โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร | |
---|---|
Military Technical Training School | |
![]() | |
ชื่อย่อ | รร.ชท.สปท. / MTTS.RTARF |
คติพจน์ | ความประพฤตินำหน้า วิชาตามหลัง |
สถาปนา | 18 มกราคม พ.ศ. 2503 (62 ปี) |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สังกัดการศึกษา | สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย |
ผู้บัญชาการ | พลตรี พีรพัฒน์ จันทร์งาม |
ที่ตั้ง | เลขที่ 3/1 ซอยพหลโยธิน 30 ถนนพหลโยธิน แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
สีประจำสถาบัน | สีม่วง–ขาว |
เพลง | มาร์ชช่างฝีมือทหาร |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทย และ ออสเตรเลีย ภายใต้องค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน แห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.) สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทยโดยผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร เรียกว่า นักเรียนช่างฝีมือทหาร (นชท.)
หลักสูตรที่เปิดสอน มี 2 ระดับคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)โดยระดับ ปวช.จะแบ่งนักเรียนออกเป็นภาคปกติและภาคสมทบ ระดับ ปวช.จะเปิดวิชาชีพทั้งหมด 6 วิชาชีพ ดังนี้ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล, ช่างเครื่องมือกล, ช่างเชื่อมโลหะ, ช่างยานยนต์, ช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ ปวส.โดยคข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ (มจพ.) มี 4 สาขาวิชาชีพดังนี้ ช่างยานยนต์,ช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ และช่างแมคคาทรอนิกส์
การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารนั้น ระดับ ปวช.รับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) อายุ 15 - 18 ปี ส่วนระดับ ปวส.จะรับนักเรียนที่จบ ปวช.
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว นักเรียนภาคปกติจะได้บรรจุเข้ารับราชการ ตามเหล่าทัพต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งยศ สิบตรี,จ่าตรี,จ่าอากาศตรี ตามสังกัด ส่วนนักเรียนภาคสมทบจะได้วุฒิการศึกษาระดับ ปวช.เพื่อนำไปศึกษาต่อ หรือสมัครงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชน ทังนี้จะมีโควต้า สำหรับ นชท.ภาคสมทบ เข้ารับราชการแต่ละปีแตกต่างกันเช่นปี 60 จำนวน 80 คน ปี 61 จำนวน140 คน
ในปัจจุบันนักเรียนช่างฝืมือทหาร ได้ทำงานตามหน่วยทหารต่าง ๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ และรวมถึงภาคสมทบรุ่นแรก ๆภาคปกติที่ลาออกจากการรับราชการ ได้ศึกษาต่อจากวุฒิเดิม และได้ทำงานตามบริษัทชั้นนำหลาย ๆ บริษัท เพื่อพัฒนาประเทศ ด้วยความภาคภูมิใจ
รายนามผู้บัญชาการโรงเรียนช่างฝีมือทหาร[แก้]
- พลอากาศตรี จำรัส วีณะคุป (30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2513)
- พลตรี คำรพ วิชยาภัย (31 ตุลาคม พ.ศ. 2513 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523)
- พลเรือตรี เดชา เอกก้านตรง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526)
- พลตรี ธงชัย วัฒนศิริโรจน์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528)
- พลเรือตรี ชุมพล ภุมรานันท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532)
- พลเรือตรี สมพร สุมานันท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2534)
- พลเรือตรี สุเมธี เมืองมั่น (1 เมษายน พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534)
- พลเรือตรี ปรีดา เดชะคุปต์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536)
- พลเรือตรี บำนาญ บูรณพงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2537)
- พลเรือตรี ไกรเทพ ภมรบุตร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539)
- พลเรือตรี อกนิษฐ์ หมื่นศรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
- พลเรือตรี ทวีศักดิ์ แดงฉาย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2545)
- พลเรือตรี ชยุติ วงษ์กระจ่าง (1 เมษายน พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546)
- พลเรือตรี ชัยวัฒน์ ศรีอักขรินทร์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548)
- พลเรือตรี พจนา เผือกผ่อง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
- พลเรือตรี ดำรงค์ สารสิทธิ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
- พลเรือตรี ธนะกาญจน์ ใคร่ครวญ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
- พลเรือตรี ประจักษ์ สันทัดเลขา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556)
- พลเรือตรี มนัสวี บูรณพงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
- พลตรี พิสัณห์ ปฐมเอม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
- พลตรี ภาณุพงศ์ สุวัณณุสส์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
- พลตรี พีรพัฒน์ จันทร์งาม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่า[แก้]
- นันทวัฒน์ แทนโสภา นักฟุตบอลสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด ภาคสมทบ รุ่น 9
![]() |
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |