กำลังในส่วนกลางหรือในกรุง ได้รับการปรับปรุงมาโดยลำดับ โดยแยกทหารบกและทหารเรือ จากกันเป็นสัดส่วน แต่กองทัพหัวเมืองยังคงเดิม คือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ กองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือในบังคับบัญชาของสมุหนายก กองทัพหัวเมืองฝ่ายใต้ในบังคับบัญชาของสมุหพระกลาโหม และกองทัพหัวเมืองชายทะเลในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาพระคลัง

เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้

  1. กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  2. กรมทหารรักษาพระองค์
  3. กรมทหารล้อมวัง
  4. กรมทหารหน้า
  5. กรมทหารปืนใหญ่
  6. กรมทหารช้าง
  7. กรมทหารฝีพาย

พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการทหารอย่างใหม่เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี "ประกาศจัดการทหาร" ขึ้น โดยตั้ง "กรมยุทธนาธิการ" มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง "จอมทัพ" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็น "ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป" และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือ

  1. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  2. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
  3. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย
  4. เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์

นอกจากนี้การปรับปรุงกิจการทหารด้านอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2431 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขธรรมเนียมกำหนดอายุไพร่ โดยกำหนดไว้ดังนี้

... บุตรหมู่ทหารเมื่ออายุย่าง 18 ปี ให้ไปลงบัญชีชื่อไว้ในกรมทหาร ครั้นอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ต้องไปประจำการฝึกหัดวิชาทหาร จนอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ และเมื่ออายุครบ 22 ปีบริบูรณ์ ให้มาเข้าเวรรับราชการปีละ 3 เดือน จนอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ จึงปลดพ้นราชการ ทหารที่มีบุตรเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ให้บิดาปลดจากราชการในเวลานั้น เว้นยามศึกสงคราม บุตรจะต้องเป็นทหารตามหมู่บิดาตน ...[21]

ในปีเดียวกันนี้ ได้มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับกรมทหารขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยง และรางวัลของทหาร โดยกำหนดให้เบี้ยเลี้ยงเฉพาะทหารที่ไปราชการรักษาชายแดนในหัวเมืองลาวและเขมร อันเป็นท้องถิ่นกันดาร และในปลายปี พ.ศ. 2431 ได้มี พรบ. ว่าด้วยศักดินาทหาร และ พรบ. ว่าด้วยลำดับยศนายทหารบก เพื่อเป็นการวางระเบียบในกิจการทหารให้เป็นที่เรียบร้อยสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ[21]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2436  ประเทศไทยต้องเสียดินแดนอาณาจักรลาวให้กับฝรั่งเศส จึงได้มีการปรับปรุงด้านการทหารในปีต่อมา โดยคณะเสนาบดีได้ทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นให้จัดระเบียบราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ โดยให้รับผิดชอบทั้งด้านทหารบกและทหารเรือ จึงได้มีประกาศปันหน้าที่กระทรวงกลาโหม มหาดไทย โดยให้แยกราชการพลเรือน คือการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ไปขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย และจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมใหม่  โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารมาไว้ที่ กระทรวงกลาโหม นอกจากนั้นในส่วนภูมิภาค ก็ได้จัดตั้งกรมบัญชาการทหารประจำมณฑลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันราชอาณาจักรได้ทันท่วงที[22]

ในปี พ.ศ. 2439 ได้โอนกรมพระสุรัสวดี จากกระทรวงเมืองมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เพื่อให้สะดวกในการเรียกพลเข้ารับราชการทหารและในปี พ.ศ. 2441 ได้จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้น โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ซึ่งสำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากประเทศเดนมาร์ก เป็นเสนาธิการ หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการทหารของไทยเข้าสู่ระบบสากล และในปีเดียวกันนี้ ได้มีการจัดตั้งหน่วย  ทหารบกตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วไป เพื่อสะดวกในการวางกำลังทหารไว้ ตามพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และมีการเปลี่ยนนามหน่วยเสียใหม่ ดังนี้คือ[22]

