ทหารพราน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ทหารพราน | |
---|---|
สัญลักษณ์ของทหารพรานนาวิกโยธิน | |
ประจำการ | พ.ศ. 2521–ปัจจุบัน |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพไทย |
รูปแบบ | กำลังกึ่งทหาร |
บทบาท | ทหารราบเบา |
กำลังรบ | 400,000 |
ขึ้นกับ | กองทัพไทย |
สมญา | นักรบเสื้อดำ, ดอกไม้เหล็ก (หญิง) |
คำขวัญ | ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ |
สีหน่วย | ดำ |
ปฏิบัติการสำคัญ | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย สงครามไทย–เวียดนาม สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา |
ทหารพราน (อักษรย่อ: ทพ.) เป็นกำลังทหารราบเบากึ่งทหารซึ่งลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพไทย ทหารพรานทำงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดน แต่ถูกฝึกและติดอาวุธให้ทำการรบ ขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมากกว่า และทหารพรานนาวิกโยธินในสังกัดกองทัพเรือนั้น ขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลนาวิกโยธิน
ประวัติ
[แก้]หน่วยทหารพรานจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ว่า ทหารพราน คือ อาสาของประชาชน หรือเรียกว่านักรบประชาชน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อต่อสู้กับกองโจรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และขับไล่กองโจรลงจากที่มั่นบนภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1] เป็นแนวคิดของพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกที่กองบัญชาการกองทัพไทยในกรุงเทพมหานคร หน่วยทหารพรานประกอบด้วยทหารใหม่จากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ ทหารใหม่นั้นจะเข้ารับการฝึกเข้มข้นทั้งหมด45 วัน ได้รับแจกอาวุธสมัยใหม่ และถูกส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตนเพื่อดำเนินปฏิบัติการกองโจรต่อคอมมิวนิสต์[2]
หน่วยทหารพรานดำเนินหลายปฏิบัติการต่อขุนส่าในสามเหลี่ยมทองคำ[3] และยังมีส่วนในการปฏิบัติความมั่นคงระหว่างการเผชิญหน้ากันที่ปราสาทพระวิหารใน พ.ศ. 2551 และ 2552[4]
ข้อโต้เถียง
[แก้]ช่วงแรกของการก่อตั้งทหารพรานบางคนเป็นอาชญากรที่ต้องคำพิพากษาแต่ได้มีการผ่อนผันโทษ[5] บางส่วนก็สมัครเข้าเป็นทหารพรานเพื่อให้ได้รับพื้นที่ทำกิน[6] ในบางพื้นที่ก็ใช้ทหารพรานทำหน้าที่แทนกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังพลเรือนที่ปกป้องประชาชนในท้องถิ่นจากกองโจร[7] จนถึงปลาย พ.ศ. 2524 ทหารพรานเข้าแทนที่ 80% ของหน่วยทหารปกติในการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดนพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย[8]
ทหารพรานมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บช้ำ โดยเป็นหน่วยที่มักถูกกล่าวหาว่ากระทำการโหดร้าย ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องและมีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหน่วยทหารพรานมีอันธพาลท้องถิ่นส่วนมาก ซึ่งมักใช้สถานะของตนก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนพลเมืองต่อไป มีการปฏิรูปหลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกทหารใหม่ ซึ่งเป็นมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน[8]
อดีตทหารพรานยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการกล่าวอ้าง มีเพียงรัฐบาลในตอนนั้นที่พูดว่ามีชายชุดดำในกลุ่มผู้ชุมนุม[9][10]
หน่วยพิเศษ
[แก้]พ.ศ. 2522 การหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยของผู้อพยพชาวกัมพูชากลายเป็นปัญหาการเมืองสำคัญและเป็นประเด็นความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการที่ผู้อพยพหลายพันคนเคยเป็นนักรบเขมรแดง นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทหารอาชีพซึ่งเคยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาก่อน ประกาศให้อำเภอติดชายแดนอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกและอนุมัติให้การอำนวยการรวม กองบัญชาการทหารสูงสุด ควบคุมและจัดความปลอดภัยให้แก่ผู้อพยพ กองบัญชาการทหารสูงสุดสนองโดยจัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจ 80 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หน่วยทหารพรานพิเศษนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ป้องกัน การจัดการผู้ลี้ภัย และจัดหาอาหารและอาวุธให้แก่ฝ่ายขัดขวางต่อต้านเวียดนามซึ่งประเทศไทยสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขมรแดง เช่นเดียวกับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร และ Armee Nationale Sihanouk Site หรือ ANS ระหว่างการมีอยู่ช่วงสั้น ๆ ของหน่วยเฉพาะกิจ 80 หน่วยถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งถูกยุบยกเลิกไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531
