กรมกำลังพลทหารบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมกำลังพลทหารบก
กรมกำลังพลทหารบก
ประเทศ ไทย
บทบาทงานนโยบายและแผนกำลังพล[1]
การเตรียมกำลังพล[1]
การจัดการกำลังพล[1]
การปกครองกำลังพล[1]
การบริการสิทธิและขวัญกำลังพล[1]
การศึกษาและพัฒนาความรู้กำลังพล[1]
งบประมาณการกำลังพล[1]
การสารสนเทศกำลังพล[1]
วิเคราะห์และประเมินค่ากำลังพล[1]
บรรจุกำลังพลทดแทนการสูญเสีย[2]
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สัญลักษณ์นำโชคเทพจัดเตรียมพล[3]
วันสถาปนา6 สิงหาคม พ.ศ. 2495; 71 ปีก่อน (2495-08-06)[4]
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[4]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมกำลังพลทหารบกพลโท[5] เกรียงไกร ปราสาฑสุวรรณ

กรมกำลังพลทหารบก (อักษรย่อ: กพ.ทบ.[6][7][8]; อังกฤษ: Directorate of Personnel[9]) เป็นหน่วยงานหลัก ที่กำหนดนโยบายและแผนบริการจัดการกำลังพล เพื่อพัฒนากำลังพลกองทัพบกไทย[10] โดยมีเจ้ากรมกำลังพลทหารบกคนปัจจุบันคือ เจ้ากรมกำลังพลทหารบกคนปัจจุบันคือพลโท[11] เกรียงไกร ปราสาฑสุวรรณ[12]โดยมีรองเจ้ากรมทหารบกได้แก่ พลตรี ธนิศร์ ยูสานนท์[13]

นอกจากนี้ กรมกำลังพลทหารบกยังมีผลงานสำคัญ ในการเสริมสร้างความพร้อมรบแก่ทหารพราน ที่ปฏิบัติการในจังหวัดชายแดนภาคใต้[4]

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2495 ทางกองทัพบกไทยได้ปรับการจัดหน่วยต่าง ๆ และยกฐานะแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหารบก เป็นกรมกำลังพลทหารบก ตามราชกิจจานุเบกษา โดยอนุมัติให้ใช้อัตราเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 จึงได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนากรมกำลังพลทหารบกสืบมา[4]

ผลงานสำคัญ[แก้]

กรมกำลังพลทหารบก มีผลงานสำคัญตามนโยบายสั่งการของผู้บัญชาการทหารบก อาทิ การเสริมสร้างความพร้อมรบแก่ทหารพราน, ช่วยเหลือกำลังพลที่ปลดพิการ, การบรรจุทดแทนเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต, การบรรจุทดแทนเจ้าหน้าที่พิการทุพพลภาพ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลกำลังพล[4]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ข้าราชการกรมกำลังพลทหารบก ได้เดินทางเยือนประเทศเวียดนาม และรับบรรยายสรุปจากมานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตกรุงฮานอย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย–เวียดนาม ทั้งในด้านการเมือง และการทหารของทั้งสองประเทศ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์[14]

สิ่งสืบทอด[แก้]

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรมกำลังพลทหารบก ได้นำนายทหาร, ลูกจ้าง, ข้าราชการ และทหารกองประจำการ เข้ารับฟังการอบรมชี้แจงความรู้ความเข้าใจต่อร่างรัฐธรรมนูญ จากมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)[15]

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 วิทยากรจากกรมกำลังพลทหารบกได้รับเชิญสมาคมแม่บ้านทหารบก ในการอบรมโครงการสร้างองค์ความรู้ สร้างคน สร้างงาน แก่ครอบครัวกำลังพลกองทัพบกที่ทุพพลภาพ[16][17]

รายนามเจ้ากรมกำลังพลทหารบก[แก้]

  1. พลตรี พจน์ บูรณศิลปิน (8 กันยายน พ.ศ. 2495 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2498)
  2. พลตรี ฉลอง อุชุโกมล (18 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
  3. พลตรี ทวนชัย โกศินนานนท์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506)
  4. พลตรี เจริญ สายวิจิตร์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2516)
  5. พลตรี สม ขัตพันธุ์ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516)
  6. พลตรี สืบ อักษรานุเคราะห์ (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 - 30 กันยายน พ.ศ. 2521)
  7. พลตรี นพ พิณสายแก้ว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524)
  8. พลตรี สุมน ศุกระเศรณี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526)
  9. พลตรี ประเสริฐ สารฤทธิ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2529)
  10. พลตรี ชัยวุฒิ ศรีมาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532)
  11. พลตรี ปรีชา อุเทนสุต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536)
  12. พลตรี สีนาด รัตนพฤกษ์ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539)
  13. พลตรี เถกิง นิรัตศัย (1 เมษายน พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
  14. พลตรี ไพโรจน์ วัฒนโยธิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545)
  15. พลตรี ประวิทย์ น่วมพารา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
  16. พลตรี อภิชัย พิณสายแก้ว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 27 เมษายน พ.ศ. 2549)
  17. พลตรี อรุณ สมตน (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
  18. พลตรี สุชาติ หนองบัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
  19. พลโท สุรเดช เฟื่องเจริญ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
  20. พลโท สรรชัย อจลานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559)
  21. พลโท คธายุทธ์ เสาวคนธ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  22. พลโท อยุทธ์ ศรีวิเศษ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
  23. พลโท มานัสชัย ศรีประจันทร์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
  24. พลโท นุกูล โล่ห์ประเสริฐ (1 เมษายน พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  25. พลโท เกรียงไกร ปราสาฑสุวรรณ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 พ.ศ.
  2. การขอบรรจุกำลังพลทดแทนการสูญเสีย - รพ.ค่ายสุรนารี
  3. "ตราสัญลักษณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 สิริกิติ์ - กองทัพบก[ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 5 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  6. พ.ศ. 2540 - KM การจัดองค์ความรู้ รร.กสร.ศสร.[ลิงก์เสีย]
  7. 'ทหาร-ตำรวจ' คุมผับบาร์ หารายได้พิเศษหรือเพิ่มอิทธิพล ? - Voice TV
  8. “วินธัย” ชี้ ทหารออกทีวี-รับงานต้องขออนุญาต-สะพัด “สิบโท” ถูกลงโทษหลังร้องเพลงเสียงเพี้ยน
  9. "หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม (Ministry of Defence)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  10. "ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานวันคล้ายวันสถาปนา 4 หน่วยงานของกองทัพบก ครบรอบปีที่ 67". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 5 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 20 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 24 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  14. ข่าวและกิจกรรม : เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย บรรยายสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม แก่คณะข้าราชการกรมกำลังพลทหารบก ในโอกาสเดินทางเยือนเวียดนาม
  15. ‘มีชัย’ บุก ทบ. เล็กเชอร์ร่าง รธน.ใหม่ ลั่น! พร้อมไปบรรยายหน่วยทหารทั่วประเทศ
  16. ชมรมแม่บ้านทหารบก มทบ.32 เปิดโครงการ “สร้างองค์ความรู้ สร้างคน สร้างงาน” แก่ครอบครัวกำลังพลที่ทุพพลภาพ[ลิงก์เสีย]
  17. กิจกรรมโครงการสร้างองค์ความรู้ สร้างคน สร้างงาน แก่ครอบครัวกำลังพลกองทัพบกที่ทุพพลภาพฯ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]