  • กรมทหารล้อมวัง เป็น กรมทหารบกราบที่ 1
  • กรมทหารรักษาพระองค์ เป็น กรมทหารบกราบที่ 2
  • กรมทหารฝีพาย เป็น กรมทหารบกราบที่ 3
  • กรมทหารหน้า เป็น กรมทหารบกราบที่ 4

ในปี พ.ศ. 2444 เกิดกบฎผีบุญผีบ้าที่เมืองอุบลราชธานี และปีต่อมา เกิดกบฎเงี้ยวที่เมืองแพร่ จากการปราบปรามกบฎดังกล่าว ได้พบปัญหาและข้อบกพร่องในการปฏิบัติการบางส่วน มีหน่วยที่ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข 7 หน่วยด้วยกัน และได้จัดให้มีการทหารประจำการอยู่ที่มณฑลอุดร มณฑลอีสาน และมณฑลพายัพ เพิ่มขึ้น และต่อมาจึงได้มีการจัดกำลังเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ 16 หน่วย เป็นหน่วยในภูมิภาค 6 หน่วย คือที่ ราชบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ มณฑลพายับตะวันตก และมณฑลพายัพตะวันออก[22]

ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร โดยแยกการเกณฑ์ทหาร ออกจากราชการพลเรือนอย่างเด็ดขาด[22]

ในปี พ.ศ. 2450 กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดชทรงเห็นควรจะขนานนามลำดับกรมทหารต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ๑๐ กองพล เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในระเบียบราชการ โดยกรมกองทหารที่ทรงร่วมกันจัดขึ้นนั้น ประกอบไปด้วยกองพลทหารบก ๑๐ กองพล กระจายกันอยู่ในหัวเมืองมณฑลต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นหน่วยกองพล 10 กองพล คือ กองพลที่ 1 ถึงกองพลที่ 10 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นมณฑลกรุงเทพ ฯ อีก 9 กองพล อยู่ในภูมิภาค คือ นครไชยศรี กรุงเก่า ราชบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ พิษณุโลก มณฑลพายัพ ปราจีณบุรี และมณฑลอีสานอุดร ตามลำดับ[23]

ในปี พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าฯ ให้จัดกองพลเป็นกองทัพ ดังนี้[23]

  1. กองทัพที่ 1 ประกอบด้วย
    • กองพลที่ ๑ (รักษาพระองค์) มณฑลกรุงเทพฯ
    • กองพลที่ ๒ มณฑลนครไชยศรี
    • กองพลที่ ๓ มณฑลกรุงเก่า
  2. กองทัพที่ 2 ประกอบด้วย
    • กองพลที่ ๖ มณฑลนครสวรรค์
    • กองพลที่ ๗ มณฑลพิษณุโลก
    • กองพลที่ ๘ มณฑลพายัพ
  3. กองทัพที่ 3 ประกอบด้วย
    • กองพลที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา
    • กองพลที่ ๙ มณฑลปาจิณบุรี
    • กองพลที่ ๑๐ มณฑลอิสานและอุดร
  4. ส่วนกองพลที่ 4 ให้คงเป็นกองพลอิสระ

เนื่องกองทัพสยามที่เป็นกองทัพเพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ทั้งยังมีข้อจำกัดด้านนโยบายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ ห้ามกู้ยืมเงินมาพัฒนากองทัพโดยเด็ดขาด การสร้างสมกำลังรบและยุทธปัจจัยต่าง ๆ ให้ใช้จ่ายได้เฉพาะจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรประจำปีกับเงินคงพระคลังซึ่งเป็นเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากปีต่าง ๆ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวกองทัพบกสยามในเวลานั้น จึงมีการวางอัตรากำลังพลในเวลาปกติของแต่ละกองพลทั่วราชอาณาจักร เป็นดังนี้[24]

  • ทหารราบ ๒ กองพัน
  • ทหารปืนใหญ่ ๒ กองร้อย
  • ทหารม้าหรือทหารพราน ๒ กองร้อย
  • ทหารช่าง ๑ กองร้อย