หน่วยทหารพราน
[แก้]ในปัจจุบัน ทหารพรานมีกรมทหารพรานทั้งหมด 22 กรมทุกกองทัพภาคในไทย (276 กองร้อย) มีหมวดทหารพรานหญิงทั้งหมด 12 หมวด (71 หมู่) ดังนี้
- กองทัพภาคที่ 1 : 4 กรมทหารพราน (36 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (9 หมู่)
- กองทัพภาคที่ 2 : 4 กรมทหารพราน (46 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (8 หมู่)
- กองทัพภาคที่ 3 : 5 กรมทหารพราน (50 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (9 หมู่)
- กองทัพภาคที่ 4 : 9 กรมทหารพราน (144 กองร้อย) และ 6 หมวดทหารพรานหญิง (45 หมู่)
ในปัจจุบัน กองทัพบกจัดกำลังทหารพราน สนับสนุนภารกิจป้องกันชายแดนในเขตรับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ 1 และ 3 รวม 10 กรมทหารพราน และ 3 หมวดทหารพรานหญิง และสนับสนุนภารกิจการรักษา ความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 12 กรมทหารพราน และ 9 หมวดทหารพรานหญิง[11]
ภาพรวมของการปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อ 4 ม.ค. 2547
[แก้]กองทัพบก ได้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกำลังในส่วนของ กองทัพบกมีการจัดและประกอบกำลังจากหน่วยประเภทต่าง ๆ จากหน่วยกำลังรบหลัก หน่วยกำลังรบประจำพื้นที่กำลังทหารพราน หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบที่จำเป็น สำหรับลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งกรมทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 หลังเกิดเหตุการณ์ปล้นอาวุธปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส กองทัพบกได้เคลื่อนย้ายกำลังส่วนต่าง ๆ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยกำลังส่วนหนึ่ง ได้แก่ กำลังทหารพรานจำนวน 3 กรม และ 3 หมู่ทหารพรานหญิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการขยายหน่วย ทหารพรานเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 กรมทหารพราน และ 4 หมวดทหารพรานหญิง ปรากฏว่าสามารถทดแทน กำลังทหารหลักซึ่งมาจากกองทัพภาคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กองทัพบกจึงขออนุมัติรัฐบาลเพิ่มเติมกำลังทหาร พรานเพื่อทดแทนกำลังทหารหลักอีก 5 กรมทหารพราน และ 5 หมวดทหารพรานหญิง ให้พร้อมปฏิบัติงานใน เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554 และ เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งกำลังทหารหลักจะถอนกำลังกลับจำนวน 7 กองพัน ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจะมีทหารพราน 12 กรม กับอีก 9 หมวดทหารพรานหญิง เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักในพื้นที่ควบคู่กับกองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15 ) กรมทหารพรานที่มีอยู่แล้วและปฏิบัติภารกิจอยู่เดิม โดยจัดเป็นหน่วยเฉพาะกิจจำนวน 7 หน่วย ประกอบด้วย
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 ตั้งอยู่ที่ อ.รามัน จ.ยะลา
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ตั้งอยู่ที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ตั้งอยู่ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ตั้งอยู่ที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ตั้งอยู่ที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 46 ตั้งอยู่ที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 47 ตั้งอยู่ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา
กรมทหารพราน ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2554 – 2555
[แก้]- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 11 โดยกองทัพภาคที่ 1 ตั้งอยู่ที่ อ.แว้ง จ.นราธิวาส
