กองพลทหารราบที่ 15

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพลทหารราบที่ 15
พล.ร.15
เครื่องหมายหน่วย
ประจำการ1 เมษายน พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน
ประเทศไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบทหารราบเบา
บทบาททหารราบเบา
กำลังรบกองพลทหารราบเบา
ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 4
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[1]
เว็บไซต์http://www.infantry-division15.com/Inf_Dev15.html (ไทย)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว

กองพลทหารราบที่ 15 เป็นกองพลทหารราบของกองทัพบกไทย ปัจจุบันเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ 4 ประกอบด้วยกรมทหารราบที่ 151, กรมทหารราบที่ 152, กรมทหารราบที่ 153 และกรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ซึ่งกองพลนี้กำลังสู้รบในความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]

ประวัติ กองพลทหารราบที่ 15

การก่อความไม่สงบในภาคใต้ได้เริ่มขึ้นเพื่อโต้ตอบพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2487 ของนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งแทนที่การใช้ภาษามลายูในโรงเรียนของภูมิภาคด้วยภาษาไทย รวมถึงยกเลิกศาลอิสลามท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนที่มีชาติพันธุ์มาเลย์ และมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ในจังหวัดยะลา, จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส[3][การอ้างอิงวกเวียน] อย่างไรก็ตามมักจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างเล็ก การก่อความไม่สงบทวีความรุนแรงขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในระหว่างรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร การโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้ขยายไปสู่ชนชาติไทยฝ่ายข้างน้อยในจังหวัดดังกล่าว[4] ส่วนกองทัพไทยได้ตอบโต้ด้วยยุทธวิธีติดอาวุธที่รุนแรง ซึ่งทําให้ส่งเสริมความรุนแรงเพิ่มขึ้น[5] ในปลายปี พ.ศ. 2555 ความขัดแย้งได้สร้างความสูญเสีย 3,380 คน ซึ่งรวมถึงพลเรือน 2,316 คน, ทหาร 372 นาย, ตำรวจ 278 นาย, ผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย 250 คน, เจ้าหน้าที่การศึกษา 157 คน และพระสงฆ์ 7 รูป ผู้เสียชีวิตหลายคนเป็นมุสลิม เพราะพวกเขาตกเป็นเป้าหมายเพราะสันนิษฐานว่าให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย[6]

การจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 15

เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 และเมื่อปลายปี 2547 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้เสนอรัฐบาลจัดตั้งหน่วยทหารขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 กองทัพบกจึงได้แปรสภาพกองพลทหารราบที่ 16 ซึ่งเป็นกองพลทหารราบหนึ่งของกองทัพบก เป็นกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร มีที่ตั้งชื่อชั่วคราวอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ได้เปลี่ยนนามหน่วย จากเดิม คือ กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร เป็นกองพลทหารราบที่ 15 และในวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ได้เคลื่อนย้ายกองบัญชาการกองพลมาตั้งในพื้นที่ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และได้ทะยอยเคลื่อนย้ายกำลังเข้ามาปฏิบัติงานและก่อสร้างค่ายหน่วยต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามค่ายเดิมว่า ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งหน่วยเป็นต้นมา[7]

  • ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ได้รับพระราชทานนามค่าย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานนามค่ายทหาร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 152 ลง 1 ธ.ค. 35 หน้า 13542
    • ที่ตั้งเดิม : ค่ายเด็จพระสุริโยทัย ต.หนองแก อ.หัวหิน จว. ประจวบคีรีขันธ์
    • ที่ตั้งปัจจุบัน : ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จว. ปัตตานี

หน่วยขึ้นตรง กองพลทหารราบที่ 15

  • กรมทหารราบที่ 151[8]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 151
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 151
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 151
  • กรมทหารราบที่ 152[9]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 152
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 152
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152
  • กรมทหารราบที่ 153[10]
    • กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 153
    • กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 153
    • กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 153
  • กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 [11]
      • กองพันส่งกำลังและบริการ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
      • กองพันซ่อมบำรุง กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
      • กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15
    • กองพันทหารช่างที่ 15 กองพลทหารราบที่ 15 [12]
    • กองพันทหารม้าที่ 31 กองพลทหารราบที่ 15
    • กองพันทหารสื่อสารที่ 15 กองพลทหารราบที่ 15

รายนามผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15

  1. พล.ต.สำเร็จ ศรีหร่าย (1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
  2. พล.ต.จำลอง คุณสงค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  3. พล.ต.กิตติ อินทสร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
  4. พล.ต.พีรพล วิริยากุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
  5. พล.ต.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2557)
  6. พล.ต.มณี จันทร์ทิพย์ (1 เมษายน พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2558)
  7. พล.ต.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ (1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559)
  8. พล.ต.วิชาญ สุขสง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  9. พล.ต.สมดุลย์ เอี่ยมเอก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
  10. พล.ต.ไพศาล หนูสังข์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  11. พล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. กองกำลังทหารพรานกองทัพภาคที่4 หน่วยรบจรยุทธ์ชุดดำในพื้นที่ภาคใต้
  2. "ส่งศพทหารกล้ากลับบ้านเกิด หลังปะทะคนร้ายที่ยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
  3. Patani
  4. Search – Global Edition – The New York Times เก็บถาวร 18 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Herald Tribune (29 March 2009). Retrieved on 2012-01-18.
  5. Thailand's counter-insurgency operations เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Janes.com (19 November 2007). Retrieved on 2012-01-18.
  6. Data from the (governmental) Southern Border Provinces Administrative Centre, cited in ISRANews เก็บถาวร 1 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน report, 4 January 2013
  7. ประวัติและี่มาของการตั้งชื่อค่ายสมเด็จพระสุรโยทัย สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567
  8. "ผบ.ร.151 รับ-มอบหน้าที่ยืนยันต่อยอดช่วยปชช. – innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
  9. กรมทหารราบที่ 152 ค่ายสิรินธร นำกำลังพลพร้อมเครื่องมือ ทำความสะอาด ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อลดการแพร่ระบาดโควิด-19
  10. ทหารอัญเชิญธงชัยเฉลิมพลเข้าประจำกรมทหารราบที่ 153 เป็นสิริมงคลดูแล 3 จชต.
  11. คลอดแล้ว! ‘บิ๊กแดง’ลงนามแต่งตั้งผู้บังคับหน่วย 389 นาย
  12. "สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.

แหล่งข้อมูลอื่น