เว้นแต่กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ ที่เป็นหน่วยประจำรักษาพื้นที่กรุงเทพฯ และมีหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ กับกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี ซึ่งเป็นกองพลอิสระที่ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบก และเป็นหน่วยระวังรักษาพื้นที่มณฑลราชบุรี ซึ่งเป็นหน้าด่านของการป้องกันประเทศทางด้านคาบสมุทรมลายู เพราะนับแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนสุดชายพระราชอาณาเขตที่มณฑลปัตตานีเป็นพื้นที่ที่ไม่มีกองทหารลงไปประจำการ จึงมีการจัดกำลังรบในกองพลที่ ๔ นี้เสมอด้วยอัตรากำลังในยามมีศึกสงครามมาประชิด ซึ่งแต่ละกองพลมีการจัดกำลังเต็มอัตรา ดังนี้[24]

  • ทหารราบ ๒ กรม ๆ ละ ๒ กองพัน
  • ทหารปืนใหญ่ ๓ กองร้อย
  • ทหารม้า ๒ กองร้อย หรือทหารพราน ๔ กองร้อย
  • ทหารช่าง ๔ กองร้อย

ในด้านการฝึกศึกษานั้น โปรดเกล้า ให้จัดตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็ก ใน พ.ศ. 2425  ต่อมาได้ตั้ง โรงเรียนคาเด็ตทหารหน้า ซึ่งได้จ้างครูชาวอิตาลีมาสอน 2 คน และได้ตั้งโรงเรียนทำแผนที่ ขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งพระราชโอรสพระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรผู้มีตระกูล ไปศึกษาวิชาทหารยังต่างประเทศ ในทวีปยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศอังกฤษ เยอรมนี และเดนมาร์ก[22]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้มีการรวมโรงเรียนคาเด็ตทหารมหาดเล็ก และโรงเรียนคาเด็ตทหารหน้าเข้าด้วยกัน ระยะแรกเรียก คาเด็ตสกุล ในต่อมาปี พ.ศ. 2440  ได้นำโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบด้วยแล้วให้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสอนวิชาทหารบก ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนายร้อยทหารบก และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตามลำดับ[22]

สำหรับพลทหาร ก็ได้มีหลักสูตรสำหรับพลทหาร เรียกว่า หลักสูตรพลทหาร รศ. 124 (พ.ศ. 2448) เพื่อฝึกกำลังพลให้ทำหน้าที่ทหารได้อย่างจริงจัง[22]

กองทัพบกสมัยถัดมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

[แก้]

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาทหารยังต่างประเทศในทวีปยุโรป ดังนั้นเมื่อพระราชโอรสซึ่งจบการศึกษาการทหารบกจากประเทศอังกฤษได้สำเร็จการศึกษา และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงได้กลับมาพัฒนากิจการทหารบกในด้านต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดย

  1. เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก
  2. ยกกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ
  3. จัดตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ

นอกจากนี้ ทรงดำริว่า "การทหารวังนั้น มิใช่มีหน้าที่เฉพาะของทหาร แต่เป็นหน้าที่ของกรมวังนอก" ซึ่งเป็นกรมพลเรือนในเขตพระราชฐาน จึงโปรดเกล้าให้ยกกรมวังนอก ซึ่งเป็นส่วนราชการพลเรือนในราชสำนัก ขึ้นเป็นกรมทหารรักษาวัง เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2454  กรมทหารรักษาวังนี้ มีฐานะเป็นหน่วยทหารประจำการกรมหนึ่ง มีหน้าที่หลัก คือ การรักษาการในเขตพระราชฐานแทนทหารประจำการและปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์อีกหน่วยหนึ่ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงวัง รวมทั้งการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็โปรดให้ใช้งบประมาณของกระทรวงวังซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น [25]