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 โดยกองทัพภาคที่ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 33 โดยกองทัพภาคที่ 3 ตั้งอยู่ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 โดยกองทัพภาคที่ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 49 โดยกองทัพภาคที่ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
หมวดทหารพรานหญิง รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 9 หมวด ประกอบด้วย หมวดทหารพรานหญิง 12, 22, 32, 41, 42, 43, 44, 45, และ 46 ควบคุมโดยกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแบ่งมอบให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานตามความเหมาะสม[11]
อาวุธ
[แก้]รูป | ชื่อรุ่น | ประเภท | กระสุน | ประเทศที่ผลิต | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
M1911 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | สหรัฐ ไทย | ปืนพกเอ็ม 1911 เอ 1 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต | |
Type 56-1 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 7.62×39 มม. | จีน |
| |
HK-33 (ปลย.11) | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี ไทย | รุ่นใบอนุญาตไทยของเฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค 33 | |
M16A1 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ||
M4A1 Carbine | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ||
M1918 BAR | ปืนเล็กยาวจู่โจม | .30-06 มม. | สหรัฐ | มีใช้บางส่วน | |
Remington Model 870 | ปืนลูกซอง | 12 เกจ | สหรัฐ | ||
AK-104 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 7.62×39 มม. | รัสเซีย | กองทัพบกจัดหาในปี พ.ศ. 2563 ให้เฉพาะทหารพรานใน3จังหวัดชายแดนใต้ | |
Galil Sniper Rifle | ปืนไรเฟิลซุ่มยิง | 7.62×51 มม. | อิสราเอล | ||
M60 LMG | ปืนกลอเนกประสงค์ | 7.62×51 มม. | สหรัฐ | อดีตปืนกลเอนกประสงค์หลัก ซึ่งได้รับการแทนที่โดยแอฟแอ็น แม็ก 58 | |
Type 56 LMG | ปืนกลเบา | 7.62×39 มม. | จีน | ใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตปืนกลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย | |
M203 | เครื่องยิงลูกระเบิด | เอสอาร์ 40×46 มม. | สหรัฐ | ||
M79 | เครื่องยิงลูกระเบิด | 40×46 มม. | สหรัฐ | ||
Type 56 RPG | เครื่องยิงจรวด | 85 มม. | จีน | ใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตขีปนาวุธแบบประทับบ่ายิงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย | |
Type 69 RPG | เครื่องยิงจรวด | พีจี-7วี | จีน | ใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตขีปนาวุธแบบประทับบ่ายิงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ball D. The Boys in Black: The Thahan Phran (Rangers), Thailand's Para-Military Border Guards. Bangkok, Thailand: White Lotus Press, 2004, 2007, p. 5.
- ↑ Phan Suksan (pseudonym), "Thahan Phran: The Thai Army's Combat and Development Force," Sena Son Thet [Army Information], vol. 33, no. 10, July 1995, p. 12.
- ↑ Conboy Kenneth, South-East Asian Special Forces, Osprey Publishing, 1991, p. 49.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""Thai Army Rangers clash with Cambodian troops near Preah Vihear temple," Jan 24, 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- ↑ According to Jim Morris, an ex-US Special Forces soldier, “This was a special unit, slapped together quickly by a raid on a Bangkok jail.” Jim Morris, The Devil’s Secret Name, 1989, p. 309.
- ↑ Thahan Prahan (Royal Thai Rangers)
- ↑ Thai Border Patrol Police
- ↑ 8.0 8.1 ""Southern Thailand: The Problem with Paramilitaries," Asia Report, N°140 23 Oct 2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-29. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- ↑ Phil Thornton , "Thailand: A Land of Smiles No More," Reportage Online, June 8, 2010
- ↑ Ball, Desmond, "The boys in black, Thailand's dangerous, dark influence." Bangkok Post, 25/04/2010.
- ↑ 11.0 11.1 พล.ต.สุรศักดิ์ ฉัตรกุล ณ อยุธยา. "แนวความคิดในการเตรียมกำลังเพื่อการใช้กำลังที่เหมาะสมของหน่วยทหารพราน ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทหารพราน