ถนนประดิพัทธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนประดิพัทธ์
Pradiphat Road.jpg
ถนนประดิพัทธ์ช่วงหน้าโรงแรมอลิซาเบธ มองไปยังฝั่งแยกสะพานควายและถนนพหลโยธิน
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1.808 กิโลเมตร (1.123 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก แยกสะพานควาย ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันตก แยกสะพานแดง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนประดิพัทธ์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กับแขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มีขนาดของความกว้างถึง 4 ช่องจราจร มีความยาว 1.808 กิโลเมตร[1] ต้นถนนเริ่มต้นจากทางแยกสะพานแดง ท้ายถนนคือทางแยกสะพานควายบริเวณย่านสะพานควาย ชื่อถนนประดิพัทธ์ตั้งชื่อตามพระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง)

ประวัติ[แก้]

ในอดีตบริเวณนี้เป็นทุ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตั้งหน่วยงานทหารจำนวนมากบริเวณทิศเหนือของเขตดุสิตและอยู่ทางทิศตะวันตกของแขวงสามเสนใน (หรือแขวงพญาไทในปัจจุบัน) หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองนายทหารเข้ามาอยู่อาศัยบริเวณนี้รวมถึงบริเวณใกล้เคียงอย่างซอยราชครูและอารีย์[2]

บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ เป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่นัดหมายผู้นำทหารของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตอนเช้ามืดเวลา 05.00 น. ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475[3] ตามที่ปรากฏใน บันทึกการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ของพันเอกพระยาทรงสุรเดช เพราะจุดนี้เป็นจุดเป้าหมายของคณะที่จะเข้าไปจู่โจมยึดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์และขนกำลังพลก็อยู่บนถนนทหาร โดยในช่วงเวลานั้นบริเวณนี้น่าจะเปลี่ยวมาก[4] ในช่วง พ.ศ. 2505–2510 ย่านนี้ก็ยังไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่มากนัก[2]

ในช่วงสงครามเวียดนาม เกิดโรงแรมและผับเพื่อรองรับทหารจีไอ[5] เช่น โรงแรมประดิพัทธิ์ โรงแรมกานต์มณี โรงแรมอลิซาเบธ โรงแรมแอมบาสซี่ เป็นต้น[6] ในช่วงปี พ.ศ. 2520–2532 ชาวอาหรับจากซาอุดีอาระเบียก็มักมาพักโรงแรมเหล่านี้ด้วย[7] ในอดีตเป็นที่ตั้งของห้างเมอร์รี่คิงส์สะพานควาย เป็นที่ตั้งของโรงหนังพหลโยธินรามา รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของโรงเรียนกวดวิชาในยุคก่อน[8] หลังจากมีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานควาย ทำให้บริเวณนี้ได้รับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์เกิดคอนโดมิเนียม เปลี่ยนจากย่านเชิงพาณิชย์กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางบน[9]

ปัจจุบัน สองข้างทางเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์เกือบตลอดเส้นทาง โดยอาคารพาณิชย์ทั้งสองข้างทางนั้นเปิดเป็นร้านอาหาร ร้านทอง ธนาคาร ฯลฯ[10]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนประดิพัทธ์ ทิศทาง: แยกสะพานควาย – แยกสะพานแดง
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนประดิพัทธ์ (แยกสะพานควาย – แยกสะพานแดง)
กรุงเทพมหานคร พญาไท 0+000 แยกสะพานควาย เชื่อมต่อจาก: ถนนสาลีรัฐวิภาค ไปสุทธิสารฯ
ถนนพหลโยธิน ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพหลโยธิน ไปจตุจักร
0+543 สะพาน ข้ามคลองประปา
แยกประดิพัทธ์ ถนนพระราม 6 ไปราชวิถี ถนนพระราม 6 ไปถนนกำแพงเพชร
ดุสิต แยกเทอดดำริ ถนนเทอดดำริ ไปเศรษฐศิริ ถนนเทอดดำริ ไปประชาชื่น
แยกสะพานแดง ถนนพระรามที่ 5 ไปราชวัตร ถนนเตชะวนิช ไปบางซื่อ
ตรงไป: ถนนทหาร ไปแยกเกียกกาย
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อถนนที่ประกาศลงทะเบียนท้องถิ่นแล้ว พื้นที่เขตพญาไท (กลุ่มกรุงเทพกลาง) (PDF). กรุงเทพมหานคร.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร". ไทยพีบีเอส.
  3. "วันก่อการที่หัวมุมถนนประดิพัทธ์ตัดทางรถไฟสายเหนือ". ไทยโพสต์.
  4. นรนิติ เศรษฐบุตร. "หัวมุมที่ถนนประดิพัทธ์ตัดทางรถไฟสายเหนือ". สถาบันพระปกเกล้า.[ลิงก์เสีย]
  5. "#ถนนประดิพัทธ์". facebook. 2020-02-22.
  6. ""สะพานควาย-ประดิพัทธ์" ทำเลเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อและย่านธุรกิจอารีย์". terrabkk.com.
  7. อุบลวรรณ กระปุกทอง. "ที่นี่สะพานควาย...'เฮียง้วน กิติศักดิ์' ผู้นั่งมองเวลาและความเปลี่ยนแปลง".
  8. "ชวนส่อง 'ประดิพัทธ์' ย่านชุมชนที่ผสานความดั้งเดิมและร่วมสมัยได้อย่างลงตัว".
  9. "รู้จักย่านสะพานควายแบบเจาะลึก".
  10. "ประดิพัทธ์".