เมื่อแรกตั้งกรมทหารรักษาวังนั้น โปรดให้จัดอัตรากำลังเป็น ๒ กองพันดังเช่นการจัดอัตรากำลังของหน่วยทหารบกในยุคนั้น ภายหลังครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า จะมีชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งจะทำการขอสัมปทานทำเหมืองแร่ในเขตมณฑลปักษ์ใต้ของไทย แล้วจะอาศัยเหตุนี้ส่งกำลังทหารเข้ามาโดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนที่มาทำเหมืองแร่นั้นแล้ว ทรงห่วงใยในเรื่องกรรมสิทธิ์ของประเทศสยามในดินแดนแถบนี้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวังขึ้นอีก ๑ กองพัน มีที่ตั้งกองบังคับการกองพันอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช [25]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ ลง ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร 3 ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ความยุ่งยากทางการเมือง

หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475

[แก้]
การเดินขบวนพิธีทางกองทัพหลัง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ในเดือนกันยายน ปี 2476 พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ

เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ. 2486 กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว

กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี แขวงดุสิต แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ. 2506 จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่ 2 เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้งอยู่ภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร ก็ตาม

ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่าง ๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ

สมัยปัจจุบัน

[แก้]

พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ

ครั้นเมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก

ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่าง ๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ระหว่างเวลา 08.49 – 09.29 นาฬิกา โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี

ในปี 2563 หลังเกิดเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ กล่าวว่าจะมีการปฏิรูปกองทัพใน 90 วัน อย่างไรก็ดี หลังเวลาล่วงไปแล้ว รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามถึงความคืบหน้าในกรณีจัดการปัญหาทุจริตในกองทัพ เช่น การจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจ การให้นายทหารเกษียณอายุราชการใช้บ้านพักข้าราชการ การซ้อมทรมานผู้ต้องหา การโกงเบี้ยทหาร เป็นต้น[26]

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ได้ชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า 2 เดือนที่ผ่านมา กองทัพบกได้ดูแลเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กราดยิงที่ จังหวัดนครราชสีมาเป็นสิ่งแรก ส่วนสาเหตุและผลสรุปเป็นเรื่องคดีความ ซึ่งต้องใช้เวลาเนื่องจากมีขั้นตอน อย่างไรก็ตามกองทัพบกได้เยียวยาภรรยาและบุตร ส่วนผู้ที่บาดเจ็บและต้องนอนรักษาตัว กองทัพบกก็ทำหน้าที่รับ-ส่ง รวมทั้งหาอาชีพและปรับปรุงบ้านพักให้ดีขึ้น นอกจากนี้กองทัพบกได้ดำเนินการโดยเฉพาะการบริหารจัดการบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งยืนยันว่าทุกอย่างมีความคืบหน้าและมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยผู้บัญชาการทหารบกได้มีการปรับระบบการบริหารจัดการภายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการทั้งหมดอย่างชัดเจน [27]

ภารกิจหลัก

[แก้]

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า "กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"

การแบ่งเหล่า

[แก้]

ในปัจจุบัน กองทัพบกไทย มีการแบ่งประเภทเหล่าทหารบก ออกเป็นเหล่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เหล่ารบ

[แก้]

เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบ ประกอบด้วย

ทหารราบของ ทบ.
  1. ทหารราบ (ร.) เป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกไทย มีกำลังพลมากที่สุด มีหน้าที่เข้ายึดครองและรักษาพื้นที่ ทหารราบมาตรฐาน ทหารราบเบา ทหารราบยานเกราะ
  2. ทหารม้า (ม.) แบ่งออกเป็นสามแบบคือ ทหารม้าลาดตระเวน ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยานสายพาน หรือยานหุ้มเกราะเป็นพาหนะในการรบ ทหารม้ารถถัง ใช้รถถังเป็นอาวุธหลักในการปฏิบัติการรบ

เหล่าสนับสนุนการรบ

[แก้]

เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนับสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบ ประกอบด้วย

ทหารปืนใหญ่ของ ทบ.
  1. ทหารปืนใหญ่ (ป.) ใช้ปืนใหญ่ ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบ
  2. ทหารช่าง (ช.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานช่าง ก่อสร้าง ซ่อม หรือทำลาย สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
  3. ทหารสื่อสาร (ส.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ
  4. ทหารการข่าว (ขว.) ข่าวกรอง

