หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
Logo4.gif
ตราประจำหน่วย
ประจำการศูนย์สงครามพิเศษ (2509–2526)
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (2526–ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อกองทัพบก
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบหน่วยรบปฏิบัติการพิเศษ
บทบาทการปฏิบัติการพิเศษ
การรวบรวมข่าวกรอง
ภารกิจลาดตระเวน
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง
การฟื้นฟูกำลังพล
การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ
การสงครามนอกแบบ
การต่อต้านการก่อการร้าย
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
สมญาพลร่มป่าหวาย
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์swcom.rta.mi.th/index.php
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญพลเอกสุนทร คงสมพงษ์
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นหน่วยทหารของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 อัตราการจัดเทียบเท่ากองทัพภาค มีที่ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[1] โดยมีพลโท ณัฐวุฒิ นาคะนคร เป็นผู้บัญชาการ​หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มีรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้แก่ พลตรี ณพล วงศ์วัฒนะ, พลตรี อิศเรศ พุ่มมาก [2] และพลตรี วัฒนา ฉัตรรัตนแสง

เครื่องหมายและสัญลักษณ์[แก้]

  • ตัวอักษร U สงครามนอกแบบ [ Unconventional Warfare ] ซึ่งเป็นภารกิจของหน่วย
  • ปีกและร่ม ความสามารถในการส่งทางอากาศ อันเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วย
  • ดาวสามดวง อัตรากำลังของหน่วยระดับกองทัพภาคมีผู้บัญชาการยศ พลโท
  • สีดำที่ตัวยู ภารกิจภายใต้การปิดลับที่ไม่เปิดเผย
  • สีฟ้าที่พื้น ขอบเขตอันกว้างไกลตามภารกิจของหน่วย

ประวัติ[แก้]

กองทัพบกเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของปฏิบัติการสงครามพิเศษที่สามารถเผชิญและลดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศได้ จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นเป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หน่วยรบพิเศษของกองทัพไทย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ในนามของกองพันทหารพลร่มที่ตั้ง ณ บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งมี พ.ต.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นผู้บังคับกองพัน กองพันทหารพลร่มในยุคแรกได้ปฏิบัติภารกิจ ตามแผนงานโครงการของกองทัพบก และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนประชาชนต่างก็ประจักษ์ถึงขีดความสามารถของกองพันทหารพลร่มในเรื่อง การรบ การกระโดดร่ม การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่างๆ และป้องกันประเทศจากภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันความต้องการที่จะใช้หน่วยทหารพลร่มปฏิบัติภารกิจมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยรบพิเศษได้รับการปรับปรุงพัฒนามาโดยลำดับ จากกองพันทหารพลร่มได้รับพิจารณาให้ขยายกำลังเป็น กองรบพิเศษ(พลร่ม) และต่อมาได้มีการขยายกำลังเป็นระดับกองพล คือ ศูนย์สงครามพิเศษ เพื่อเป็นศูนย์ทางวิทยาการและศูนย์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ฝึกอบรม และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ

ประตูค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ[แก้]

กองทัพบกได้จัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยบังคับบัญชากำลังรบพิเศษทั้งปวงแทนศูนย์สงครามพิเศษ โดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึก ศึกษา เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่า จากสถานการณ์สู้รบในอดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษ เข้าแก้ไขวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมืองในขณะเดียวกันได้เร่งรัดพัฒนาการจัดหน่วยให้มีขีดความสามารถจนเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในปัจจุบัน เทียบเท่ากองทัพภาคมีภารกิจเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษทั้งปวง ตั้งแต่การวางแผน อำนวยการ กำกับการทั้งด้านการฝึกศึกษา และการปฏิบัติงาน เป็นหน่วยหวังผลทางยุทธศาสตร์มีบทบาทในการออมกำลังและชดเชยอำนาจกำลังรบ ที่เสียเปรียบ การปฏิบัติงานของหน่วยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยามปกติในพื้นที่ รับผิดชอบ

หน่วยขึ้นตรง[แก้]

ค่ายหน่วยรบพิเศษ[แก้]

  • ค่ายวชิราลงกรณ์ (ป่าหวาย)
  • ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • ค่ายเอราวัณ
  • ค่ายสฤษดิ์เสนา
  • ค่ายขุนเณร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nanuam, Wassana (3 September 2018). "Army reshuffle sees loyalists appointed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]