เหล่าช่วยรบ

[แก้]

เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารสรรพาวุธ (สพ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะในการรบ
  2. ทหารพลาธิการ (พธ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง ยุทธภัณฑ์ส่วนบุคคล
  3. ทหารแพทย์ (พ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ในกลุ่มเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเป็นฝ่ายรักษาพยาบาลให้กับทหารและครอบครัวทหาร
  4. ทหารขนส่ง (ขส.) เป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งกำลังพล และการเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์

เหล่าสนับสนุนการช่วยรบ

[แก้]

นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่น ๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง ประกอบด้วย

สารวัตรทหาร(สห.) ของ ทบ.
  1. ทหารสารบรรณ (สบ.) มีหน้าที่ดำเนินการด้านธุรการ เอกสาร ทะเบียนประวัติ และงานสัสดี
  2. ทหารการเงิน (กง.) ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
  3. ทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ดำเนินการด้านกฎหมาย การศาลทหาร
  4. ทหารแผนที่ (ผท.) มีหน้าที่สำรวจและจัดทำ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ (ขึ้นการบังคับบัญชากับ กองบัญชาการกองทัพไทย)
  5. ทหารการสัตว์ (กส.) มีหน้าที่ดูแลสัตว์ในราชการกองทัพ
  6. ทหารดุริยางค์ (ดย.) มีหน้าที่ให้ความบันเทิง นันทนาการ
  7. ทหารสารวัตร (สห.) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ดูแลระเบียบวินัยของทหาร การเชลย

การจัดส่วนราชการ

[แก้]
กองทัพบกไทยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
กองทัพภาคที่ 1
กองทัพภาคที่ 1
กองพลที่ 1 ร.อ.
กองพลที่ 1 ร.อ.
กองพลทหารม้าที่ 2 ร.อ.
กองพลทหารม้าที่ 2 ร.อ.
ที่ตั้งของหน่วยทหารสำคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานคร

กองทัพบก แบ่งส่วนราชการเป็น 7 ส่วนดังนี้ [28]

  1. ส่วนบัญชาการ
  2. ส่วนกำลังรบ
  3. ส่วนสนับสนุนการรบ
  4. ส่วนสนับสนุนการช่วยรบ
  5. ส่วนภูมิภาค
  6. ส่วนการศึกษา
  7. ส่วนช่วยพัฒนาประเทศ

ส่วนบัญชาการ

[แก้]

ส่วนกำลังรบ

[แก้]

ส่วนสนับสนุนการรบ

[แก้]

ส่วนสนับสนุนการช่วยรบ/ส่วนส่งกำลังบำรุง

[แก้]

มีจำนวน 9 กรม ดังนี้ [28]

ส่วนภูมิภาค

[แก้]

ส่วนการศึกษา

[แก้]

ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ

[แก้]

สื่อในความควบคุมของกองทัพบก

[แก้]

ยุทธภัณฑ์

[แก้]

หน่วยปฏิบัติการสารสนเทศ

[แก้]

ในเดือนตุลาคม 2563 ทวิตเตอร์ได้ปิดบัญชีจำนวน 926 บัญชีที่เชื่อมโยงกับกองทัพบกไทย ด้านศูนย์สังเกตการณ์อินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสรุปว่าเป็นความพยายามเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่กองทัพบก และโจมตีพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเฉพาะเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพื่อลดข้อวิจารณ์กองทัพบก สำหรับทางทวิตเตอร์น่าจะสามารถรู้ตัวการได้ค่อนข้างรวดเร็วสังเกตได้จากมีบัญชีที่ตั้งใหม่หลังเดือนมีนาคม 2563 เพียง 2 บัญชี นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังระบุว่าบัญชีต่าง ๆ ใช้ความพยายามอย่างตื้นเขินและมีความสำเร็จในการจูงใจต่ำ[29]

พลโท สันติพงษ์ ธรรมปิยะ โฆษกกองทัพบกอ้างว่า สื่อโซเชียลของกองทัพไม่มีนโยบายไอโอ[30] ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีเอกสารหลุดในเรื่องแผนปฏิบัติการสารสนเทศของกองทัพ โดยใช้แอปพลิเคชัน Twitter Broadcast และ Free Messenger โดยมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในไทย[31]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บำรุงสุข, สุรชาติ (18 July 2019). "เปิดข้อมูลอำนาจกำลังรบไทย". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
  2. "The Royal Thai Army | 42nd Military Circle". 42militarycircle.com. 1 ตุลาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2014.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 การทหารของไทยสมัยสุโขทัย
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 การทหารของไทยสมัยโบราณ[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 การทหารของไทยสมัยอยุธยา
  6. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, หน้า ๕๐.
  7. 7.0 7.1 7.2 พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม จากฐานข้อมูลดิจิตอลของ British Libary
  8. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, หน้า ๔๙.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, หน้า ๕๐ - ๕๑.
  10. พระคลัง(หน), เจ้าพระยา. ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง. วรรณคดีเจ้าพระยาพระคลัง(หน). พิมพ์ครั้งที่ 1
  11. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) เจ้าภาพพิมพ์ในงานปลงศพ คุณหญิงปฏิภานพิเศษ ( ลมุน อมาตยกุล ) ณ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
  12. จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ครั้งที่ ๑ และ จดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๓ เรื่องตำนานการเกณฑ์ทหาร กับเรื่องตำนานกรมทหารราบที่ ๔ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชฯผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๔ โปรดให้พิมพ์ประทานในงานฉลองโล่ห์ที่จังหวัดราชบุรี เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๕๖๔
  14. อารยา ถิรมงคลจิต. (2561, พฤศจิกายน 8) กรมช้าง. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. หน้า18
  15. จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. (2548, 29 มิถุนายน) ม้าเทศ:จากสีหมอกสู่อัศวราชา (ตอนจบ). หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้า 4
  16. ดำรงราชานุภาพ, ดิศวรกุมาร . นิทานที่ 20 เรื่องจับช้าง (ภาคต้น). อนุมานราชธน, พระยา (บรรณาธิการ). นิทานโบราณคดี. กรมศิลปากร
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 การทหารของไทยสมัยอยุธยา
  18. การทหารสมัยกรุงธนบุรี
  19. 19.0 19.1 การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น
  20. การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต่อมา
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  23. 23.0 23.1 กองพลที่_1_รักษาพระองค์[ลิงก์เสีย]
  24. 24.0 24.1 "วิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ กับการจัดระเบียบกองทัพสยาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
  25. 25.0 25.1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการป้องกันประเทศ
  26. 'โรม' ทวงสัญญา 'ผบ.ทบ.' ปฏิรูปกองทัพ ถึงไหนแล้ว ?
  27. ข่าวปลอมสะพัด!ทบ.แจงการใช้งบเกือบ23ล.ล้างสิ่งปนเปื้อนเป็นเอกสารของอบจ.แห่งหนึ่ง
  28. 28.0 28.1 กรมยุทธศึกษาทหารบก, คู่มือนายทหารสัญญาบัตร ประจำปี 2551, สำนักพิมพ์ หจก.อรุณการพิมพ์, 2551, หน้า 484
  29. ""สแตนฟอร์ด" ชี้ปฏิบัติการ "ไอโอ" ทหารไทยประสิทธิภาพต่ำมาก มีแต่เชียร์รัฐบาล-โจมตีพรรคอนาคตใหม่". ผู้จัดการออนไลน์. 9 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  30. "กองทัพบก" โต้ปม "ไอโอ" โจมตีบัญชีทวิตเตอร์
  31. "หลุดเอกสารกองทัพใช้แอพพ์ประสานงานทำไอโอ ตะลึงแกะรอยเซิร์ฟเวอร์อยู่บ.เอกชนห้วยขวาง". มติชนออนไลน์. 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]